ซีพีเอฟตอกย้ำการเป็นผู้นำในธุรกิจอาหารแปรรูป จับมือ บริสตอลยู. พัฒนาผู้เชี่ยวชาญด้านสวัสดิภาพสัตว์

พฤหัส ๐๓ เมษายน ๒๐๐๘ ๐๙:๓๓
กรุงเทพฯ--3 เม.ย.--เจริญโภคภัณฑ์อาหาร
นายอดิเรก ศรีประทักษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ได้ลงนามอย่างเป็นทางการร่วมกับ Mr.Paul Whittington สถาบัน Animal Welfare Training แห่งมหาวิทยาลัยบริสตอล (University of Bristol) ประเทศอังกฤษ เพื่อจัดทำหลักสูตร “การพัฒนาผู้เชี่ยวชาญด้านสวัสดิภาพสัตว์และคุณภาพเนื้อสัตว์ปีก” (Poultry Welfare Specialist Development Program) ซึ่งซีพีเอฟนับเป็นเอกชนรายแรกของโลกที่มหาวิทยาลัยบริสตอลเลือกลงนามจัดทำหลักสูตรดังกล่าว โดยมี Mr.Patrick Deboyser อัครราชฑูต ที่ปรึกษาฝ่ายการเกษตร ด้านสุขอนามัยและอาหารปลอดภัย แห่งสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย, Mr.Steve Buckley ผู้อำนวยการฝ่ายการพาณิชย์และการลงทุน สถานฑูตอังกฤาประจำประเทศไทย และ น.สพ.ยุคล ลิ้มแหลมทอง รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมเป็นสักขีพยาน
นายอดิเรก ศรีประทักษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ เปิดเผยว่า ซีพีเอฟเป็นบริษัทแรกนอกเขตประเทศยุโรป ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน Animal Welfare โดยก่อนหน้านี้ได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยบริสตอล ซึ่งเป็นผู้นำการค้นคว้าวิจัยด้านสวัสดิภาพสัตว์ที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับทั่วโลก ทำการจัดฝึกอบรมหลักสูตร Poultry Welfare Officer (PWO) และหลักสูตร Gait Score ซึ่งสองหลักสูตรดังกล่าว ทำให้บุคลากรของซีพีเอฟสามารถตรวจสอบและให้คำแนะนำการปฏิบัติงานด้านความเป็นอยู่ของสัตว์ที่ถูกต้องตามมาตรฐาน สากลได้ และครั้งนี้นับเป็นการต่อยอดการพัฒนาบุคคลากรของซีพีเอฟในระดับมืออาชีพเพื่อให้เกิดองค์ความรู้ด้านสวัสดิภาพสัตว์อย่างยั่งยืน ซึ่งผู้เชี่ยวชาญที่ผ่านการอบรมหลักสูตรนี้จะสามารถสร้างองค์ความรู้ที่เหมาะสมกับธุรกิจอาหารแปรรูปสัตว์ปีกครบวงจร อีกทั้งสามารถเป็นวิทยากรให้ความรู้และบริหารระบบการปฏิบัติงานด้านสวัสดิภาพสัตว์ปีกให้เป็นไปอย่างยั่งยืนด้วยมาตรฐานระดับสากล โดยซีพีเอฟเป็นบริษัทเอกชนด้านอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปครบวงจรรายแรกของโลกที่มหาวิทยาลัยบริสตอลร่วมลงนามจัดทำหลักสูตรนี้
หลักสูตร “การพัฒนาผู้เชี่ยวชาญด้านสวัสดิภาพสัตว์และคุณภาพเนื้อสัตว์ปีก” นี้ มีระยะเวลาดำเนินการระหว่างปี 2551-2552 โดยจะครอบคลุมการดูแลสวัสดิภาพสัตว์แบบครบวงจร เริ่มต้นจากด้านฟาร์ม การขนส่ง โรงงานแปรรูป การประเมินผลและการประกันคุณภาพในสวัสดิภาพสัตว์
นายอดิเรก กล่าวอีกว่า ซีพีเอฟ ทุ่มเท เอาใจใส่ในการเลี้ยงสัตว์ทุกขั้นตอน นับตั้งแต่ พ่อ-แม่พันธุ์ โรงฟักไข่ ตลอดจน ฟาร์มไก่เนื้อ-เป็ดเนื้อ รวมทั้งให้ความรู้ขั้นพื้นฐานแก่ผู้ปฏิบัติงานในด้านความเป็นอยู่ของสัตว์เลี้ยง อีกทั้งยกระดับการปฏิบัติงานด้านการดูแลสัตว์ไปสู่ระดับสากล นอกจากนี้ ยังให้ความสำคัญในมาตรฐานการผลิตอาหาร บนหลักการของอาหารปลอดภัยหรือ Food Safety และการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคทั่วโลก ภายใต้วิสัยทัศน์ที่ต้องการเป็นครัวของโลก (Kitchen of the World) โดยสามารถผ่านการรับรองมาตรฐานระดับสากลต่างๆ
ด้าน Mr.Paul Whittington ผู้เชี่ยวชาญด้านสวัสดิภาพสัตว์ มหาวิทยาลัยบริสตอล กล่าวว่า มหาวิทยาลัยบริสตอล มีประสบการณ์กว่า 150 ปีแห่งค้นคว้าวิจัยด้านสวัสดิภาพสัตว์ ซึ่งเอื้อประโยชน์สำคัญในการสั่งสมความเชี่ยวชาญให้แก่สถาบัน Animal Welfare Training (AWTraining) จากภาควิชา Farm Animal Science คณะ Clinical Veterinary มหาวิทยาลัย Bristol ประเทศอังกฤษ โดยได้ให้คำปรึกษาอบรม และจัดหลักสูตรด้านสวัสดิภาพสัตว์ในการผลิตเป็นอาหารให้แก่ภาครัฐ องค์กรระหว่างประเทศ และบริษัทชั้นนำต่าง ๆ ใน 34 ประเทศทั่วโลกในทุกภูมิภาค อาทิ อังกฤษ เยอรมัน สเปน ฝรั่งเศส บราซิล อเมริกา แคนาดา ฟิลิปปินส์ แอฟริกาใต้ ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย รวมถึง ประเทศไทย โดยมีรางวัลยืนยันความสำเร็จของ Animal Welfare Training จาก BSAS/RSPCA ซึ่งเป็นองค์กรด้านสวัสดิภาพสัตว์แห่งแรกของโลก คือ รางวัลดีเด่นแห่งปี 2549 ต่อการสนับสนุนอย่างโดดเด่นด้านการวิจัย การสอนและการฝึกอบรมสวัสดิภาพสัตว์
หลักสวัสดิภาพสัตว์ หรือ Animal Welfare เป็นข้อกำหนดสำหรับการเลี้ยงสัตว์ที่สหภาพยุโรปเป็นผู้ประกาศ โดยคำนึงถึงความเป็นอิสระของสัตว์เลี้ยง 5 ประการ (Five Freedoms of Animals) ได้แก่ 1.ปราศจากความหิว กระหาย และการให้อาหารที่ไม่ถูกต้อง (Freedom from hungry and thirst) 2.ปราศจากความไม่สะดวกสบายอันเนื่องมาจากสภาวะแวดล้อม (Freedom from discomfort) 3.ปราศจากความเจ็บปวด การบาดเจ็บ และโรคภัย (Freedom from pain, injury and disease) 4. ปราศจากความกลัวและความทุกข์ทรมาน (Freedom from fear and distress) 5. อิสระในการแสดงพฤติกรรมตามปกติของสัตว์ (Freedom to express normal behavior)
โดยหลักสวัสดิภาพสัตว์นี้จะครอบคลุมในทุกส่วนของการเลี้ยงสัตว์ ตั้งแต่ 1.ด้านการเลี้ยงในฟาร์ม ซึ่งต้องให้น้ำและอาหารอย่างพอเพียงตลอดเวลา พื้นที่อยู่อาศัยของสัตว์ไม่หนาแน่น สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ มีสัตวแพทย์และสัตวบาลดูแลสุขภาพสัตว์อย่างสม่ำเสมอ สภาพแวดล้อมภายในโรงเรือน เช่น อุณหภูมิ ความชื้น การระบายอากาศ ต้องเหมาะสมและเพียงพอต่อการดำรงชีพของสัตว์ตลอดเวลา 2. ด้านการขนส่ง ภาชนะที่ใช้ในการขนส่งสัตว์ จะต้องดีและเหมาะสม เช่น ไม่ก่อให้เกิดอันตรายขณะขนส่ง, ความหนาแน่นของสัตว์ในขณะขนส่งจะต้องไม่มากเกินกว่าที่กำหนด 3.ด้านโรงงานแปรรูป เมื่อรถขนส่งไก่มาถึงโรงงาน จะต้องจอดพักในบริเวณที่เหมาะสมและสบายสำหรับตัวสัตว์ ทั้งนี้เพื่อลดความเครียดของสัตว์ ทุกขั้นตอนการแปรรูปต้องเป็นไปอย่างนุ่มนวลโดยเจ้าหน้าที่ที่มีความชำนาญและผ่านการฝึกอบรมด้านสวัสดิภาพสัตว์
สำนักสารนิเทศ
โทร. 0-2625-7344-5

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ