ศูนย์ TDC หนุนเกษตรกรปลูกสมุนไพรจัดเก็บ ตรวจสอบ ทำตลาด มุ่งพัฒนาครบวงจรรับรองมาตรฐานตราสัญลักษณ์ TDC

ศุกร์ ๐๒ พฤษภาคม ๒๐๐๘ ๑๕:๒๕
กรุงเทพฯ--2 พ.ค.--ศูนย์พัฒนายาไทยและสมุนไพร
ศูนย์ TDC หนุนเกษตรกรปลูกสมุนไพรจัดเก็บ ตรวจสอบ ทำตลาด มุ่งพัฒนาครบวงจรรับรองมาตรฐานตราสัญลักษณ์ TDC ให้สมุนไพรที่ผ่านมาตรฐาน
พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สู่ตลาดสากล ยกระดับสมุนไพรไทย จากไพร...สู่พลาซ่า
ศูนย์พัฒนายาไทยและสมุนไพร (Traditional Thai Medicine Development Center) หรือศูนย์ TDC ภายใต้สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข โดยศูนย์ TDC ได้ริเริ่มโครงการบูรณาการการสร้างอาชีพด้วยการแพทย์แผนไทยและสมุนไพรไทย เพื่อสร้างอาชีพให้กับผู้ประสบอุทกภัยใน 5 จังหวัดภาคกลาง ได้แก่ สุพรรณบุรี ปทุมธานี อยุธยา อ่างทองและสิงห์บุรี โดยการส่งเสริมการปลูกสมุนไพรในรูปแบบเกษตรอินทรีย์ การสนับสนุนเทคโนโลยีการตากสมุนไพรด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ในระบบปิด พร้อมวัสดุที่ใช้ในการจัดเก็บ เพื่อป้องกันการปนเปื้อน รวมไปถึงการจัดหาช่องทางการตลาดวัตถุดิบสมุนไพรสู่ภาคอุตสาหกรรม สู่สถานบริการของรัฐนำไปใช้ประโยชน์ทางยาเพื่อการพึ่งตนเองทางด้านยาของประเทศ ในอีกด้านหนึ่ง TDC ได้เข้าไปช่วยพัฒนากระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ชุมชนประเภทสมุนไพรให้ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับของสากล และส่งเสริมช่องทางการตลาดโดยประสานกับภาคเอกชนนำสินค้าภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสมุนไพรสู่การตลาดเพื่อการส่งออก โดยชุมชนที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับการดูแลทั้งระบบในทุกมิติ ตั้งแต่มิติต้นน้ำ ไปจนถึงมิติปลายน้ำ
เภสัชกร สมนึก สุชัยธนาวนิช หัวหน้าศูนย์ TDC กล่าวว่า ศูนย์พัฒนายาไทยและสมุนไพร หรือศูนย์ TDC มีบทบาทหน้าที่หลัก คือ การพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านยาไทยตำรับและสมุนไพร ให้มีคุณภาพมาตรฐานเป็นที่ยอมรับของสากล ซึ่งโครงการดังกล่าวแบ่งออกเป็น 3 โครงการย่อย ได้แก่ โครงการส่งเสริมการปลูกพืชสมุนไพรเชิงเกษตรอินทรีย์ โครงการสร้งอาชีพด้วยการบริการแพทย์แผนไทย และพัฒนากระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพร และขนมพื้นบ้านไทย และโครงการส่งเสริมภูมิปัญญาพื้นบ้านและสนับสนุนการใช้ยาแผนไทยในสถานบริการของรัฐ ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนกลุ่มเกษตรกรในการปลูกพืชสมุนไพรเชิงเกษตรอินทรีย์ พร้อมทั้งได้ให้ความรู้และข้อมูลในการสร้างอาชีพแก่กลุ่มเกษตรกร 400 ครัวเรือน ใน 5 จังหวัดภาคกลาง ที่ประสบภัยน้ำท่วมเมื่อปีที่ผ่านมา เช่น การจัดฝึกอบรมการสร้างอาชีพนวดไทยและสปาจำนวน 3 รุ่นๆละ 50 คน และได้ส่งเสริมการปลูกพืชเกษตรอินทรีย์ 10 ชนิด ได้แก่ ฟ้าทะลายโจร โหระพา ตระไคร้บ้าน บัวบก บัวหลวง กระเจี๊ยบแดง แฝกหอม กระเพราแดง ขมิ้นชัน มะแว้งเครือ สบู่ดำ
ซึ่งเป็นการปลูกพืชสมุนไพรตามมาตรฐานสากล เพื่อป้อนสู่ขบวนการผลิตอุตสาหกรรมยาทั้งภาครัฐและเอกชน โดยให้ความสำคัญในกระบวนการปลูกสมุนไพรจนถึงการจัดเก็บ, การคัดเลือก, การดูแล , และกระบวนการจัดการทุกขั้นตอน ก่อนได้เป็นวัตถุดิบสมุนไพรที่ผ่านการตรวจสอบมาตรฐาน , วิเคราะห์และวิจัยสกัดเป็นตำรับยา และนำสู่ภาคการผลิตในอุตสาหกรรมต่อไป และได้พัฒนาวัตถุดิบสมุนไพรต่างๆ ให้เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ผ่านกระบวนการดูแลคัดสรรคุณภาพอย่างดีเยี่ยมและผ่านการตรวจสอบมาตรฐาน ด้วยตรามาตรฐานสัญลักษณ์ TDC สัญลักษณ์แห่งมาตรฐานจากศูนย์พัฒนายาไทยและสมุนไพร กระทรวงสาธารณสุข ที่รับรองสินค้า ผลิตภัณฑ์นั้นๆ ว่าได้ผ่านตรวจสอบคุณภาพจากศูนย์ฯ เรียบร้อยแล้ว พร้อมการันตรีถึงคุณภาพที่เริ่มกันตั้งแต่มาจากการปลูกพืชสมุนไพรเชิงเกษตรอินทรีย์ ควบคุมการกระบวนการสกัดสมุนไพร การควบคุมกระบวนการผลิต และการตรวจสอบคุณภาพ ทุกขบวนการเพื่อผลิตภัณฑ์ชุมชนมีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับของสากล
คุณสมนึก สุชัยนาวนิช กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ทางศูนย์ฯ ยังได้ให้ความสำคัญในการต่อยอดผลิตภัณฑ์โดยการพัฒนาวัตถุดิบสมุนไพรให้ปรับรูปโฉมเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ ที่มาพร้อมรูปลักษณ์ของบรรจุภัณฑ์ (New Pakaging) ที่ทันสมัย เพื่อการแข่งขันในตลาดที่จับกลุ่มลูกค้าผู้รักสุขภาพ ระดับกลางถึงลูกค้าระดับบน คาดว่าผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการตรวจสอบและได้รับการรับรองตราสัญลักษณ์ TDC จะสามารถแข่งขันและเติบโตสู่ตลาดสากลได้ไม่ยาก
ทางด้าน นาย ฉัตรชัย สุขสาคร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ยูไนเต็ด บราเธอร์ คอร์เปอร์เรชั่น จำกัด กล่าวว่า ขณะนี้ทางบริษัทฯ ได้เข้ามาช่วยบริหารด้านการตลาด พัฒนารูปลักษณ์ของบรรจุภัณฑ์ให้ทันสมัย ภายใต้ตราสินค้า “Herb Club” ที่เน้นการจำหน่ายทั้งตลาดในประเทศและการส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศ มุ่งประเทศหลักๆ เช่น ญี่ปุ่น ,ยุโรป และอเมริกา เป็นต้น โดยได้นำวัตถุดิบมาจากกระบวนการที่ได้มาตรฐานเริ่มต้นจากการปลูกที่มีคุณภาพของกลุ่มเกษตรกรในจังหวัดต่างๆ และพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ในระดับ Hi-End โดยจะมีการเปิดศูนย์บริการสินค้า Herb Club ณ บริเวณชั้น 4 ห้างสรรพสินค้า สยามพารากอน คาดว่าภายในเดือนสิงหาคม 2551 นี้จะสามารถเปิดให้บริการแก่ผู้ที่รักสุขภาพได้ใช้บริการอย่างครบวงจร ช่วยหนุนเกษตรกรผู้ปลูกสมุนไพรให้มีศูนย์กลางในการติดต่อค้าขายในระดับสากล พร้อมหนุนสินค้าให้ได้รับการยอมรับจากนานาชาติ
ทางด้านเกษตรกรผู้ปลูกสมุนไพร นาง เสงี่ยม ไม้แป้น หัวหน้ากลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกสมุนไพร ผู้ได้รับเลือกเป็นเกษตรกรดีเด่น ผู้หญิงเก่งประจำอำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง เปิดเผยว่า เดิมประกอบอาชีพทำสวนกล้วยหอม แต่ประสบปัญหาราคาตกต่ำขาดทุน แต่ด้วยความใกล้ชิดกับคุณตาคุณยาย ที่มีภูมิปัญญาชาวบ้านในเรื่องสมุนไพรพอสมควร จึงได้ถ่ายทอดความรู้ในเรื่องสมุนไพรให้ จากจุดนั้นเองจึงได้นำความคิดมาพัฒนาสมุนไพรสู่การสร้างรายได้แทนการทำสวนเกษตรแบบเดิม พร้อมทั้งพัฒนาสูตรสมุนไพร 5 ชนิด ประกอบด้วย ไมยราบ, ใบหม่อน, เตยหอม, ทองพันชั่ง และดอกคำฝอย โดยมีไมยราบเป็นองค์ประกอบหลักในการผลิต “ชาสมุนไพรไทยแท้ ตราแม่บ้าน” สร้างรายได้ให้ตนเอง และส่งเสริมให้คนในชุมชนได้ปลูกพืชสมุนไพรชนิดต่างๆ และผลักดันให้เกิด “กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรป่าโมกพัฒนา” ปัจจุบันมีสมาชิก 34 คน ที่รวมตัวกันปลูกและพัฒนาสมุนไพร เช่น ชาใบหม่อน, ลูกประคบสมุนไพร, สมุนไพรขัดตัวและผลิตภัณฑ์อื่นๆ เป็นต้น ซึ่งเป็นกลุ่มเกษตรกรที่ได้รับการให้คำแนะนำช่วยเหลือจากศูนย์ TDC โดยปัจจุบันมีการจัดเก็บวัตถุดิบที่ได้มาตรฐานดีขึ้นกว่าเดิมมาก และทางศูนย์ฯ ยังได้มอบโรงตากพลังงานแสงอาทิตย์โดยมีพลังงานสำรองเป็นระบบแก็สอินฟาเรด เพื่อสามารถให้ชุมชนสามารถจัดการวัตถุดิบให้แห้งได้ตลอดฤดูกาล และยังมอบถุงกระสอบสานพร้อมเครื่องเย็บ ทำให้การจัดเก็บวัตถุดิบสมุนไพรมีคุณภาพดี
ส่วนทางด้านนางสงัด พรมเมศ หัวหน้า “กลุ่มอาชีพสมุนไพรรำมะสัก” ต.รำมะสัก อ.โพธิ์ทอง จ.อ่างทอง ผู้ได้รับการส่งเสริมจากศูนย์ TDC กล่าวเสริมว่า ปัจจุบันกลุ่มฯ มีสมาชิกประมาณ 50 คน ได้ส่งเสริมให้ปลูกพืชสมุนไพรไว้หลากหลายชนิด อาทิเช่น ไมยลาบ, ข้าวหอมนิล,ว่านหางจระเข้, เสลดพังพอน , ใบส้มป่อย ขิงและข่า เป็นต้น โดยเฉพาะการปลูกข่า ซึ่งถือว่า ตำบลรำมะสัก เป็นแหล่งที่มีการปลูกข่ามากที่สุดในโลก นอกจากนี้ทางกลุ่มยังได้พัฒนาสมุนไพรเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น แชมพู, ครีมอาบน้ำ, สบู่ , สมุนไพรขัดตัว , ยาสีฟัน , ลูกประคบ เป็นต้น โดยมีลูกค้าเข้ามาสั่งสินค้าเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะลูกประคบที่มียอดสั่งซื้อมาก สร้างรายได้เข้ากลุ่มกว่า 1.5 ล้านบาทต่อเดือน มีทั้งลูกค้าในประเทศไทยและต่างประเทศ จึงเล็งเห็นว่าการเน้นเรื่องคุณภาพของวัตถุดิบเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะถ้าใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพดีตั้งแต่กระบวนการปลูกแล้ว สินค้าก็จะมีคุณภาพดีไปด้วย
อ.สมนึก กล่าวส่งท้ายว่า ทางศูนย์ฯ ยังคงให้การส่งเสริมแก่เกษตรกรในการปลูกสมุนไพรและช่วยพัฒนามาตรฐานต่อไป โดยปัจจุบัน ทางศูนย์ฯ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) โดยมีพันธมิตรร่วม ได้แก่ สมาคมผู้ผลิตยาสมุนไพร และบริษัท เครื่องหอมไทย-จีน จำกัด นอกจาก การพัฒนายาตำรับแล้ว ศูนย์ TDC ยังทำงานแบบครบวงจร คือส่งเสริมให้ปลูก พร้อมช่วยจัดหาผู้ซื้อผลักดันให้เกิดการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่มีวิวัฒนาการและรูปแบบที่ทันสมัย พร้อมเป็นสื่อกลางในการประสานงานระหว่างกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกสมุนไพร และบริษัทฯ ผู้บริหารงานด้านการตลาด เพื่อให้กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกสมุนไพรมีช่องทางสร้างอาชีพในแบบมั่นคงและยั่งยืน / อ.สมนึก กล่าวส่งท้าย
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ
ฝ่ายประชาสัมพันธ์โครงการฯ
นาย ชานนท์ เครือด้วง (ปุ๊กปิ๊ก)
โทรศัพท์ 084-6767-066

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ