ทีดีอาร์ไอ รับ 8 ปี เอสเอ็มอีไทย ผู้ประกอบการอ่วม!! เงื่อนไขเพียบ เสนอปรับเปลี่ยนเงื่อนไขในช่วงธุรกิจตกต่ำ

พุธ ๒๑ พฤษภาคม ๒๐๐๘ ๑๖:๔๖
กรุงเทพฯ--21 พ.ค.--ทีดีอาร์ไอ
น.ส.เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ ผู้อำนวยการวิจัย (ด้านการบริหารจัดการระบบเศรษฐกิจ) สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ให้สัมภาษณ์ถึงผลการวิจัยถึงนโยบายเอสเอ็มอีต่อผู้ประกอบการในรอบ 8 ปีว่า ภาพรวมในการส่งเสริมการลงทุนของภาครัฐที่ได้ครอบคลุมถึงกิจการของผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม ( เอสเอ็มอี.) พบว่า ขณะนี้ผู้ประกอบการจำนวนมากยังไม่ทราบว่ารัฐมีมาตรการสิทธิประโยชน์ด้านภาษีให้กับผู้ประกอบการ เพราะหลักคิดของมาตรการสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ให้กับเอสเอ็มอีถือว่ามีประโยชน์มาก ถ้าหากผู้ประกอบการเข้ามาใช้สิทธิได้จริง ๆก็จะสามารถส่งเสริมเอสเอ็มอีได้ดีขึ้นโดยเฉพาะ สิทธิประโยชน์ที่รัฐส่งเสริมให้กับเอสเอ็มอี เช่น มาตรการจากสรรพากร ศุลกากร และ บีโอไอ
อย่างไรก็ตามสิทธิประโยชน์ ที่เอสเอ็มอีได้รับผลมากที่สุด คือมาตรการสรรพากร ที่มีผู้เข้ามารับสิทธิถึงร้อยละ 98 เนื่องจากมีการประชาสัมพันธ์ที่ดี เข้าถึงง่ายและชัดเจน เช่น เงื่อนไขที่ว่าหากเอสเอ็มอีใดมีรายได้ต่ำกว่ากำไร 1 ล้านบาทต่อปี สามารถชำระภาษีเงินได้เพียง 15-20% หรือถ้ากำไรต่ำกว่า 3 ล้านบาท ก็ชำระภาษี 25% ซึ่งผู้ประกอบการเอสเอ็มอีก็รับทราบ
สำหรับมาตรการใหม่ ในการหักค่าเสื่อมสำหรับเอสเอ็มอี ที่มีทุนจดทะเบียนน้อยกว่า 200 ล้านบาท ซึ่งเป็นค่าเสื่อมสำหรับ คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ อาคาร โรงงานเท่านั้น ตรงนี้รัฐกลับไม่มีข้อมูลว่า มีเอสเอ็มอีที่เข้าสิทธิประโยชน์นี้จริงเท่าใด เพราะมาตรการหักค่าเสื่อมให้สิทธิพิเศษไม่ได้แยกถึงเครื่องจักรกล ขณะนี้จึงไม่สามารถประเมินได้ว่ามาตราการที่ออกมาช่วยได้จริงหรือไม่ ซึ่งขณะนี้กรมสรรพากรได้ตั้งคณะทำงานขึ้นมาเพื่อดูข้อมูลแล้ว
“ปัญหาตรงนี้ เพราะว่า เวลายื่นเสียภาษีอากรตาม พรฎ.ปี 2550 มีคอลัมภ์ว่าให้หักค่าเสื่อม แต่ไม่ได้แยกว่าเป็นค่าเสื่อมของ คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ อาคาร โรงงาน แต่กลับรวมเป็นกลุ่มเดียวกัน จึงไม่สามารถทราบว่าเอส เอ็มอีที่ยื่นใช้สิทธิหักค่าเสื่อมตามรายการหรือไม่ แม้สรรพากรจะมีข้อมูลแต่ไม่สมบูรณ์มากนัก”
ผอ.ทีดีอาร์ไอ กล่าวอีกว่า อุปสรรคในมาตรการส่งเสริมการร่วมทุนในลักษณะ “เวนเจอร์แคปปิตอล”เพื่อเข้ามาร่วมกับเอสเอ็มอีขนาดเล็ก จากมาตรการยกเว้นภาษีนิติบุคคลให้กับบุคคลที่เข้ามาร่วมลงทุน แต่กลับมีเงื่อนไขว่าบุคคลประเภทใดที่จะเข้ามาลงทุนลักษณะนี้ได้ ซึ่งตรงนี้สรรพากรระบุว่า คนที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ต้องเป็นบริษัทหลักทรัพย์ มีเงินทุนจดทะเบียนไม่ต่ำกว่า 200 ล้านบาท และปีแรกต้องลงทุนในเวนเจอร์แคปปิตอลโดยนำเงิน 20% ของทุนจดทะเบียนมาลงทุนและเพิ่มขึ้นทุกปี 40% 60% และ 80% ตามลำดับ รวมทั้ง ต้องไปจดทะเบียนกับคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ต.ล.)
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้มีผู้มาจดทะเบียนในลักษณะเวนเจอร์แคปปิตอล เพียง 2 รายเท่านั้นและยังติดสิทธิประโยชน์ในการที่จะต้องลงทุนในปีแรก 20% ของเงินทุนจดทะเบียน เช่น หากจดทะเบียน 200 ล้านบาท ก็ต้องลงทุนอย่างน้อยถึง 40 ล้านบาท ดังนั้นทีดีอาร์ไอจึงมีข้อเสนอว่าการลงทุนในปีแรก 20% นั้น ควรจะลดจำนวนเปอร์เซ็นต์ลงในปีแรก เพื่อเปิดโอกาสให้บริษัทขนาดเล็กมาลงทุน และไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นบริษัทหลักทรัพย์เท่านั้น
ผอ.ทีดีอาร์ไอ กล่าวต่อว่า อุปสรรคในมาตรการการคืนภาษีทางศุลกากรให้กับเอสเอ็มอี เป็นหนึ่งที่พบซึ่งแตกต่างจากบริษัทขนาดใหญ่ที่นำใบเสร็จนำเข้ามาขอคืนภาษีหลังจากส่งออก แต่เอสเอ็มอีนั้นจะได้เมื่อดำเนินการในลักษณะเหมาจ่ายหรือนำสูตรการผลิตมาทำเรื่องการขอคืนภาษี โดยเป็นการคืนภาษีตามสัดส่วนการผลิตแต่ปัญหากลับเกิดขึ้นตรงสูตรการผลิตที่มีการปรับเปลี่ยนตลอดเวลาที่ขออนุมัติจากกรมศุลกากร หากมีการเปลี่ยนสูตรก็ต้องมาปรับการคืนภาษีใหม่ ตรงนี้ทำให้การอนุมัติคืนภาษีมีความล่าช้า ซึ่งแตกต่างกลับตลาดที่ต้องการสินค้าอย่างรวดเร็ว
ดังนั้น ควรจะปรับวิธีโดยให้ผู้ผลิตส่งออกสินค้า รับรองตัวเองไปก่อน โดยศุลกากรสามารถที่จะเข้ามาตรวจสอบภายหลังได้ หรือขั้นตอนรัฐในด้านความเชี่ยวชาญก็เปิดให้ภาคเอกชนเข้ามาช่วยดำเนินการ เป็นต้น
ผอ.ทีดีอาร์ไอ กล่าวด้วยว่า สิทธิประโยชน์ของเอสเอ็มอีของสำนักงานส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ.) นั้น จากผลสำรวจพบว่าปัจจุบันมีผู้เข้ามารับสิทธิประโยชน์เพียง 1,000 รายเท่านั้น จากตัวเลขเอสเอ็มอีทั่วประเทศกว่า 3 แสนราย หรือ 3.02% ที่เข้ามารับ สิทธิประโยชน์ โดยผู้ที่มารับสิทธิประโยชน์สามารถผ่านหลักเกณฑ์จากบีโอไอถึง 90% แต่ปัญหาเกิดจากผู้ประกอบการเอสเอ็มอีจำนวนมากไม่ได้เข้ามาขอรับสิทธิการลงทุน เนื่องจากเห็นว่าอาจจะมีคุณสมบติไม่ครบถ้วน
ทั้งนี้ ธุรกิจเอสเอ็มอีที่ไม่เข้ากับหลักเกณฑ์เงื่อนไข 7 หมวดที่บีโอไอส่งเสริม เช่นรถยนต์ อิเล็คทรอนิกส์ แต่เมื่อมีการเพิ่มหมวดผลผลิตทางการเกษตร ทำให้มีผู้ประกอบการเอสเอ็มอีได้รับการส่งเสริมจากบีโอไอเพิ่มขึ้นจาก 700 ราย (อุตสาหกรรมหนัก) เป็น 1,000 ราย ขณะที่การส่งเสริมบีโอไอให้กับธุรกิจขนาดเล็กก็เพิ่มขึ้น แม้จะพบว่า ทุนจดทะเบียนเอสเอ็มอีจะลดลงจาก 1 ล้านบาทเป็น 5 แสนบาทแล้ว แต่มีผู้มายื่นจดทะเบียนเอสเอ็มอีกับบีโอไอ ซึ่งมีเงื่อนไขที่จะต้องเป็นสินค้าโอทอป เพียงปีละ 20 รายเท่านั้น

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version