กระชับสัมพันธ์อาเซียนบวกสี่ สร้างกรอบประชุมใหญ่แก้โลกร้อน พ.ค. นี้

พุธ ๑๙ มีนาคม ๒๐๐๘ ๑๐:๐๕
กรุงเทพฯ--19 มี.ค.--กทม.
กทม. เจ้าภาพนัดผู้แทนกลุ่มอาเซียนหารือ เตรียมจัดประชุมครั้งใหญ่ สร้างความร่วมมือและร่วมกันกำหนดนโยบายจัดการสิ่งแวดล้อมและแก้ปัญหาโลกร้อนระดับภูมิภาคก้าวสู่สังคมสีเขียวอย่างจริงจังและยั่งยืนเดือนพฤษภาคมนี้ เลขาธิการอาเซียนชูแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงจัดการภาวะโลกร้อย
คณะผู้บริหารกรุงเทพมหานคร นำโดย ดร.วัลลภ สุวรรณดี นายพนิช วิกิตเศรษฐ์ รศ.ดร.บรรณโศภิษฐ์ เมฆวิชัย และนายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกรุงเทพมหานคร ให้การต้อนรับ คณะทูตานุทูตในกลุ่มประเทศอาเซียน ประกอบด้วย กัมพูชา บรูไน พม่า ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย เวียดนาม ลาว สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และไทย และอีก 4 ประเทศ คือ เกาหลี จีน ญี่ปุ่น และอินเดีย ร่วมด้วย ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียน หน่วยงานราชการ และเอกชนที่มีนโยบายลดปัญหาภาวะโลกร้อน อาทิ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงพลังงาน การไฟฟ้านครหลวง บริษัทบางจากปิโตรเลียม มูลนิธิ Clinton Foundation และ UNEP เพื่อแสวงหาความร่วมมือ ในการลดโลกร้อนระดับภูมิภาคอาเซียน และร่วมกันหารือเบื้องต้นถึงแนวทางการประชุมสุดยอดระดับผู้นำเมืองในภูมิภาคอาเซียน “ASEAN+4 Mayor Forum on Climate Change” ซึ่งกรุงเทพมหานครจะเป็นเจ้าภาพในการจัดการประชุมดังกล่าวประมาณเดือนพฤษภาคม 2551
รองผู้ว่าฯ บรรณโศภิษฐ์ เปิดเผยว่า ในวันนี้เป็นการหารือเบื้องต้นเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกันในการจัดการปัญหาโลกร้อนในภูมิภาคอาเซียน อีกทั้งหาแนวทางเพื่อลดผลกระทบ รวมถึงการปรับตัวที่จะอยู่ให้ได้กับสภาวะโลกร้อนและภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป โดยมี ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียน ทำหน้าที่ประสานงานเพื่อให้เกิดภาพรวมในการแก้ไขปัญหาและเป็นประโยชน์ต่อประชาคมโลก เนื่องด้วยกลุ่มประเทศอาเซียนมีความสนใจในการดำเนินงานลดโลกร้อน อีกทั้งเป็นผลสืบเนื่องจากการประชุมด้านสิ่งแวดล้อมที่บาหลี ประเทศอินโดนีเซียเมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ซึ่งทุกประเทศมีข้อสรุปร่วมกันว่า จะต้องหาแนวทางแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนที่ยั่งยืน ดังนั้นกรุงเทพมหานครจึงได้เดินหน้าอย่างจริงจังในการสร้างความร่วมมืออย่างต่อเนื่อง โดยนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องการจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมและลดโลกร้อนเป็นอย่างมาก
ด้านเลขาธิการอาเซียน กล่าวด้วยว่า สำนักงานเลขาธิการอาเซียนได้หารือร่วมกับกรุงเทพมหานครถึงความพยายามในการรณรงค์ร่วมกันเพื่อให้อาเซียนเป็นเขตอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เนื่องจากกรุงเทพมหานครได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องและเป็นผู้นำในระดับเมืองใหญ่ซึ่งเป็นที่ยอมรับทั่วโลก อีกทั้งอาเซียนได้รับการสนับสนุนจากธนาคารโลกให้ดำเนินการเรื่องการจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อม และลดผลกระทบจากภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้นในภูมิภาค โดยร่วมกับเมืองหลวงของอาเซียน 10 ประเทศอาเซียน เพื่อหารือถึงแนวทางในการลดปัญหารุนแรงที่จะส่งผลกระทบต่อประชาชน ซึ่งวันนี้นับเป็นการเริ่มต้นที่ดี และขอขอบคุณกรุงเทพมหานครในการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดผู้นำเมืองในอาเซียน เพื่อร่วมกันทำงานระดับอาเซียน และกำหนดนโยบายจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อม รวมทั้งนำเทคโนโลยีสะอาดและพลังงานทางเลือกมาใช้ เพื่อแก้ไขปัญหาโลกร้อนและก้าวไปสู่สังคมและเศรษฐกิจสีเขียวอย่างยั่งยืนต่อไป
นอกจากนี้เลขาธิการอาเซียนยังกล่าวด้วยว่า แนวทางเศรษฐกิจพอเพียงเป็นตัวอย่างที่ดีในการจัดการภาวะโลกร้อน เนื่องด้วยเป็นการลดการบริโภคฟุ่มเฟือย ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ทรัพยากรธรรมชาติลดลงอย่างไม่ระวัง

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ