วางศิลาฤกษ์โรงไฟฟ้าพระนครเหนือ

พุธ ๐๗ พฤษภาคม ๒๐๐๘ ๑๑:๓๒
กรุงเทพฯ--7 พ.ค.--กระทรวงพลังงาน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน วางศิลาฤกษ์โรงไฟฟ้าพระนครเหนือ ชุดที่ 1 แหล่งกำเนิดพลังงานไฟฟ้าใจกลางเมือง ที่ช่วยลดการลงทุนและความสูญเสียในระบบส่ง รวมถึงลดโอกาสไฟตก-ไฟดับ พร้อมเสริมความมั่นคงในการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มสูงขึ้นของประเทศ
วันนี้ (7 พฤษภาคม 2551) พลโทหญิง พูนภิรมย์ ลิปตพัลลภ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์โรงไฟฟ้าพระนครเหนือ ชุดที่ 1 โดยมีนายสมบัติ ศานติจารี ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ. ) พร้อมคณะผู้บริหาร กฟผ. ให้การต้อนรับ รวมถึงหน่วยงานภาครัฐ เอกชน สื่อมวลชน และชุมชนจังหวัดนนทบุรี ให้เกียรติร่วมในพิธี
โรงไฟฟ้าพระนครเหนือ ชุดที่ 1 มีสถานที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี อยู่ในบริเวณโรงไฟฟ้าพระนครเหนือเดิมที่หมดอายุลง และได้รื้อถอนออกไปเมื่อปี 2548 เป็นโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม ขนาดกำลังผลิตติดตั้งรวม 704 เมกะวัตต์ ประกอบด้วยเครื่องผลิตไฟฟ้ากังหันแก๊ส จำนวน 2 เครื่อง ขนาดกำลังผลิตเครื่องละ 221 เมกะวัตต์ และเครื่องผลิตไฟฟ้ากังหันไอน้ำ จำนวน 1 เครื่อง ขนาดกำลังผลิต 262 เมกะวัตต์ ใช้ก๊าซธรรมชาติจากสหภาพพม่าเป็นเชื้อเพลิง เป็นโรงไฟฟ้าที่ถูกบรรจุในแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2547-2558 หรือ PDP 2004 และได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้ดำเนินการก่อสร้างเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2549 เพื่อเสริมความมั่นคงของระบบไฟฟ้า และตอบสนองความต้องการใช้ไฟฟ้าของประเทศที่เพิ่มสูงขึ้นตามความเจริญเติบโตด้านสังคม เศรษฐกิจ และอุตสาหกรรม โดยมีบริษัทคู่สัญญาผู้รับจ้างก่อสร้างโรงไฟฟ้า ได้แก่ The Consortium of Sumitomo Corporation, Hitachi Ltd. และ บริษัทอิตาเลี่ยนไทย ดิเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) ด้วยงบลงทุน17,545 ล้านบาท ใช้ระยะเวลาการก่อสร้างประมาณ 39 เดือน กำหนดแล้วเสร็จและสามารถจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบได้ในเดือนมีนาคม 2553
จุดเด่นของโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ ชุดที่ 1 อยู่ใกล้ศูนย์กลางการใช้ไฟฟ้า จึงสามารถช่วยลดการลงทุนด้านระบบไฟฟ้า และลดความสูญเสียในระบบส่ง รวมถึงลดโอกาสการเกิดปัญหาไฟตก-ไฟดับ อีกทั้งเป็นโรงไฟฟ้าที่ถูกออกแบบให้สอดรับกลมกลืนกับสภาพแวดล้อม รวมถึงมีมาตรการควบคุมผลกระทบสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด ครอบคลุมเรื่องคุณภาพอากาศ คุณภาพน้ำ และคุณภาพเสียง ทั้งระยะก่อนก่อสร้าง ระยะก่อสร้าง และเมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จ
สำหรับการสนับสนุนและพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชนรอบโรงไฟฟ้า กฟผ. ได้เป็นส่วนหนึ่งในการร่วมพัฒนาด้านการส่งเสริมอาชีพ อาชีวอนามัย ศาสนา การศึกษา การจ้างแรงงานท้องถิ่นและระบบสาธารณูปโภค นอกจากนั้นเมื่อโรงไฟฟ้าก่อสร้างแล้วเสร็จสามารถจ่ายไฟฟ้าในเชิงพาณิชย์ปี 2553 จะมีการคืนกลับสิ่งดี ๆ ให้ชุมชนในรูปแบบกองทุนพัฒนาพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า 1 สตางค์ต่อทุกหน่วยที่ขายไฟฟ้าได้ หรือประมาณ 40 ล้านบาทต่อปี เพื่อให้เกิดการพัฒนาชุมชนอย่างต่อเนื่องต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๐:๓๔ ดรีมมี่ ร่วมด้วยช่วยฟื้นฟูผู้ประสบภัยหลังน้ำลด สมทบทุน-มอบสินค้าอุปโภคบริโภค และของใช้จำเป็น รวมมูลค่ากว่า 300,000
๐๕ พ.ย. กทม. เฝ้าระวังฝนฟ้าคะนอง-ลมกระโชกแรง เข้มตรวจสอบความแข็งแรงอาคารและป้ายโฆษณา
๐๙:๓๗ EXIM BANK แถลงผลการดำเนินงานเดือนมกราคม-กันยายน 2567 ปลดล็อกศักยภาพผู้ประกอบการไทยสู่เวทีโลก สร้างโลกเติบโตยั่งยืน
๐๙:๑๐ ไอ-เทล คอร์ปอเรชั่น ร่วมออกบูธในงาน Pet Fair Southeast Asia 2024 นำเสนอนวัตกรรมและเทคโนโลยีการผลิตอาหารสัตว์เลี้ยง
๐๙:๒๗ มิลเลนเนียม ออโต้ กรุ๊ป กระตุ้นความเร้าใจเต็มสูบ กับ BMW 220i Gran Coupe M Sport ฟรีชุดแต่ง M Performance มูลค่าเกือบ 100,000 บาท จัดให้ในราคาพิเศษ 1.99 ล้านบาท เฉพาะที่โชว์รูม BMW Millennium
๐๙:๓๖ CMC ตอกย้ำความสำเร็จส่งท้ายปี ในงานมหกรรมบ้านและคอนโด ครั้งที่ 46 ยอดจอง 145 ยูนิต มูลค่า 320 ล้านบาท
๐๙:๕๑ โพชงพลัส เครื่องดื่มสมุนไพร คว้ารางวัล BUSINESS PRODUCT OF THE YEAR AWARDS 2024
๐๙:๓๒ หุ้นกู้ RT ครั้งที่ 1/67 วันแรกกระแสตอบรับดี นักลงทุนสถาบัน-รายใหญ่ จองซื้อคึกคัก
๐๙:๔๘ อินเด็กซ์ ลิฟวิ่งมอลล์ เปิดปรากฏการณ์ช้อป 'GREEN RETAIL STORE' สาขาสระบุรี แห่งที่ 33 ชู 'Zero Energy Building'
๐๙:๔๑ 8 หน่วยงานเซ็น MOU เพื่อดำเนินการร่วมกันด้านพลังงาน คมนาคม และสภาพภูมิอากาศ ภายใต้โครงการ TGC EMC ของเยอรมนี