กรุงเทพฯ--24 เม.ย.--ซีเอ็มพี เอเชีย
หลังจากที่ประสบความสำเร็จจากการย้ายทำเลมายังกรุงเทพมหานครเมื่อสองปีก่อน ในปีนี้ Asian Paper กลับมาอีกครั้งหนึ่งในรูปแบบที่ยิ่งใหญ่และยอดเยี่ยมยิ่งกว่าเดิม ด้วยจำนวนผู้จัดแสดงและพื้นที่จัดแสดงที่เหนือกว่าการจัดงานในครั้งที่ผ่านมาดังนี้...
บริษัทผู้จัดแสดงกว่า 220 รายจาก 28 ประเทศ
พื้นที่จัดแสดงรวม 7,000 ตร.ม.
ส่วนจัดแสดงพิเศษของ Arvelin (จากฟินแลนด์) อุตสาหกรรมเยื่อกระดาษและกระดาษจีน (จากจีน) และสภาส่งเสริมการค้านานาชาติของประเทศจีน สาขาหังโจว (จากจีน)
ในส่วนของการลงทะเบียนล่วงหน้าก็คึกคักเป็นอย่างมากโดยมีผู้เข้าชมงานลงทะเบียนล่วงหน้าแล้วถึงกว่า 1,000 รายซึ่งร้อยละ 80 เป็นผู้เข้าชมงานจากต่างประเทศ คุณลินดา แทน ผู้จัดการงานกล่าวว่า “เราได้ใช้งบประมาณจำนวนมากไปกับการประชาสัมพันธ์ในหมู่ผู้ประกอบการเพื่อให้สามารถเข้าถึงทุกท่านในอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ อุตสาหกรรมกระดาษและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นเราจึงมั่นใจว่าจำนวนผู้เข้าชมงานในปีนี้จะต้องมากกว่าทุกครั้งที่ผ่านมาอย่างแน่นอน”
นอกเหนือจากการจัดแสดงแล้วงานนี้ยังประกอบด้วยการประชุมเฉพาะทางสองรายการ ได้แก่ การประชุมอภิปรายผู้บริหารอาวุโส (SMS: Senior Management Symposium) และการประชุมเทคโนโลยีประยุกต์ใหม่ (NAT: New Applied Technology) โดยในส่วนของ SMS นั้นจะมีผู้ทรงคุณวุฒิ 13 ท่านผัดเปลี่ยนกันมาบรรยายในประเด็นต่างๆที่น่าสนใจภายใต้หัวข้อ “สมดุลที่เหมาะสม: อุปทานและอุปสงค์ ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและผลตอบแทนทางด้านการเงิน (Finding the Right Balance: Supply and Demand, Environmental Impact and Financial Return)” อาทิ ผลกระทบที่เอเชียมีต่อตลาดกระดาษใช้แล้วของโลก . . . ประเด็นและความซับซ้อนของการรับรองป่า . . . เกมการเติบโตอันน่าทึ่งของจีน . . . การเติบโตของอินเดีย . . . พัฒนาการในเวียดนาม . . . กฎหมายชีวมวล: ภัยหรือโอกาส . . . อุปทานและอุปสงค์ของระดับและภูมิภาคต่างๆ . . . ในส่วนของ NAT ก็มีผู้บรรยายระดับแนวหน้า 23 ท่านที่จะมาร่วมแบ่งปันข้อมูลทางด้านเทคนิค นวัตกรรมและโซลูชั่นให้แก่ผู้ผลิตเยื่อกระดาษ กระดาษ กระดาษแข็งและทิชชูในเอเชียด้วย
อีกกิจกรรมหนึ่งซึ่งเป็นที่สนใจของผู้เช้าชมงาน คือ การเยี่ยมชมโรงกระดาษซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 22 เมษายน 2551 หรือหนึ่งวันก่อนที่งานจะเริ่มขึ้น ผู้เข้าชมงานที่ลงชื่อไว้สำหรับรายการนี้จะได้มีโอกาสสัมผัสกับสุดยอดเทคโนโลยีล้ำสมัยที่โรงกระดาษของเครือปูนซิเมนต์ไทยใช้ในการผลิตกระดาษสำหรับการพิมพ์ กระดาษสำหรับการเขียนและกระดาษคราฟท์
สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมโปรดไปยังเว็บไซท์ของ Asian Paper ที่ (www.asianpapershow.com) หรือติดต่อคุณลินดา แทน ผู้จัดการโครงการ (Aquatics และ Paper) ( [email protected] )