คณะอนุกรรมการ ฯ บีโอไออนุมัติรวด 6 โครงการ ให้กลุ่มผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ต่อยอดโครงการอีโคคาร์

จันทร์ ๒๘ เมษายน ๒๐๐๘ ๑๗:๐๐
กรุงเทพฯ--28 เม.ย.--บีโอไอ
อนุกรรมการบีโอไออนุมัติ เงินลงทุนกว่า 1,996 ล้านบาท ให้ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ เน้นใช้วัตถุดิบในประเทศ คาดว่าจะมีเม็ดเงินสะพัดในกลุ่มชิ้นส่วนยานยนต์ 140,000 ล้านบาท ขานรับปีแห่งการลงทุนไทย
นายสุวิทย์ คุณกิตติ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะอนุกรรมการส่งเสริมการลงทุนเมื่อเร็ว ๆนี้ โดยมี นายประวิช รัตนเพียร ทำหน้าที่ประธานคณะอนุกรรมการส่งเสริมการลงทุน ได้อนุมัติส่งเสริมการลงทุน โครงการที่เกี่ยวกับการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์และยานพาหนะ ทั้งสิ้น 6 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนรวม 1,996 ล้านบาท หลังจากที่ประชุมใหญ่ ( บอร์ดบีโอไอ ) ได้อนุมัติส่งเสริมการลงทุนโครงการรถประหยัดพลังงาน (อีโคคาร์ )ไปแล้ว 6 โครงการ ได้แก่บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทสยามนิสสัน ออโตโมบิล จำกัด บริษัทมิตซู-บิชิ มอเตอร์ส ( ประเทศไทย ) จำกัด บริษัท ซูซุกิ จำกัด และบริษัท ทาทา มอเตอร์ ประเทศอินเดีย มูลค่าเงินลงทุนรวม 43,440 ล้านบาท ถือเป็นการต่อยอดให้โครงการอีโคคาร์เกิดความสำเร็จโดยเร็ว สอดรับกับนโยบายปีแห่งการลงทุนไทย ( THAILAND INVESTMENT YEAR 2551- 2552 )
“ การอนุมัติของคณะอนุกรรมการ ฯ ครั้งนี้ เป็นก้าวสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนให้โครงการอีโคคาร์พัฒนาเร็วยิ่งขึ้น เพราะชิ้นส่วนยานยนต์จัดเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมในการเข้ามารองรับตลาดรถยนต์ที่กำลังพัฒนาจึงเป็นหัวใจสำคัญ หลังจากได้ประมาณการว่าจะเริ่มผลิตจริงในปี 2553 ซึ่งนอกจากจะช่วยเพิ่มยอดการส่งออกของไทยได้แล้ว จะช่วยประหยัดการนำเข้าน้ำมันได้อีกทางหนึ่ง ส่วนมูลค่าการลงทุนในกลุ่มผลิตชิ้นส่วนอีโคคาร์ประมาณการว่า จะอยู่ประมาณ 140,000 ล้านบาท ” นายสุวิทย์กล่าว
สำหรับรายละเอียดของโครงการที่ได้รับอนุมัตินั้น บริษัท อินทิเกรเทดพรีซิชั่น เอ็นจิเนียริ่ง ( ประเทศไทย ) จำกัด ขอขยายกิจการผลิตชิ้นส่วนโลหะขึ้นรูปสำหรับยานพาหนะและงานอุตสาหกรรมอื่น ๆ อาทิ ชิ้นส่วนปั๊มน้ำมันแรงดันสูง และชิ้นส่วนหัวฉีดน้ำมันดีเซล ปีละประมาณ 24,000,000 ชิ้น มูลค่าเงินลงทุนทั้งสิ้น 149.2 ล้านบาท นายสมพงษ์ เผอิญโชค ขอรับการส่งเสริม ( ขยายกิจการ ) ผลิตชิ้นส่วนยานพาหนะ อย่างชุดหุ้มเบาะ เบาะที่นั่ง และ SHIFTER ประเภทละ 100,000 ชุด
มูลค่าเงินลงทุนทั้งสิ้น 747.2 ล้านบาท
นอกจากนั้นบริษัท เซนต์โกเบน ซีคิวริท (ไทยแลนด์ ) จำกัด ขอรับการส่งเสริม (ขยายกิจการ ) ผลิตกระจกนิรภัยเทมเปอร์ มูลค่าเงินลงทุนทั้งสิ้น 336 ล้านบาท บริษัท บางกอก นากัทสึ จำกัด ขอรับการส่งเสริมผลิตสายพานตีนตะขาบ มูลค่าเงินลงทุนทั้งสิ้น 325.2 ล้านบาท บริษัท มิยามะ อินดัสตรี้ ( ประเทศไทย ) จำกัด ขอรับการส่งเสริมผลิตชิ้นส่วนยานพาหนะมูลค่าเงินลงทุนทั้งสิ้น 198.1 ล้านบาท และบริษัท ไดโด สิทธิผล จำกัด ขอรับการส่งเสริม (ขยายกิจการ ) ผลิตโซ่ขับล้อรถจักรยานยนต์ และโซ่เครื่องยนต์ มูลค่าเงินลงทุนทั้งสิ้น 240 ล้านบาท

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ