การแข่งขันสร้างรถอัจฉริยะชิงแชมป์ประเทศไทย 2551 Thailand Intelligent Vehicle Challenge 2008 2 เมษายน 2551

ศุกร์ ๐๔ เมษายน ๒๐๐๘ ๑๑:๔๐
กรุงเทพฯ--4 เม.ย.--ซีเกท เทคโนโลยี
สมาคมวิชาการหุ่นยนต์ไทย ร่วมกับ ภาควิชาเมคาโทรนิคส์ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย โดยการสนับสนุนจากบริษัทซีเกท เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด จัดการแข่งขันสร้างรถอัจฉริยะชิงแชมป์ประเทศไทย 2551 (Thailand Intelligent Vehicle Challenge 2008) ซึ่งเป็นการแข่งขันพัฒนารถไร้คนขับ ให้วิ่งไปบนเส้นทาง ที่กำหนด ให้ได้ระยะทางไกลที่สุดเร็วที่สุด โดยการจัดนี้นับเป็นการแข่งขัน ปีที่ 2 การแข่งขันรอบคัดเลือก จัดขึ้นในวันที่ 2 เมษายน ศกนี้ ณ สนามบางกอก เรซซิ่ง เซอร์กิต ด้านหลังซีคอนสแควร์
การจัดการแข่งขันสร้างรถอัจฉริยะชิงแชมป์ประเทศไทย จัดขึ้นครั้งแรก เมื่อ ปี พ.ศ. 2550 โดยความร่วมมือของหน่วยงานดังกล่าวข้างต้น โดยมีทีมนิสิตนักศึกษามากกว่า 15 ทีมเข้าร่วมการแข่งขัน ทั้งนี้ ทีมแจ็ค โอแลนเทิร์น (Jack O Lantern ) จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยชนะเลิศการแข่งขัน ในการแข่งขันสร้างรถอัจฉริยะชิงแชมป์ประเทศไทย 2551 มีทีมเข้าร่วมแข่งขันทั้งสิ้น 16 ทีม จาก 13 สถาบันการศึกษาทั่วประเทศกติการถที่ใช้แข่งขัน
ผู้เข้าแข่งขันสามารถใช้รถที่ประดิษฐ์ขึ้นมาเองหรือรถที่มีขายตามท้องตลาดก็ได้มาพัฒนาดัดแปลงต่อให้เป็นรถอัจฉริยะ ไม่มีข้อจำกัดในประเภทของเครื่องยนต์หรือแหล่งกำเนิดพลังงาน ผู้เข้าแข่งขันสามารถใช้รถที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายในประเภทต่าง ๆ เช่น เบนซิน ดีเซล แก๊สโซฮอล แก๊สธรรมชาติ แก๊สปิโตรเลียมเหลว อัลกอฮอล์ หรือสามารถใช้รถที่ใช้พลังงานจากแหล่งพลังงานประเภทอื่น เช่น รถไฟฟ้า รถไฮบริดจ์ รถพลังงานเคมี หรือรถที่ใช้พลังงานจากแหล่งพลังงานหลายประเภทพร้อมกันเป็นต้น
คุณสมบัติของรถ
รถจะต้องสามารถบรรจุผู้โดยสารได้อย่างต่ำ 1 คนและแล่นไปได้ด้วยกำลังของรถเอง (คณะกรรมการจะตรวจสอบคุณสมบัติข้อนี้โดยการตรวจสอบจากการวางได้อย่างเสถียรของผู้โดยสารจำลองที่เป็นวัตถุขนาด 30 เซนติเมตร x 30 เซนติเมตร x 30 เซนติเมตร หนัก 60 กิโลกรัม) รถจะต้องบรรจุอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จำเป็นในการขับเคลื่อนได้ด้วยตัวเองไว้บนรถ ไม่อนุญาตให้ติดตั้งอุปกรณ์ ใด ๆ ที่ใช้ในการแข่งขันนอกตัวรถ เช่นที่บริเวณสนามแข่งขัน ขนาดของรถอย่างต่ำคือกว้าง 1 เมตรและยาว 2 เมตร รถจะต้องสามารถทำงานได้ในสภาวะการขับรถจริง เช่น มีแสงแดด มีร่มเงา มีฝนตก
ความเป็นอัจฉริยะ
รถจะต้องสามารถขับเคลื่อนได้ด้วยตัวเองโดยปราศจากคนขับทั้งโดยตรง หรือแบบบังคับทางไกล รถจะต้องสามารถเคลื่อนที่ไปบนเส้นทางที่กำหนดให้โดยใช้เทคโนโลยีอัจฉริยะต่าง ๆ ที่ทำให้สามารถแบ่งแยกถนนออกจากสิ่งแวดล้อม อื่น ๆ และบังคับรถให้วิ่งอยู่บนถนนได้ สามารถรู้ถึงสิ่งกีดขวางที่อยู่กับที่พร้อมทั้งหลบหลีกสิ่งกีดขวางได้ สามารถรู้ถึงสัญญาณจราจรเช่น สัญญาณไฟเขียว ไฟแดง หรือสัญญาณบังคับทิศทาง พร้อมทั้งปฏิบัติตามกฎอย่างเคร่งครัด
เซนเซอร์ที่ใช้
ไม่มีข้อจำกัดของประเภทและจำนวนของเซนเซอร์ที่ใช้ ผู้เข้าแข่งขันสามารถใช้ กล้อง เลเซอร์ เรดาร์ โซนาร์ จีพีเอสและแผนที่อิเล็กทรอนิกส์ เอนโคดเดอร์ หรือเซนเซอร์ประเภทอื่น ๆ ได้โดยอิสระ
อุปกรณ์ควบคุมที่ใช้
ไม่มีข้อจำกัดของประเภทและจำนวนของอุปกรณ์ควบคุมที่ใช้ ผู้เข้าแข่งขันสามารถใช้คอมพิวเตอร์ประเภทใดก็ได้ เช่น เดสก์ทอป แลปทอป พีซี104 พีดีเอ คอมพิวเตอร์อุตสาหกรรม คอมพิวเตอร์ประเภทฝังตัว ไมโครโปรเซสเซอร์
รถที่ใช้แข่งขัน
ผู้เข้าแข่งขันสามารถใช้รถที่ประดิษฐ์ขึ้นมาเองหรือรถที่มีขายตามท้องตลาดก็ได้มาพัฒนาดัดแปลงต่อให้เป็นรถอัจฉริยะ ไม่มีข้อจำกัดในประเภทของเครื่องยนต์หรือแหล่งกำเนิดพลังงาน ผู้เข้าแข่งขันสามารถใช้รถที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายในประเภทต่าง ๆ เช่น เบนซิน ดีเซล แก๊สโซฮอล แก๊สธรรมชาติ แก๊สปิโตรเลียมเหลว อัลกอฮอล์ หรือสามารถใช้รถที่ใช้พลังงานจากแหล่งพลังงานประเภทอื่น เช่น รถไฟฟ้า รถไฮบริดจ์ รถพลังงานเคมี หรือรถที่ใช้พลังงานจากแหล่งพลังงานหลายประเภทพร้อมกันเป็นต้น
คุณสมบัติของรถ
รถจะต้องสามารถบรรจุผู้โดยสารได้อย่างต่ำ 1 คนและแล่นไปได้ด้วยกำลังของรถเอง (คณะกรรมการจะตรวจสอบคุณสมบัติข้อนี้โดยการตรวจสอบจากการวางได้อย่างเสถียรของผู้โดยสารจำลองที่เป็นวัตถุขนาด 30 เซนติเมตร x 30 เซนติเมตร x 30 เซนติเมตร หนัก 60 กิโลกรัม) รถจะต้องบรรจุอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จำเป็นในการขับเคลื่อนได้ด้วยตัวเองไว้บนรถ ไม่อนุญาตให้ติดตั้งอุปกรณ์ ใด ๆ ที่ใช้ในการแข่งขันนอกตัวรถ เช่นที่บริเวณสนามแข่งขัน ขนาดของรถอย่างต่ำคือกว้าง 1 เมตรและยาว 2 เมตร รถจะต้องสามารถทำงานได้ในสภาวะการขับรถจริง เช่น มีแสงแดด มีร่มเงา มีฝนตก
ความเป็นอัจฉริยะ
รถจะต้องสามารถขับเคลื่อนได้ด้วยตัวเองโดยปราศจากคนขับทั้งโดยตรง หรือแบบบังคับทางไกล รถจะต้องสามารถเคลื่อนที่ไปบนเส้นทางที่กำหนดให้โดยใช้เทคโนโลยีอัจฉริยะต่าง ๆ ที่ทำให้สามารถแบ่งแยกถนนออกจากสิ่งแวดล้อม อื่น ๆ และบังคับรถให้วิ่งอยู่บนถนนได้ สามารถรู้ถึงสิ่งกีดขวางที่อยู่กับที่พร้อมทั้งหลบหลีกสิ่งกีดขวางได้ สามารถรู้ถึงสัญญาณจราจรเช่น สัญญาณไฟเขียว ไฟแดง หรือสัญญาณบังคับทิศทาง พร้อมทั้งปฏิบัติตามกฎอย่างเคร่งครัด
เซนเซอร์ที่ใช้
ไม่มีข้อจำกัดของประเภทและจำนวนของเซนเซอร์ที่ใช้ ผู้เข้าแข่งขันสามารถใช้ กล้อง เลเซอร์ เรดาร์ โซนาร์ จีพีเอสและแผนที่อิเล็กทรอนิกส์ เอนโคดเดอร์ หรือเซนเซอร์ประเภทอื่น ๆ ได้โดยอิสระ
อุปกรณ์ควบคุมที่ใช้
ไม่มีข้อจำกัดของประเภทและจำนวนของอุปกรณ์ควบคุมที่ใช้ ผู้เข้าแข่งขันสามารถใช้คอมพิวเตอร์ประเภทใดก็ได้ เช่น เดสก์ทอป แลปทอป พีซี104 พีดีเอ คอมพิวเตอร์อุตสาหกรรม คอมพิวเตอร์ประเภทฝังตัว ไมโครโปรเซสเซอร์
ไมโครคอนโทรเลอร์ ดีเอสพี พีแอลซี หรืออุปกรณ์ควบคุมอื่น ๆ ได้โดยอิสระ
ความเร็วของรถ
ความเร็วสูงสุดของรถในการแข่งขันถูกจำกัดไว้ที่ 45 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
อุปกรณ์ที่ต้องติดตั้ง
รถยนต์ของทุกทีมต้องติดตั้งฮาร์ดดิสก์ซีเกท รุ่น EE 25.2 ความจุ 60 กิกะไบต์ เพื่อเก็บข้อมูลที่วัดได้จากเซนเซอร์ เช่น ตำแหน่งของรถ หรือ ภาพที่ได้รับจากกล้อง หรือ ข้อมูลอื่น ๆ ตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดการแข่งขัน จำนวนความถี่ของข้อมูลอย่างต่ำหนึ่งชุดข้อมูลทุก ๆ ระยะทาง 20 เมตร เพื่อเป็นรายงานประกอบการแข่งขัน
การหยุดฉุกเฉิน
ผู้เข้าแข่งขันจะต้องพัฒนาระบบหยุดรถแบบฉุกเฉิน ทั้งแบบปุ่มกด และแบบทางไกลระยะอย่างต่ำ 20 เมตร และสาธิตให้คณะกรรมการพิจาณาว่าสามารถหยุดรถได้จริงในกรณีฉุกเฉินก่อนการแข่งขันทุกครั้ง
เวลาในการแข่งขัน
เวลาที่ใช้ในการแข่งขันสูงสุดของแต่ละทีมคือ 20 นาที ผู้เข้าแข่งขันสามารถขอยุติการแข่งขันก่อนเวลาการแข่งขันสูงสุดได้ โดยมีข้อกำหนดขณะเริ่มการแข่งขันว่าจะต้องเคลื่อนที่ออกจากจุดสตาร์ทให้ได้ภายใน 5 นาที ในช่วง 5 นาทีนี้ผู้เข้าแข่งขันสามารถรีไทร์ได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง ผลของการแข่งขันจะพิจารณาจากการวิ่งครั้งไกลที่สุด รถถูกพิจารณาว่าออกนอกเส้นทางเมื่อทุกล้อออกนอกถนน
การพิจารณาผลการแข่งขัน
การแข่งขันในรอบแข่งคัดเลือก ผู้เข้าแข่งขันจะต้องพัฒนารถไร้คนขับให้วิ่งไปบนเส้นทางที่กำหนดให้ที่มีสิ่งกีดขวาง ติดตั้งอยู่บนเส้นทางอย่างสุ่ม ทีมที่วิ่งได้ระยะทางไกลที่สุดเร็วที่สุด 8 ทีมแรกจะได้รับเงินสนับสนุนทีมละ 50,000 บาท
การแข่งขันในรอบแข่งชิงชนะเลิศ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องพัฒนารถไร้คนขับ ให้วิ่งไปบนเส้นทางที่กำหนดให้ โดยที่เส้นทางจะถูกกำหนดให้ก่อนการแข่งขัน 1 ชั่วโมง ในลักษณะของตำแหน่งต่าง ๆ ที่รถจะต้องวิ่งผ่านตามลำดับ บนเส้นทางจะมี สิ่งกีดขวางติดตั้งอย่างสุ่ม ก่อนทางแยกบางจุดจะมีสัญญาณไฟจราจร บนเส้นทางจะมีสัญญาณจราจรต่าง ๆ รถต้อง ปฏิบัติตามสัญญาณไฟและสัญญาณจราจร นอกจากนี้บนเส้นทางจะมีสิ่งที่อาจจะรบกวนสัญญาณ GPS การตัดสิน ทีมชนะเลิศ จะพิจารณาจากทีมที่วิ่งได้ระยะทางไกลที่สุดเร็วที่สุดและปฏิบัติตามกฎจราจรมากที่สุด
คุณสมบัติของทีมที่เข้าร่วมแข่งขัน
สมาชิกในทีมต้องเป็นนักศึกษาระดับอาชีวะศึกษา ระดับอุดมศึกษา หรือ สูงกว่า ในสถาบันการศึกษาในประเทศไทย มีสมาชิกในทีมไม่เกิน 10 คน และมีอาจารย์ที่ปรึกษาไม่เกิน 3 คน สมาชิกทุกคนในทีมและอาจารย์ที่ปรึกษาต้องเป็นสมาชิกสมาคมวิชาการหุ่นยนต์ไทย
รางวัล
รางวัลชนะเลิศ 300,000 บาท
รางวัลรองชนะเลิศ 200,000 บาท
รางวัลเทคนิคยอดเยี่ยม 50,000 บาท
รางวัลความคิดสร้างสรรค์ 50,000 บาท
รางวัลออกแบบยอดเยี่ยม 50,000 บาท
8 ทีมที่ทำคะแนนสูงสุดที่ผ่านเข้ารอบแข่งชิงชนะเลิศ ทีมละ 50,000 บาท
กรณีข้อพิพาทของกฎกติกา
ในกรณีที่เกิดข้อพิพาทที่ไม่ได้กำหนดไว้ในกฎให้ถือดุลยพินิจของคณะกรรมการตัดสินเป็นเกณฑ์ ความเห็นของคณะกรรมการตัดสินถือเป็นที่สิ้นสุด
กำหนดการ
22 กุมภาพันธ์ 2551 วันสุดท้ายของการลงทะเบียนเข้าร่วมการแข่งขันและส่งรายงานการออกแบบ
27 กุมภาพันธ์ 2551 อบรมผู้เข้าร่วมแข่งขัน ชี้แจงกฎกติกา
2 เมษายน 2551 แข่งรอบคัดเลือก
4 มิถุนายน 2551 แข่งรอบชิงชนะเลิศ
หน่วยงาน
ผู้จัดการแข่งขัน สมาคมวิชาการหุ่นยนต์ไทย
ภาควิชาเมคาโทรนิคส์ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย
ผู้สนับสนุนหลักการแข่งขัน บริษัทซีเกท เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด
ผู้สนับสนุนการแข่งขัน สมาคมวิศวกรรมยานยนต์ไทย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version