ชูนโยบายเมกะโปรเจ็กต์เชื่อมระบบขนส่งมวลชน แก้ปัญหาจราจรติดขัดกรุงเทพฯ

พฤหัส ๒๐ มีนาคม ๒๐๐๘ ๑๑:๐๒
กรุงเทพฯ--20 มี.ค.--กทม.
กรุงเทพมหานครเดินหน้าพัฒนาระบบขนส่งมวลชนอย่างต่อเนื่อง ชูนโยบายเมกะโปรเจ็กต์ขยายระบบขนส่งมวลชนพร้อมเชื่อมโยงให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ ทั้งรถไฟฟ้า BRT และขนส่งทางน้ำ หวังแก้ไขปัญหาจราจรติดขัด เตรียมแผนขยายเส้นทางและเร่งผลักดันให้แล้วเสร็จ เพื่อสร้างกรุงเทพฯ ให้เป็นเมืองแห่งความสะดวก ปลอดภัย
นายพนิช วิกิตเศรษฐ์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เข้าร่วมการสัมมนาเรื่อง โครงข่ายคมนาคมกับการวิเคราะห์ทำเลทอง พร้อมทั้งร่วมอภิปรายในหัวข้อ “โครงการเมกะโปรเจ็กต์ส่งผลต่อการพัฒนาระบบคมนาคมในกรุงเทพฯ และปริมลฑล และความคืบหน้าแผนดำเนินการล่าสุดของโครงการ” ณ โรงแรมดิเอมเมอรัลด์ เพื่อนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนให้กับหน่วยงานภาครัฐ และเอกชนที่เกี่ยวข้องนำไปวิเคราะห์ความเหมาะสมในการดำเนินการขยายระบบขนส่งมวลชนรวม โดยมีเจ้าหน้าที่จากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย การทางพิเศษแห่งประเทศไทย และสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ เข้าร่วมอภิปราย
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า สำหรับโครงการเมกะโปรเจ็กต์นั้น กทม. ได้ดำเนินการตามนโยบายการพัฒนาหลักทั้ง 6 ด้าน ไม่ว่าจะเป็นนโยบายการสร้างกรุงเทพฯ ให้เป็นมหานครแห่งสิ่งแวดล้อม เมืองแห่งความสะดวกปลอดภัย มหานครแห่งการเรียนรู้ เมืองสุขภาพดีผู้คนมีความสุข มหานครเปี่ยมเสน่ห์ และเมืองแห่งความพอเพียง โดยเฉพาะด้านความสะดวกและปลอดภัยนั้น กทม. ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง ด้วยการเร่งพัฒนาระบบขนส่งในด้านต่างๆ อาทิ ระบบขนส่งทางอากาศ ทางน้ำ และทางบก โดยตั้งเป้าหมายที่จะทำให้ระบบขนส่งมวลชนกลายเป็นหัวใจหลักในการสัญจรของประชาชน ซึ่งในขณะนี้กทม. ได้ดำเนินการสร้างรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีลมระยะทาง 7.5 กิโลเมตร ระยะแรกจากสะพานตากสิน — ถ.สมเด็จพระเจ้าตากสิน ระยะทาง 2.2 กิโลเมตร จำนวน 2 สถานี คาดว่าจะสามารถเปิดทดลองระบบได้ในเดือนสิงหาคม 2551 ระยะที่สอง จาก ถ.สมเด็จพระเจ้าตากสิน - บางหว้าระยะทาง 5.3 กิโลเมตร มี 4 สถานี ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการก่อสร้าง นอกจากนั้นยังมีเส้นทางสายสุขุมวิทซึ่งขยายจากสถานีอ่อนนุช — ซ.แบริ่ง ระยะทาง 5.25 กิโลเมตร ขณะนี้ดำเนินการก่อสร้างแล้วประมาณ 45% คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ประมาณปี 2553 นอกจากนี้กรุงเทพมหานครยังมีแผนสร้างส่วนต่อขยายเพิ่มเติมจาก ซ.แบริ่ง - จังหวัดสมุทรปราการระยะทาง 14 กิโลเมตร สายหมอชิต - สะพานใหม่ระยะทาง 12.1 กิโลเมตร เส้นทางสะพานใหม่ - ลำลูกการะยะทาง 12.6 กิโลเมตร และเส้นทางสนามกีฬาแห่งชาติ - พรานนก ระยะทาง 7.9 กิโลเมตร
ส่วนโครงการรถโดยสารด่วนพิเศษ (Bangkok BRT) กรุงเทพมหานครมีแผนที่จะก่อสร้าง 5 เส้นทาง โดยในขณะนี้ได้ดำเนินโครงการนำร่อง 1 เส้นทาง คือ สายช่องนนทรี - ราชพฤกษ์ ระยะทาง 15 กิโลเมตร คาดว่าทดลองเดินรถได้ประมาณเดือน ส.ค. 51 นี้ ส่วนสายที่ 2 เป็นสายหมอชิต — ศูนย์ราชการกรุงเทพฯ ระยะทาง 13.5 กิโลเมตร สายที่ 3 จากดอนเมือง มีนบุรี - สุวรรณภูมิ ระยะทาง 38 กิโลเมตร สายที่ 4 จากมีนบุรี ศรีนครินทร์ — ซ.แบริ่ง ระยะทาง 25 กิโลเมตร และสายบางนา - สุวรรณภูมิ ระยะทาง 15.6 กิโลเมตร นอกจากนี้กรุงเทพมหานครยังมีแผนเตรียมปรับปรุงคลองในพื้นที่กรุงเทพมหานครเพื่อรองรับการขยายตัวของระบบขนส่งทางน้ำด้วย เพื่อให้ระบบขนส่งมวลชนรวมของกรุงเทพมหานครสามารถเดินทางเชื่อมต่อกันได้ด้วยความสะดวก ประชาชนสามารถกำหนดเวลาเดินทางได้ตามความจำเป็น ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนากรุงเทพมหานครให้เป็นเมืองแห่งความสะดวกปลอดภัยและน่าอยู่อย่างยั่งยืน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ