กรุงเทพฯ--21 มี.ค.--พิตอน คอมมิวนิเคชั่น
การรวมกันของเอเชียเน็ตคอม และแปซิฟิค อินเทอร์เน็ต มีผลทำให้แพคเน็ทสามารถให้บริการโทรคมนาคมอย่างครบวงจรที่เหนือชั้น สำหรับการส่งและรับจากประเทศไทย
มร. บิล บาร์นีย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ของ แพคเน็ท เปิดเผยถึงกลยุทธ์การเติบโตของ แพคเน็ทประเทศไทย หลังจากการรวมกิจการระหว่างเอเชียเน็ตคอม เข้ากับแปซิฟิค อินเทอร์เน็ตในงานแถลงข่าววันนี้
“จากความสำเร็จจากการรวมทั้งสองบริษัทเข้าด้วยกัน ทำให้เราสามารถตั้งเป้าสำหรับการเติบโตทางธุรกิจของเราในประเทศไทยได้ชัดเจนขึ้น โดยเรากำลังมองหาใบอนุญาตกิจการโทรคมนาคมแบบที่ 1 และแบบที่ 2 ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถขยายประเภทของบริการที่เรามีอยู่รวมถึงให้บริการเครือข่าย (Network Services) ได้ครอบคลุมทั่วประเทศ นอกจากนั้น เรากำลังเจรจากับพันธมิตรทางธุรกิจซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนการขยายธุรกิจในไทยอีกด้วย”
มร. บิล บาร์นีย์ กล่าวเสริมถึง การรวมเอาระบบโครงข่ายเคเบิ้ล EAC-C2C เข้ากับโครงข่ายเดิมของแปซิฟิค อินเทอร์เน็ต ว่า ช่วยทำให้แพคเน็ทสามารถนำเสนอโครงข่ายเคเบิ้ลที่มีศักยภาพชั้นนำของวงการโทรคมนาคม รวมถึงสามารถเพิ่มเส้นทางของโครงข่ายที่มีความหลากหลาย เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่ปัจจุบันมีเน็ทเวิร์คที่ซับซ้อนมากขึ้น
เครือข่ายเคเบิ้ลใต้น้ำของแพคเน็ท ที่ชื่อ EAC-C2C นั้นมีความยาวถึง 36,800 กิโลเมตร และมีศักยภาพในการรับส่งข้อมูลสูงสุดถึง 10.24 เทราไบต์ต่อวินาที ในขณะที่ปัจจุบันมีการใช้บริการเพียงระดับ 240 กิกะบิตส์เท่านั้น ซึ่งเครือข่าย EAC-C2C นั้นถูกประเมินไว้ว่ามีมูลค่าสูงถึง 4,000 ล้านเหรียญสหรัฐ (หรือ 1.6 แสนล้านบาท) สำหรับต้นทุนการลงทุนก่อสร้างเครือข่ายในรูปแบบเดียวกันกับ EAC-C2C
จากส่วนหนึ่งของแผนกลยุทธ์ในการเปิดตัวแพคเน็ท ซึ่งเป็นแบรนด์ใหม่เมื่อวันที่ 8 มกราคม ที่ผ่านมานั้น แพคเน็ท ได้เริ่มดำเนินการอัพเกรดโครงข่าย EAC-C2C ให้เป็นโครงข่ายแห่งอนาคตหรือโครงข่ายของการสื่อสารในยุคหน้า (Next Generation Network — NGN) ภายในสามปีข้างหน้า ซึ่งการลงทุนครั้งนี้มีมูลค่าถึง 200 ล้านเหรียญสหรัฐ
นอกจากนี้ เมื่อเร็วๆ นี้ แพคเน็ทยังได้เผยถึงแผนการขยายโครงข่ายเคเบิ้ลใต้ทะเล ไปเชื่อมต่อกับโครงข่าย EAC Pacific ซึ่งเป็นโครงข่ายเคเบิ้ลใหม่ในแถบทรานส์แปซิฟิก ซึ่งคาดการณ์ว่าจะสามารถเปิดใช้งานได้ในปี 2553 โดยมีศักยภาพในการรับส่งข้อมูลสูงถึง 1.92 เทราไบต์ ทั้งนี้ โครงข่าย EAC Pacific ถือเป็นส่วนหนึ่งของระบบเคเบิ้ลใต้น้ำ Unity ที่มีความยาวถึง 10,000 กิโลเมตร ซึ่งเป็นการลงทุนสร้างร่วมกันของกลุ่มคณะทำงานระดับโลกที่มีชื่อว่า Unity Consortium ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกคือ Bharti Airtel, Global Transit Ltd, Google, KDDI, Pacnet และ SingTel โดยมีมูลค่าการลงทุนสูงถึง 300 ล้านเหรียญสหรัฐ
เกี่ยวกับแพคเน็ท
แพคเน็ท คือหนึ่งในผู้ให้บริการโทรคมนาคมชั้นนำ ซึ่งเกิดจากการควบรวมกิจการระหว่างเอเชีย เน็ตคอม และแปซิฟิคอินเทอร์เน็ต เมื่อเร็วๆ นี้ แพคเน็ทเป็นเจ้าของและผู้ให้บริการโครงข่าย EAC-C2C ซึ่งเป็นโครงข่ายเคเบิ้ลใต้น้ำของเอกชนรายใหญ่ที่สุดในเอเชีย โดยความยาว 36,800 กิโลเมตร และมีศักยภาพในการรับส่งข้อมูลสูงสุดถึง 10.24 เทราไบต์ต่อวินาที แพคเน็ทนำเสนอบริการ IP-Based solutions ที่ครอบคลุมสำหรับตลาดผู้ให้บริการโครงข่าย (carrier market) รวมถึงกลุ่มลูกค้าองค์กรขนาดใญ่และ SME บริษัทฯ มีสำนักงานใหญ่ในฮ่องกงและสิงคโปร์ และมีสำนักงานสาขาในตลาดหลักในเอเชีย, สหรัฐและยุโรป โดยสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.pacnet.com
ข้อมูลประชาสัมพันธ์ติดต่อ
ลอเรน หว่อง
แพคเน็ท
Tel: +852 2121 2973
Email: [email protected]
โรแลนด์ ลิม
แพคเน็ท
Tel: +852 2121 2975
Email: [email protected]
ติดต่อเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์
บูรณี จันทรปรรณิก, อุไรรัตน์ สุโชดายน, จรรยา จ้อยเจริญ
พิตอน คอมมิวนิเคชั่น
Tel: 02 612 2211-7