มหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ย้ำสัมพันธ์แน่นด้านวิจัย การสอน และชุมชนกับไทย

พุธ ๒๘ พฤษภาคม ๒๐๐๘ ๑๓:๔๗
กรุงเทพฯ--28 พ.ค.--ธนบุรินทร์ เอเชีย แปซิฟิค
ระหว่างวันที่ 27 — 28 พฤษภาคม ศกนี้ ศาสตราจารย์ แฟรงค์ ลาร์กิ้นส์ รองอธิการบดีฝ่ายต่างประเทศ พร้อมคณะจากมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น เดินทางมาประเทศไทยเพื่อพบหน่วยงานภาครัฐ องค์กรธุรกิจ และตัวแทนด้านการศึกษา ตลอดจนถึงศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเมลเบิร์นในประเทศไทย
สำหรับคณะของมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ อาทิ ศาสตราจารย์บิล ฮาร์เลย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการทรัพยากรบุคคล ศาสตราจารย์ แอนดรู อุย ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมการออกแบบเครื่องบิน เรือดำน้ำ ในยามฉุกเฉิน และศาสตราจารย์ เอีย แลง (Ian Lang) เจ้าของรางวัลผลงานผลิตภาพยนตร์สารคดี ศาสตราจารย์ ไลแอน แลง (Ian Lang) จากวิทยาลัยวิกทอเรีย
ศาสตราจารย์ ลาร์กิ้นส์ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยเมลเบิร์นมีสายสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นและยาวนานกับประเทศไทย โดยเริ่มพัฒนามากว่า 50 ปีแล้ว เริ่มตั้งแต่เมื่อครั้งที่นักศึกษาชาวไทยซึ่งได้รับทุนภายใต้โครงการโคลอมโบ (Colombo Plan) ไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย
ในบรรดาศิษย์เก่าชาวไทยที่มีชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ได้แก่ ดร.มีชัย วีระไวทยะ ประธานและผู้ก่อตั้ง สมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน ซึ่งในช่วงหลายปีที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยเมลเบิร์นได้ให้การสนับสนุนแก่สมาคมฯ หลาย ๆ ด้าน เช่น สนับสนุนและส่งเสริมให้เด็กหญิงในเขตจังหวัดภาคเหนือของประเทศไทยได้มีโอกาสศึกษาจนจบการศึกษา และนักศึกษาสาขาภูมิศาสตร์สถิติของมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ได้ใช้ทักษะความรู้ด้านการบริหารที่ดินในการออกแบบพืชเพาะปลูกสำหรับหมู่บ้านใหม่ ๆ เป็นต้น
ศาสตราจารย์ ลาร์กิ้นส์ กล่าวเพิ่มเติมว่า “มหาวิทยาลัยเมลเบิร์น มีความสัมพันธ์อย่างแน่นแฟ้นกับสถาบันการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยของไทยจำนวน 4 แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร
นอกจากนั้น เมื่อต้นปีนี้ นักศึกษาที่กำลังศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์ และการพาณิชย์ของมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ได้มีโอกาสเข้ามาฝึกงานที่ บริษัท ทัชวู๊ด เอเชีย จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทการลงทุนที่เกี่ยวกับป่า และบริษัท เอ็ม เอส ไอ จี ประกันภัย ที่เป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรมการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ทั่วโลกในประเทศไทย (Global Mobility Program in Thailand)
มหาวิทยาลัยเมลเบิร์นมีสำนักงานตั้งอยู่ในประเทศไทยมาหลายปี โดยทำหน้าที่ประสานงานกับ ศิษย์เก่า ครอบครัวนักศึกษาปัจจุบัน ตลอดจนติดต่อด้านโครงการความร่วมเชิงกลยุทธ์เกี่ยวกับงาน ด้านวิจัยและการศึกษากับสถาบันการศึกษาต่าง ๆ
ทั้งนี้ในวันพุธที่ 28 พฤษภาคม ศกนี้ มหาวิทยาลัยเมลเบิร์น จะมีการจัดกิจกรรมสำคัญ 2 อย่างที่ โรงแรม เชอราตัน แกรนด์ สุขุมวิท ได้แก่
เวลา 12.00 — 14.00 น. ศาสตราจารย์ แฟรงค์ ลาร์กิ้นส์ จะบรรยายพิเศษในหัวข้อ “สร้างโลกให้ดีขึ้นด้วยการศึกษาและการวิจัย — สัมพันธภาพระหว่างประเทศไทยและมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น” ระหว่างงานรับประทานอาหารกลางวัน ณ โรงแรม เชอราตัน แกรนด์ สุขุมวิท
เวลา 15.00 น. นางสาวบรอนที่ มูลส์ อัครราชทูตออสเตรเลียประจำประเทศไทย จะเป็นประธานเปิดงานนิทรรศการและสัมมนาสำหรับ นักเรียน นักศึกษา ผู้ปกครอง ของมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น โดยงานจะมีไปจนถึงเวลา 19.00 น.
สื่อมวลชนต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมโปรดติดต่อ:
บริษัท ธนบุรินทร์ เอเชีย แปซิฟิค จำกัด
เกษมศรี แก้วธรรมชัย ยูเฟมิโย (08 1 611 4696)
โทรศัพท์ 02 231 6158-9
อีเมล์ [email protected]

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ