กรีนพีซพบสารเคมีอันตรายในชิ้นส่วนประกอบเครื่องเล่นเกมส์ 3ค่ายดัง

อังคาร ๒๐ พฤษภาคม ๒๐๐๘ ๑๘:๓๖
กรุงเทพฯ--20 พ.ค.--กรีนพีซ
รายงานวิทยาศาสตร์ล่าสุดของกรีนพีซ “Playing Di- ค่ายดังrty: เครื่องเล่นเกมส์สกปรก(1)” เผยผลวิเคราะห์สารเคมีอันตรายในชิ้นส่วนประกอบของเครื่องเล่นเกมส์ 3 รุ่นของ 3 ผู้ผลิตใหญ่ คือ Wii จากนินเทนโด PlayStation 3 Elite (PS3) จากโซนี และ Xbox 360 จากไมโครซอฟ พบสารเคมีอันตรายหลากหลายชนิด เช่น โพลีไวนิลคลอไรด์ (PVC) พลาฟาเลท (Phthalates) แบรีเลี่ยม (Beryllium) และสารทนไฟประเภทโบรมีน (BFRs) เป็นต้น ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมเมื่อเสื่อมสภาพหรือหมดอายุการใช้งานและถูกทิ้งในที่เปิด เผาทำลาย หรือแม้แต่เมื่อนำไปรีไซเคิล
ผลวิเคราะห์เผยให้เห็นว่าเครื่องเล่นเกมส์ในปัจจุบันยังไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้สารเคมีอันตรายในแต่ละชิ้นส่วนประกอบของเครื่องเล่นเกมส์แต่ละรุ่นมีปริมาณแตกต่างกัน ส่วนประกอบบางชิ้นของ Xbox 360 และ PS3 มีสารประเภทพลาฟาเลท (Phthalates) ในปริมาณที่สูงมาก ซึ่งสารประเภทดังกล่าวเป็นสารเคมีต้องห้ามในของเล่นสำหรับเด็กที่จะอนุญาตให้ขายได้ในยุโรป เนื่องสารประเภทดังกล่าวเช่น DEHP จะมีผลรบกวนต่อฮอร์โมนหรือพัฒนาการทางเพศ โดยเฉพาะในเพศชาย และยังพสาร พลาฟาเลทประเภท DiNP ใน Xbox 360 ซึ่งห้ามโดยเด็ดขาดในของเล่นประเภทที่เด็กสามารถนำเข้าปากได้ (2)
“ถึงแม้ว่าเครื่องเล่นเกมส์จะไม่จัดอยู่ในประเภทของเล่น จึงไม่เข้าข่ายผิดกฏหมายดังกล่าวของยุโรป แต่ผู้ผลิตก็ไม่ควรที่จะปฏิเสธความรับผิดชอบต่อข้อเท็จจริงที่เครื่องเล่นเกมส์เหล่านี้มีส่วนประกอบของสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ ซึ่งในขณะนี้ก็มีเทคโนโลยีเพียงพอที่จะทำให้ผู้ผลิตสามารถออกแบบและผลิตเครื่องเล่นเกมส์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้ไม่ยาก” ดร.เควิน บริกเดนด์ นักวิทยาศาสตร์กรีนพีซสากล กล่าว
รายงานยังระบุอีกว่า เครื่องเล่นเกมส์ทั้ง 3 รุ่นใช้สารทนไฟประเภทโบรมีนในบางชิ้นส่วนประกอบ โดยพบปริมาณสูงสุดในชิ้นส่วนตัวอย่างของ PS3 และ Wii คือร้อยละ 13.8 และร้อยละ 12.5 ของน้ำหนักชิ้นส่วนตัวอย่าง ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม พบว่าผู้ผลิตเองสามารถหลีกเลี่ยงหรือลดปริมาณการใช้สารเคมีอันตรายในบางชิ้นส่วนของเครื่องเล่นเกมส์ได้แล้ว เช่น Wii ไม่ใช้แบรีเลี่ยม อัลลอยด์ (beryllium alloys) ในจุดเชื่อมต่อวงจรไฟฟ้า และใช้ พีวีซี และพลาฟาเลทในปริมาณต่ำ ขณะเดียวกันยังพบแผงวงจรบางชิ้นของ PS3 เป็นชนิดปลอดสารประสารทนไฟประเภทโบรมีน และ Xbox 360 ใช้สารทนไฟประเภทโบรมีนในชิ้นส่วนครอบภายนอก (housing materials) ในปริมาณต่ำกว่ารุ่นอื่น
“ผลวิเคราะห์นี้ทำให้เราทราบว่าผู้ผลิตเหล่านี้ต่างมีศักยภาพเพียงพอที่จะให้เครื่องเล่นเกมส์ของตนเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้ แต่ปัญหาอยู่ที่ว่าผู้ผลิตจะมีจิตสำนึกต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมและนำมาปฏิบัติอย่างจริงจังหรือไม่เท่านั้น” นายพลาย ภิรมย์ ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านสารพิษ กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้กล่าว
ตลาดเครื่องเล่นเกมส์เติบโตอย่างรวดเร็วมาก ปีที่แล้วมียอดขายถึง 60 ล้านเครื่องซึ่งเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 14 จากปีก่อน (3) การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วจะทำให้เครื่องเล่นเกมส์อาจกลายเป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างรวดเร็วและมีอัตราการเพิ่มที่สูง ซึ่งน่ากังวลที่ปัจจุบันขยะอิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลกส่วนใหญ่ถูกนำมาทิ้งหรือรีไซเคิลยังประเทศกำลังพัฒนาและได้รับการจัดการอย่างไม่ถูกต้อง ทำให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม
หมายเหตุ
(1). รายงาน Playing Dirty: เครื่องเล่นเกมส์สกปรก http://www.greenpeace.org/seasia/th/press/reports/playing-dirty Animation การวิเคราะห์สารเคมีอันตรายในเครื่องเล่นเกมส์ และ วีดิโอการทดสอบเครื่องเล่นเกมส์ดูได้ที่ http://www.greenpeace.org/seasia/th/news/gameconsoles080520 “ศึกบริษัทเกมส์” ที่มีรายละเอียดและคำถาม-คำตอบทั้งหมด ดูได้ที่ www.greenpeace.org/consoles/
(2). DIRECTIVE 2005/84/EC of the European Parliament and of the Council สามารถดูรายละเอียดได้ที่: http://eurlex.europa.eu/LexUriServ/LexUriServ.do?uri=OJ:L:2005:344:0040:0043:EN:PDF
(3). อ้างอิงจากรายงาน Datamonitor, 2007. Summary. "Games Consoles: Global Industry Guide" Report. Publisher Datamonitor. August 2007. สามารถดูรายละเอียดที่ http://www.reportbuyer.com/leisure_media/computer_games/games_consoles_global_industry_guide.html
(4). ข้อมูลเพิ่มเติม http://www.greenpeace.org/international/clashoftheconsoles/
ผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมของสารเคมีอันตรายในผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์
- โพลีไวนิลคลอไรด์ (PVC): เป็นต้นกำเนิดของสารพิษที่ไม่ย่อยสลายและสะสมในสิ่งแวดล้อมเมื่อรีไซเคิลหรือนำไปกำจัดทำลายโดยการเผา จะทำให้เกิดสารไดอ๊อกซินคลอไรด์และสารฟิวแรนซึ่งตกค้างและสะสมอยู่ในสิ่งแวดล้อมยาวนาน และโดยมากมีความเป็นพิษสูงแม้ในความเข้มข้นที่ต่ำมากก็ตาม นอกจากนี้ ในกระบวนการผลิตพลาสติก พีวีซี มักจะมีการใช้หรือเติมสารเคมีอันตรายชนิดอื่น ๆ เช่น พลาฟาเลท พลาสติไซเซอร์ (Phthalates plasticizer) ซึ่งจะก่อให้เกิดมลพิษตั้งแต่กระบวนการผลิต
- พลาฟาเลท (Phthalates): เป็นสารรบกวนฮอร์โมน ซึ่งบางชนิดจะมีผลต่อพัฒนาการทางเพศของสิ่งมีชีวิต (รวมถึงมนุษย์) โดยเฉพาะในเพศชาย (ตามระเบียบสหพันธ์ยุโรป 2005/84/EC ผลิตภัณฑ์ของเล่นหรือผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กที่ขายในสหพันธ์ยุโรปจะต้องไม่มีส่วนประกอบของสารเคมีดังกล่าวมากกว่า 0.1% ของน้ำหนัก)
- โบรมีน (Bromine): เป็นต้นกำเนิดของสารพิษที่ไม่ย่อยสลายและสะสมในสิ่งแวดล้อมเมื่อรีไซเคิลหรือนำไปกำจัดทำลายโดยการเผา การสัมผัสกับสารชนิดนี้เป็นเวลานานทำให้ความสามารถในการเรียนรู้และความทรงจำสูญเสียไป ทั้งยังมีผลกระทบต่อระบบฮอร์โมนของต่อมไทรอยด์และเอสโตรเจน และหากมีการสัมผัสกับตัวอ่อนในมดลูกอาจทำให้เกิดปัญหาด้านพฤติกรรม
- แบรีเลี่ยม (Beryllium): ฝุ่น ควัน หรือละออง ที่เกิดจากการรีไซเคิลหรือการเผา การสูดดมในระยะยาวจะส่งผลต่อปอดหรือการหายใจอย่างรุนแรง
ข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ
พลาย ภิรมย์ ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านสารพิษ โทร. 0 2357 1921 ต่อ 135, 08 1658 9432
วิริยา กิ่งวัชระพงศ์ ผู้ประสานงานสื่อมวลชน โทร. 0 2357 1921 ต่อ115, 08 9487 0678

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ