กสิกรไทยจัดแพ็คความรู้ธุรกิจท่องเที่ยวให้เอสเอ็มอี

พุธ ๐๙ เมษายน ๒๐๐๘ ๑๑:๑๗
กรุงเทพฯ--9 เม.ย.--ธนาคารกสิกรไทย
ธนาคารกสิกรไทยร่วมมือกับสถาบันพัฒนาวิสาหกิจ ฯ และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต จัดโครงการ “Smart Travel Smart Tips…แพ็คความรู้เพื่อธุรกิจท่องเที่ยว SME” อบรมผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยวในภูเก็ต 500 ราย ให้มีความรู้พร้อมแข่งขัน เปิดสัมมนาครั้งแรกเดือนพ.ค.นี้
นายปกรณ์ พรรธนะแพทย์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า จังหวัดภูเก็ตเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวสำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของไทย ซึ่งมีธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวจำนวนมาก นำไปสู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยในภาพรวม แต่อุปสรรคสำคัญในการประกอบธุรกิจท่องเที่ยว คือ รายได้ที่มีความผันแปรตามฤดูกาลของการท่องเที่ยว ทำให้ผู้ประกอบการที่ขาดความรู้ในการบริหารต้นทุนที่ดีต้องประสบปัญหา นอกจากนี้การกำหนดมาตรฐานสากลของการจัดการสิ่ง แวดล้อมในการดำเนินธุรกิจท่องเที่ยวและโรงแรม หรือ Green Leaf ขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการต้องมีการปรับตัวเพื่อให้ธุรกิจของตนได้มาตรฐานและเป็นที่ยอมรับของนักท่องเที่ยวผู้ใช้บริการโดยเฉพาะชาวต่างชาติ ซึ่งให้ความสำคัญแก่มาตรฐานดังกล่าว
ธนาคารกสิกรไทยเล็งเห็นความสำคัญของประเด็นดังกล่าว จึงร่วมมือกับสถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ISMED) และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขต ภูเก็ต จัด โครงการ “Smart Travel Smart Tips …แพ็คความรู้เพื่อธุรกิจท่องเที่ยว SME” ซึ่งเป็นโครงการสัมมนาที่มุ่งสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงการดำเนินธุรกิจให้ได้มาตรฐานและเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันให้มากยิ่งขึ้น ประกอบไปด้วย การสัมมนาเชิงปฏิบัติการโครงการย่อยทั้งสิ้น 3 ครั้งโครงการ ได้แก่คือ การสัมมนาเรื่อง “บริหารธุรกิจท่องเที่ยวสู่ระดับสากลลดต้นทุน หนุนรายได้ เมืองไข่มุกอันดามัน” ซึ่งจะให้ความรู้เรื่องทิศทางและการบริหารจัดการต้นทุนในการดำเนินธุรกิจท่องเที่ยว ซึ่งธุรกิจท่องเที่ยวจะมีรายได้ผันแปรตามฤดูกาลท่องเที่ยว โครงการที่ 2 การสัมมนาเรื่อง “ระบบวินิจฉัยธุรกิจ สำหรับธุรกิจท่องเที่ยว SME” ซึ่งจะมีการนำระบบวินิจฉัยธุรกิจ หรือ “Business Competitiveness Diagnosis (BCD)” ของสถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมาใช้ในการวิเคราะห์ความสามารถในการแข่งขันของแต่ละกิจการ รวมทั้งหาแนวทางแก้ไขให้แก่ธุรกิจดังกล่าว และการอบรมเชิงปฏิบัติการสัมมนาเรื่อง “การบริหารภาษีอากรและประมวลกฎหมายภาษีอากรที่จำเป็นสำหรับธุรกิจท่องเที่ยวไขข้องใจด้านภาษีและกฎหมายฉบับผู้บริหาร” ซึ่งจะช่วยเพื่อให้ความรู้และความเข้าใจให้แก่ผู้ประกอบการในการบริหาร จัดการด้านภาษี กฎหมาย รวมถึงมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมต่างๆ รับผู้ร่วมสัมมนาจำนวนทั้งสิ้นประมาณ 500 ราย ซึ่งโครงการนี้เริ่มเปิดอบรมครั้งแรกเดือนพฤษภาคมนี้
ธนาคารกสิกรไทยมุ่งมั่นส่งเสริมการเพิ่มศักยภาพในการทำธุรกิจของเอสเอ็มอีมาอย่างต่อเนื่อง โดยนอกเหนือจากการให้บริการทางการเงินที่หลากหลายแก่เอสเอ็มอี เช่น บริการสินเชื่อค้าคล่องเต็มร้อยกสิกรไทย (K-100% Credit) สินเชื่อระยะยาวเพื่อธุรกิจเอสเอ็มอีกสิกรไทย (K-SME Extend) และสินเชื่อเกินหลักทรัพย์ค้ำประกัน (K-Max) เป็นต้น ธนาคารกสิกรไทยยังมีโครงการ K-SME Care ที่สนับสนุนผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในรูปของการร่วมลงทุน (Capital) การให้คำปรึกษา (Advisce) การให้ข้อมูลงานวิจัย (Research) และการอบรมสัมมนาเพื่อให้ความรู้ (Education) ซึ่งเป็นการให้เครื่องมือในการดำเนินธุรกิจที่มากกว่าบริการทางการเงินอีกด้วย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๐ คปภ. เปิดตัวคู่มือการทำประกันภัยความเสี่ยงภัยทรัพย์สิน (IAR) และการประกันอัคคีภัย แนะแนวทางการกำหนดจำนวนเงินเอาประกันภัยอย่างเหมาะสม
๑๖:๒๖ SiteMinder เผย โรงแรมไทยเติบโต ก้าวเป็นผู้นำตลาด หลังนักท่องเที่ยวต่างชาติหลั่งไหลเข้าประเทศ
๑๗:๕๙ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊งให้การต้อนรับ เอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทย ณ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง พลับพลาไชย กรุงเทพฯ
๑๖:๐๐ fintips by ttb เผยเคล็ดลับ รถใหม่ป้ายแดงหรือรถมือสอง เลือกแบบไหนให้เหมาะกับเราที่สุด
๑๖:๐๐ มาแล้ว! เปิดตัว Samsung Galaxy S25 ซีรีส์ใหม่ล่าสุด มาพร้อม Galaxy AI ผู้ช่วยส่วนตัวคนใหม่ของคนไทย ตอบโจทย์รู้ใจทุกความต้องการเฉพาะคน
๑๖:๐๐ กทม. เดินหน้ากำจัดปลาหมอคางดำ ลดผลกระทบเกษตรกร-แปรรูปสร้างรายได้
๑๖:๐๐ เดอะไนน์ เซ็นเตอร์ พระราม 9 ร่วมฉลองเทศกาลตรุษจีนยิ่งใหญ่ Chinese Market 2025 ช้อปสินค้ามงคล เสริมดวงโชคดีมั่งมี
๑๖:๐๐ SNPS ต้อนรับ คณะผู้บริหารและนักวิจัยสภากาชาดไทย
๑๕:๒๔ BEST Supply Chain ยกระดับจัดการคลังสินค้ายุคใหม่ ชู BEST Fulfillment เพิ่มประสิทธิภาพจัดการสินค้า จบครบในที่เดียว
๑๕:๐๐ เด็กซ์ซอนผนึกกำลังภาคีเครือข่าย TCCA ตอกย้ำความมุ่งมั่นด้านความยั่งยืน มุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero