เขื่อนแควน้อยพร้อมรับน้ำ สร้างอาชีพ พัฒนาสู่ความยั่งยืน

ศุกร์ ๓๐ พฤษภาคม ๒๐๐๘ ๑๐:๔๖
กรุงเทพฯ--30 พ.ค.--โอเค แมส
นายปกรณ์ สัตยวณิช รองเลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ( สำนักงาน กปร.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม ที่ผ่านมา นายพลากร สุวรรณรัฐ นายสวัสดิ์ วัฒนายากร องคมนตรี ผู้บริหารสำนักงาน กปร. และเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมความก้าวหน้าในการดำเนินงานโครงการเขื่อนแควน้อยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดพิษณุโลก ณ สำนักชลประทานที่ 3 เพื่อติดตามการดำเนินงานสนองพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการป้องกันแก้ไขปัญหาและบรรเทาอุทกภัยในช่วงฤดูฝนและบรรเทาความเดือดร้อนในเรื่องน้ำ เพื่อการเกษตรในช่วงฤดูแล้ง โครงการเขื่อนแควน้อยฯ เป็นโครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำอเนกประสงค์ขนาดใหญ่ ตัวเขื่อนมี 3 เขื่อนติดต่อกัน สามารถเก็บกักน้ำได้ 939 ล้านลูกบาศก์เมตร ประกอบด้วย เขื่อนแควน้อย เป็นเขื่อนหินทิ้งดาดหน้าคอนกรีต สูง 75 เมตร ยาว 681 เมตร เขื่อนสันตะเคียน เป็นเขื่อนหินทิ้งแกนดินเหนียว สูง 80 เมตร ยาว 1,270 เมตร เขื่อนปิดช่องเขาขาด เป็นเขื่อนดิน สูง 16 เมตร ยาว 640 เมตร เขื่อนทดน้ำพญาแมนลักษณะเป็นเขื่อนทดน้ำแบบประตูระบายบานโค้ง ระบายน้ำสูงสุด 1,718 ลูกบาศก์เมตร และคลองส่งน้ำฝั่ซ้ายและฝั่งขวา ส่งน้ำด้วยแรงโน้มถ่วง จำนวน 70 สาย ความยาว รวมประมาณ 340 กิโลเมตร พร้อมคลองระบายน้ำ จำนวน 47 สาย ยาวรวมประมาณ 160 กิโลเมตร การก่อสร้างโครงการเขื่อนแควน้อย ฯ มีความก้าวหน้างานก่อสร้าง ทั้งโครงการร้อยละ 72.50 แยกเป็นความก้าวหน้าแต่ละกิจกรรม อาทิ งานก่อสร้างเขื่อนแควน้อยและเขื่อนสันตะเคียน ผลงาน 83.45 % คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนสิงหาคม 2551 งานก่อสร้างฝายทดน้ำพญาแมนและอาคารประกอบพร้อมระบบส่งน้ำฝั่งขวา ผลงานร้อยละ 20.09 และงานคลองระบายน้าและอาคารประกอบ (ระบบระบายน้ำฝั่งซ้าย) ปัจจุบันอยู่ระหว่างการดำเนินการ ส่วนงานที่ได้ดำเนินการแล้วเสร็จ คือ การก่อสร้างเขื่อนปิดช่องเขาต่ำ ปัจจุบันตัวเขื่อนสามารถกักเก็บน้ำได้บางส่วน จึงทำให้ช่วยชะลอปริมาณน้ำส่วนหนึ่งที่ไหลไปรวมกับแม่น้ำน่านได้ ดังนั้น แม้จะเกิดภาวะวิกฤตจากพายุในช่วงฤดูฝน ปี 2550 ทำให้เกิดน้ำท่วมในหลายพื้นที่ของจังหวัดพิษณุโลก วางแผนการดำเนินงานด้านการพัฒนาและส่งเสริมอาชีพให้กับอาชีพราษฏรที่อยู่ในพื้นที่โครงการ ตลอดจนพื้นที่รับประโยชน์จากโครงการ เพื่อให้การใช้น้ำจากเขื่อนแควน้อยฯ ในอนาคตเกิดประโยชน์สูงสุด ภายหลังจากทั้งการดำเนินงานก่อสร้างแล้วเสร็จ จะสามารถส่งน้ำสนับสนุนพื้นที่ของราษฏรได้ ดังนั้น จังหวัดพิษณุโลก จึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพในพื้นที่เขื่อนแควน้อยฯ ขึ้น ซึ่งได้มีการหารือร่วมกัน พร้อมทั้งกำหนดยุทธศาสตร์การส่งเสริมและพัฒนาอาชีพฯ จำนวน 6 ยุทธ์ศาสตร์หลัก ประกอบด้วย 1. ยุทธศาสตร์การพัฒนาอาชีพและผลผลิตทางการเกษตร 2. ยุทธศาสตร์การพัฒนาอาชีพและผลผลิตทางการประมงอย่างยั่งยืน 3. ยุทธศาสตร์การพัฒนาอาชีพการปศุสัตว์ 4. ยุทธศาสตร์การพัฒนาอาชีพและผลิตภัณฑ์ชุมชน 5. ยุทธศาสตร์การพัฒนาอาชีพและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 6. ยุทธศาสตร์ด้านการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยว โดยในแต่ละยุทธศาสตร์ได้มีการแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อรับผิดชอบแผนยุทธศาสตร์ในแต่ละยุทธศาสตร์ แบ่งเป็นแผนปฎิบัติการเร่งด่วน ปีงบประมาณ 2551 พื้นที่เป้าหมายจำนวน 2 อำเภอ 11 หมู่บ้าน ได้แก่ พื้นที่บริเวณรอบเขื่อนที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างแต่ไม่สามารถนำน้ำจากเขื่อนมาใช้ประโยชน์ได้ และแผนยุทธศาสตร์ 4 ปี (2551-2554) ครอบคลุมพื้นที่หมู่บ้านบริเวณรอบอ่างเก็บน้ำที่ดำเนินการไปแล้วปี 2551 และพื้นที่หมู่บ้านบริเวณอ่างเก็บน้ำของอำเภอวัดโบสถ์ และอำเภอวังทองที่เหลือพื้นที่ระหว่างเขื่อนแควน้อย ถึงเขื่อนทดน้ำพญาแมน และพื้นที่รัประโยชน์จากเขื่อนพญาแมน ประมาณ 155,000 ไร่ ในอำเภอพรหมพิราม อำเภอวัดโบสถ์ อำเภอเมือง และอำเภอวังทอง รวมทั้งสำนักงานเกษตร จังหวัดพิษณุโลก ยังได้จัดทำโครงการสายใยรักแห่งครอบครัว ในพระราชูปถัมถ์ สมเด็จพระบรมโอสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร ในพื้นที่บ้านเกษตรสมบูรณ์ จำนวน 55 ครัวเรือน จาก 11 หมู่บ้าน ในการนี้ นายพลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรี ได้ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการวางแผนพัฒนาการท่องเที่ยว โดยให้มีการเตรียมความพร้อมในด้านมาตรการจัดระเบียบสิ่งก่อสร้างและร้านค้า ที่จะนำสินค้าเข้ามาขาย โดยให้นำเอาประสบการณ์จากพื้นที่อื่นๆมาเป็นแบบอย่าง และขอให้ประสานความร่วมมือกับทางจังหวัดพิษณุโลกต่อไป ส่วนนายสวัสดิ์ วัฒนายากร องคมนตรี ได้เพิ่มเติมในส่วนของงานชลประทาน โดยให้มีการวางแผนรองรับกับสภาพแวดล้อม สภาวะอากาศที่อาจมีการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน และควรมีแผนป้องกันการบุกรุกพื้นที่เหนือเขื่อน ซึ่งอาจจะมีผลกระทบต่อคุณภาพของน้ำในอนาคต “อย่างไรก็ดี หากโครงการฯ สามารถดำเนินการได้ตามยุทธศาสตร์ที่ได้วางไว้จะทำให้ราษฏรในพื้นที่ได้รับประโยชน์จากเขื่อนแควน้อยฯ และได้รับการพัฒนาอาชีพ สามารถยกระดับรายได้ให้พออยู่พอกิน และสามารถพึ่งตนเองได้ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงต่อไป” รองเลขาธิการ กปร. กล่าวในตอนท้าย
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : ที่ปรึกษาด้านการประชาสัมพันธ์ บริษัท โอเค แมส จำกัด คุณภัทรานิษฐ์ ตันศรีกุลรัตน์ (เอ) โทร.0-2618-7780-4 ต่อ 102 / (081) 700-5224 คุณนภสร จู่พิชญ์ (น้ำ) โทร.0-2618-7780-4 ต่อ 108 / (084) 525-4574 คุณธนพร สุขมี (แหม่ม) โทร. 02-618-7782-4 ต่อ103 / 086-707-4263

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ