กรุงเทพฯ--21 พ.ค.--สมาคมผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน
วิธีปฏิบัติ กรณีเกิดแผ่นดินไหว หากอยู่ในอาคารสูง
1. อย่าตกใจ พยายามตั้งสติ อุปกรณ์ที่ควรนำติดตัวไปด้วย ได้แก่ ไฟฉาย โทรศัพท์มือถือ ยา แก้หอบ ฯ (ไม่จำเป็นต้องหยิบสมบัติอื่น ๆ ที่ไม่จำเป็นติดตัว ) และ ในโอกาสที่หยุดไหวให้ชวนคู่หู(เพื่อนข้างๆ) รีบเดินเร็วอพยพออกจากอาคารไปตามเส้นทางหนีภัยที่ปลอดภัย (ห้ามวิ่ง เพราะอาจหกล้มได้) การอพยพไปกับคู่หูจะได้ช่วยเหลือกันได้ระหว่างการอพยพ และให้อยู่ห่างจากสิ่งที่อาจจะล้มทับ หรือ ร่วงหล่นมาสร้างอันตรายได้ เช่น ตู้ ชั้น เอกสาร โคมไฟแขวน กรอบรูปแขวน ฯลฯ และ อยู่ห่างกระจกหน้าต่าง
2. ขณะเกิดแผ่นดินไหว ห้ามอพยพโดยใช้ลิฟต์โดยเด็ดขาด หากอยู่ในลิฟต์ให้ออกจากลิฟต์ ให้อพยพออกจากอาคารทางบันไดหนีภัย โดยการเดินเร็ว (ห้ามวิ่ง เพราะอาจหกล้มได้) ขณะเดินลงบันไดหนีภัย ให้ใช้มือจับราวบันไดเพื่อช่วยประคองตัวและป้องกันการสะดุด หกล้มได้ หากจะยืนพักเหนื่อย ให้ยืนในชานพัก ในตำแหน่งที่ไม่กีดขวางเส้นทางอพยพ ของผู้อื่น
3. สำหรับผู้ด้อยสมรรถนะในการอพยพ เช่น คนชรา สตรีมีครรภ์ ผู้ป่วย ผู้บาดเจ็บ ที่อาจ ไม่สามารถอพยพลงบันไดได้อย่างปลอดภัย ให้หาพื้นที่หลบภัยภายในอาคารจนกว่า แผ่นดินไหวจะสงบลง โดยหลบใต้โต๊ะที่แข็งแรง ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณหลบภัยที่เตรียมไว้ เช่น บริเวณใต้คานที่แข็งแรง (เพราะหากคานหักกลาง น่าจะเกิดบริเวณสามเหลี่ยม ปลอดภัย) และให้อยู่ห่างจากสิ่งที่อาจจะล้มทับ หรือ ร่วงหล่นมาสร้างอันตรายได้ เช่น ตู้
ชั้นเอกสาร โคมไฟแขวน กรอบรูปแขวน ฯลฯ และ อยู่ห่างกระจกหน้าต่าง
4. ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้สั่งการควบคุมการอพยพ หากพบผู้บาดเจ็บระหว่างทาง อพยพที่ไม่สามารถช่วยเหลือได้อย่างปลอดภัย ให้จดจำตำแหน่งไปรายงาน ณ จุดรวมพล
5. เมื่อออกสู่ภายนอกอาคาร ให้ไปอยู่ ณ จุดรวมพล หรือ ในบริเวณพื้นที่โล่งแจ้งที่ปลอดภัยให้หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้อาคารสูง กำแพง เสาไฟ สายไฟ ต้นไม้ ป้ายโฆษณา วัตถุหรือ โครงสร้าง ที่อาจล้มมาสร้างอันตรายได้
6. ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้สั่งการ ณ จุดรวมพล เช่น การรายงานตัว และ ให้รายงานสิ่งผิดปกติที่พบระหว่างการ อพยพ เช่น คู่หูที่อพยพมาด้วยกันหายไป พบผู้บาดเจ็บ ณ จุดใด และ ให้รอรับคำสั่งเพื่อช่วยปฏิบัติหน้าที่ เช่น หน้าที่ ประสานงาน หน้าที่ปฐมพยาบาล หน้าที่ช่วยผู้บาดเจ็บ ฯลฯ
7. หากติดอยู่ในซากอาคารถล่ม ให้ใช้โทรศัพท์มือถือ(ถ้ามี) แจ้งตำแหน่งให้เพื่อนหรือญาติทราบ และถนอมแบตเตอรี่ของ โทรศัพท์มือถือไว้ใช้เมื่อจำเป็น ไม่ควรออกน้ำเสียงตะโกนขอความช่วยเหลือพร่ำเพรื่อ ควรหยิบวัตถุใกล้ตัวเช่นเศษ หิน มาเคาะกับวัตถุที่ส่งเสียงได้ไกล เช่น ท่อหรือผนังที่เชื่อมต่อกับภายนอก โดยเคาะเป็นจังหวะ และให้ถนอมน้ำเสียง ไว้ใช้เมื่อได้ยินเสียงผู้มาช่วยเหลืออยู่ใกล้ ๆ และควรรองเก็บน้ำปัสสาวะไว้ดื่มหากจำเป็น
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ บริษัท ไดเร็คชั่น แพลน จำกัด (DP) แผนกที่ปรึกษาความปลอดภัย (DP-SS)
539/2 อาคารมหานครยิบซั่ม (ชั้น 22) ถ. ศรีอยุธยา แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
Tel. 02-247 2339-40 , 02-642 5241-43 ต่อ 103 — 104, FAX. 02-247 2363
www.DIRECTIONPLAN.org Email :
สมาคมผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน (PREclub)
Person Responsible for Energy Club Association
“องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร ที่เป็นแหล่งชุมนุมวิชาการของผู้สนใจด้านพลังงาน ของประเทศไทย”
539/2 Gypsum Metropolitan Tower (22nd FL.;Tower A),
Thanon Si Ayutthaya, Ratchathewi, Bangkok, 10400 Thailand
www.PREclub.org