แอสเซท พลัส เตรียมนำลูกค้า Private Fund ลงทุนเมืองนอก มองการลงทุนต่างประเทศยังเติบโตอย่างต่อเนื่อง

พฤหัส ๑๕ พฤษภาคม ๒๐๐๘ ๑๕:๕๐
กรุงเทพฯ--15 พ.ค.--บลจ.แอสเซท พลัส
นางลดาวรรณ เจริญรัชต์ภาคย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน แอสเซท พลัส จำกัด เปิดเผยว่า หลังจากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)ได้ออกกฎเกณฑ์อนุญาตให้นักลงทุนสามารถออกไปลงทุนในต่างประเทศได้โดยตรง จากเดิมที่อนุญาตให้นักลงทุนลงทุนได้เฉพาะช่องทางกองทุนรวมเอฟไอเอฟและกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเท่านั้น โดย ธปท.อนุญาตให้นิติบุคคลที่มีทรัพย์สินตั้งแต่ 1,000 ล้านบาท ขึ้นไป สามารถลงทุนได้ในวงเงินไม่เกิน 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และในการลงทุนแต่ละครั้งไม่เกิน 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สำหรับบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลที่มีทรัพย์สินต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท (ยกเว้นคณะบุคคล) จะสามารถลงทุนได้ไม่เกิน 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และลงทุนในแต่ละครั้งไม่เกิน 5 แสนดอลลาร์สหรัฐฯ
“การลงทุนในต่างประเทศผ่านกองทุนส่วนบุคคลถือว่าเป็นช่องทางลงทุนใหม่ที่เปิดโอกาสการลงทุนในต่างประเทศสำหรับนักลงทุนรายย่อยให้สามารถลงทุนในตราสารที่ตอบสนองความต้องการของตนเองได้มากขึ้น
สำหรับแอสเซท พลัส บริษัทฯ ได้ศึกษาและติดตามภาวะตลาดการลงทุนในต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง ร่วมกับผู้จัดการกองทุนชั้นนำในต่างประเทศ รวมถึงการพัฒนารูปแบบการลงทุนที่เหมาะสมกับกลุ่มลูกค้า โดยนำนวัตกรรมการเงินมาช่วยเพิ่มระดับผลตอบแทนที่สูงขึ้นจากการลงทุนในตราสารระดับเดียวกัน (Enhanced return) ซึ่งคาดว่า จะสามารถเริ่มลงทุนได้ประมาณไตรมาส 3 ของปีนี้”
สำหรับภาพรวมการลงทุนในต่างประเทศ นางลดาวรรณ กล่าวว่า จากการพบปะหารือกับผู้จัดการกองทุน หลายแห่งในต่างประเทศ มีความเห็นไปในทิศทางเดียวกันว่า สภาวะการลงทุนในตลาดหุ้นแม้ว่าจะมีความผันผวนจากสัญญาณการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นทั่วโลก แต่ยังคงมองว่าจากการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน การลงทุนในหุ้นภูมิภาคเอเชียยังคงมีความแข็งแกร่ง โดยการปรับตัวลดลงของตลาดหลักทรัพย์หลายแห่งในเอเชียช่วงที่ผ่านมา เป็นเพียงช่วงหนึ่งของการลงทุนเท่านั้น
นอกจากนี้ ภาวะเศรษฐกิจที่เติบโตของกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่จะสามารถสร้างผลตอบแทนจากผลการดำเนินงานที่ดี โดยแนวโน้มลงทุนที่น่าสนใจ ได้แก่ การลงทุนในกลุ่มประเทศจีนและไต้หวันที่จะได้รับผลดีจากความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นของทั้งสองประเทศ ซึ่งจะส่งผลในด้านบวกต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศของไต้หวัน และแนวโน้มการอนุญาตให้ธนาคารของประเทศไต้หวันเข้ามาลงทุนในธนาคารของประเทศจีนได้โดยตรงก็จะส่งผลดีต่อการลงทุนในหุ้นกลุ่มสถาบันการเงินอีกด้วย
นอกจากนี้ การลงทุนในกลุ่มพลังงานทางเลือก (Alternative Energy) จะได้รับผลดีจากความต้องการใช้น้ำมันที่อยู่ในระดับสูงและภาวะการปรับตัวของราคาน้ำมันที่สูงขึ้น กลุ่มเกษตรโภคภัณฑ์ (Agricultural) มีแนวโน้มการเติบโตสูงจากราคาอาหารที่สูงขึ้น และแนวโน้มการเติบโตของระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานที่จะส่งผลดีต่อธุรกิจการสื่อสารโทรคมนาคม อิเล็คทรอนิกส์ วัสดุภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น เหล็ก เป็นต้น
ข้อมูลเพิ่มเติม โปรดติดต่อ :
ส่วนประชาสัมพันธ์ ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ
นิตยา เลิศแสงเพชร โทร. 02-672-1000 ต่อ 3314 อีเมล์: [email protected]
มุกพิม จุลพงศธร โทร. 02-672-1000 ต่อ 3308 อีเมล์: [email protected]
การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ