สถาบันอาหาร จับมือ ม.เกษตรศาสตร์ จัดโครงการ Pre-HACCP ลุยติวเข้มSME สู่ระบบผลิตอาหารปลอดภัย HACCPตามมาตรฐานสากล

พุธ ๐๔ มิถุนายน ๒๐๐๘ ๑๑:๑๗
กรุงเทพฯ--4 มิ.ย.--คอมมูนิเคชั่น แอนด์ มอร์
ผู้อำนวยการสถาบันอาหารชี้ กระแสอาหารปลอดภัยมาแรง คนไทยมีความหวาดระแวงและตื่นตัวเรื่องผลกระทบต่อสุขภาพจากอาหารไม่ปลอดภัยกันมากขึ้น พร้อมแนะผู้ประกอบการอาหารเร่งปรับตัว และพัฒนาศักยภาพกระบวนการผลิตเข้าสู่ระบบมาตรฐานความปลอดภัย HACCP เพิ่มความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค ขณะที่สถาบันอาหาร จับมือ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นำร่องโครงการ Pre-HACCP ติวเข้มผู้ประกอบการอาหาร SME เตรียมความพร้อมสู่ระบบมาตรฐานความปลอดภัย HACCP เผยตัวเลขผู้ประกอบอาหารระดับ SME ของไทยกว่า 9,000 โรงงาน ยังไม่มีระบบประกันคุณภาพความปลอดภัย HACCP
ดร.ยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร เปิดเผยว่า ในระยะหลังมีกระแสข่าวเกี่ยวกับความไม่ปลอดภัยของอาหารและผลกระทบต่อสุขภาพบ่อยมากขึ้น ทำให้ปัจจุบันคนไทยมีการตื่นตัวเรื่องอาหารปลอดภัย (Food Safety) กันมากขึ้น โดยพบว่าปัญหาความไม่ปลอดภัยของอาหารส่วนใหญ่มักจะเกิดจากกระบวนการผลิตอาหารของผู้ประกอบการ โดยเฉพาะปัญหาเรื่องสารเคมีและสิ่งแปลกปลอมปนเปื้อนในอาหารเกินมาตรฐานทั้งแบบเจตนาและไม่เจตนา ซึ่งที่พบบ่อย ได้แก่ สารกันบูด เคมีสังเคราะห์ จุลินทรีย์ เป็นต้น
อาหารไม่ปลอดภัยเป็นผลสรุปสุดท้ายของกระบวนการผลิต ดังนั้น หากผู้ประกอบการอาหารของไทย ไม่สามารถสร้างความมั่นใจในความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ ก็อาจจะมีผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจโดยรวม โดยเฉพาะผู้ประกอบการอาหารระดับขนาดกลางและขนาดย่อม(SME) ที่ยังไม่มีระบบมาตรฐานความปลอดภัยที่ดีพอ เพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค ผู้ประกอบการอาหารของไทยจะต้องเร่งปรับตัว และพัฒนาศักยภาพเกี่ยวกับกระบวนการผลิตเข้าสู่กรอบการประกันความปลอดภัยอาหารภายใต้ระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุมในการผลิตอาหาร (HACCP หรือ Hazard Analysis and Critical Control Point System) ซึ่งเป็นระบบประกันความปลอดภัยของอาหารที่มีประสิทธิภาพเหมาะสมที่สุดตามมาตรฐานสากลสำหรับการผลิตอาหารของไทยในขณะนี้ เนื่องจาก HACCP มีระบบการจัดการ เพื่อความปลอดภัยของอาหาร โดยใช้การควบคุมจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม (CCP) ของการผลิต โดยระบบดังกล่าวผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารสามารถนำไปปฏิบัติได้โดยตลอดห่วงโซ่อาหารตั้งแต่ผู้ผลิตเบื้องต้น จนถึงผู้บริโภคขั้นสุดท้าย
ดร.ยุทธศักดิ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัญหาอาหารไม่ปลอดภัยนับเป็นปัญหาและความรับผิดชอบของทุกคนไม่ว่าจะเป็นผู้ผลิต รัฐ และประชาชน ที่จะต้องช่วยกัน ที่สำคัญปัจจุบันในประเทศไทยมีโรงงานผลิตอาหารที่ผ่านการตรวจประเมินและได้รับการรับรองระบบมาตรฐานความปลอดภัยHACCP น้อยกว่า 700 โรงงาน ส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการรายใหญ่เพื่อการส่งออก ในขณะที่โรงงานอุตสาหกรรมอาหารส่วนใหญ่อีกมากกว่า 9,000 โรงงาน ซึ่งเป็นผู้ประกอบการอาหารระดับขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ SME ที่ทำการผลิตอาหารจำหน่ายแก่คนไทยทั้งประเทศ ส่วนใหญ่ยังไม่มีระบบประกันคุณภาพความปลอดภัย HACCP เนื่องจากผู้ประกอบการในระดับ SME ส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ความเข้าใจที่ถ่องแท้ในการผลิตอาหาร และขาดแรงจูงใจที่จะพัฒนาความปลอดภัยอาหารให้ดียิ่งขึ้น
สืบเนื่องจากปัญหาดังกล่าว ประกอบกับ ทางกระทรวงอุตสาหกรรมมีนโยบายจัดทำแนวทางในการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารไทย เพื่อยกระดับและแก้ไขปัญหาในการผลิตอาหารให้ได้มาตรฐานและมีคุณภาพอย่างยั่งยืน ทางสถาบันอาหาร ภายใต้กระทรวงอุตสาหกรรม ได้เล็งเห็นว่า สิ่งที่อุตสาหกรรมอาหารของประเทศควรจะต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน คือ การพัฒนาศักยภาพของผู้ผลิตอาหารในระดับ SME ให้สามารถพัฒนาตนเองเข้าสู่กรอบประกันความปลอดภัยอาหารภายใต้ระบบ HACCP โดยเร็ว
สถาบันอาหาร จึงได้มอบหมายให้ ศูนย์นวัตกรรมวิทยาการอาหารของมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ (KU-FIRST) โดยสถาบันค้นคว้าและผลิตภัณฑ์อาหารและคณะอุตสาหกรรมเกษตร จัดทำ “โครงการพัฒนาศักยภาพผู้ผลิตอาหารอาหารระดับ SME เตรียมเข้าสู่ระบบมาตรฐานความปลอดภัย HACCP หรือ โครงการ Pre-HACCP” ซึ่งเป็นหลักสูตรฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับระบบการจัดการคุณภาพความปลอดภัย เพื่อพัฒนาศักยภาพและยกระดับการผลิตของผู้ประกอบ การอุตสาหกรรมอาหารระดับ SME ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคให้ได้มาตรฐานความปลอดภัยและมีคุณภาพที่ยั่งยืน โดยในช่วงแรกนี้ โครงการ Pre-HACCP จะนำร่องใน 600 โรงงานทั่วประเทศ”
“ผู้ประกอบการอาหารระดับ SME ของไทย ยังมีโอกาสเติบโตทางธุรกิจได้อีกมาก โดยเฉพาะตลาดส่งออก เพราะประเทศไทยเรามีชื่อเสียงเรื่องการผลิตอาหารคุณภาพอยู่แล้ว ดังนั้นหากได้รับการรับรองมาตรฐาน HACCP จะไปได้อีกไกล จึงอยากให้ผู้ประกอบการ SME มองเห็นความสำคัญของ HACCP และอยากเชิญชวนให้เข้าร่วมโครงการ Pre-HACCP เพราะจะช่วยเป็นบันไดก้าวไปสู่สู่มาตรฐาน HACCP ได้อย่างเต็มขั้นภายใน 2 ปี” ดร.ยุทธศักดิ์ กล่าว
ดร.วารุณี วารัญญานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในฐานะหัวหน้าโครงการ Pre-HACCP กล่าวว่า ผู้ประกอบการ SME ที่เข้าร่วมโครงการ Pre-HACCP นี้ ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ในการเข้าร่วมฝึกอบรม และเป็นโครงการที่ให้ประโยชน์ทั้งในแง่ผู้ประกอบการ และผู้บริโภค โดยในแง่ของผู้ประกอบการ จะช่วยให้สามารถผลิตผลิตภัณฑ์อาหารได้อย่างถูกต้องปลอดภัยและยั่งยืน สร้างความเชื่อมั่นและไว้วางใจจาก
ผู้บริโภค อีกทั้งยังเป็นการเสริมศักยภาพสู่ตลาดส่งออกในอนาคตต่อไปด้วย โดยผู้ประกอบการ SME ที่สำเร็จหลักสูตรของโครงการฯแล้ว จะได้ได้รับเครื่องหมาย Pre-HACCP พร้อมโล่และเกียรติบัตรแสดงถึงการผลิตผลิตภัณฑ์สู่มาตรฐานความปลอดภัย แล้วยังเป็นเครื่องหมายที่แสดงถึงศักยภาพและความสามารถที่พัฒนาเข้าสู่ระบบ HACCP ได้ภายใน 2 ปี ซึ่งจะมีโอกาสได้รับการสนับสนุนสินเชื่อจากแหล่งทุนเช่น SME Bank เพื่อปรับปรุงโรงงานให้เข้าสู่ระบบมาตรฐานคุณภาพความปลอดภัยของอาหารได้อีกด้วย
“ขณะเดียวกันในแง่ของผู้บริโภคเอง ก็จะสามารถเข้าถึงอาหารที่ผลิตในประเทศที่ปลอดภัยและมีคุณภาพจากโรงงานผลิตอาหารระดับ SME ดร.วารุณี กล่าวและเสริมว่า โครงการ “Pre-HACCP” ดำเนินการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ ที่ว่าด้วยระบบการจัดการคุณภาพความปลอดภัยเตรียมความพร้อมสู่ระบบ HACCP ให้กับผู้ประกอบการและจะมีที่ปรึกษาให้การสนับสนุนทั้งในด้านวิชาการ รวมทั้งให้คำปรึกษาในฐานะพี่เลี้ยงทางวิชาการ ณ โรงงานผลิต หรือ “on-site consultation” แก่อุตสาหกรรมระดับ SME โดยมีเป้าหมายที่จะพัฒนาศักยภาพของบุคคลากรผู้ที่เกี่ยวข้องการผลิตอาหารให้เข้าใจ และสามารถประยุกต์ทฤษฏีลงสู่การปฏิบัติจริงได้ เพื่อให้โรงงานผลิตอาหารระดับ SME 600 โรงงานที่เข้าร่วมโครงการฯ พร้อมที่จะสามารถพัฒนาตนเองเข้าสู่ระบบ HACCP ได้ภายใน 2 ปี
อ.ชิดชม ฮิรางะ สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร กล่าวถึงรายละเอียดหลัก
สูตร Pre-HACCP ว่า เป็นหลักสูตรการฝึกอบรมที่ได้รับการเห็นชอบจากองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ประกอบด้วยหลักสูตร กลาง และหลักสูตรเฉพาะอาหาร 6 กลุ่ม โดยหลักสูตรกลาง ประกอบด้วย หลักเกณฑ์การปฏิบัติที่ดีในการผลิตอาหารมาตรฐานการจัดการสุขาภิบาลอาหาร และระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม ส่วนหลักสูตรเฉพาะอาหาร 6 กลุ่ม จะประกอบไปด้วย กรรมวิธีการผลิตอาหาร 6 กลุ่มที่ถูกต้องและปลอดภัย ระบบวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุมของอาหาร 6 กลุ่ม ซึ่งอาหาร 6 กลุ่มนี้ประกอบด้วย อาหารบรรจุในภาชนะปิดสนิท (ชนิดกรดต่ำ ชนิดปรับกรด และชนิดกรด) อาหารแห้งและกึ่งแห้ง อาหารหมัก อาหารแช่เย็นเครื่องดื่ม และเครื่องปรุงรส
ทั้งนี้โครงการ Pre-HACCP เปิดการอบรมนำร่องมาแล้ว 4 รุ่น ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการ SME เป็นจำนวนมาก และจะเปิดอบรมอีก 2 รุ่นสุดท้ายที่กรุงเทพ ฯ คือ ระหว่างวันที่ 10-13 มิถุนายน 2551 นี้ และในเดือนกรกฎาคม 2551 อีก 1 รุ่น ในขณะเดียวกันจะเปิดอบรมที่จังหวัดขอนแก่นและจังหวัดสงขลา จึงนับเป็นโอกาสสุดท้ายสำหรับผู้ประกอบการ สามารถสมัครโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และสอบถามรายละเอียดได้ที่โทร.0-2942-7990-1 หรือ 0-2942-8629-35 ต่อ 307 หรือ E-mail:[email protected]
ข้อมูลเพิ่มเติมโครงการ Pre-HACCP
โครงการพัฒนาศักยภาพผู้ผลิตอาหารระดับ SME เตรียมเข้าสู่ระบบมาตรฐานความปลอดภัย HACCP (Pre-HACCP)
โครงการพัฒนาศักยภาพผู้ผลิตอาหารระดับ SME เตรียมเข้าสู่ระบบ HACCP จัดทำขึ้นโดยสถาบันอาหาร ร่วมกับ ศูนย์นวัตกรรมวิทยาการอาหารของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (KU-FIRST) เป็นแผนงานเพื่อนำผู้ประกอบการ SME เข้าสู่มาตรฐาน HACCP
โครงการฯ มีเป้าประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพและยกระดับการผลิตของผู้ประกอบการอุตสาหกรรม SME ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ให้ได้มาตรฐานและผลิตอาหารให้มีคุณภาพและปลอดภัยได้อย่างยั่งยืนให้ความรู้ความเข้าใจ เพื่อผู้ประกอบการสามารถนำไปประยุกต์ใช้ และจัดการระบบการควบคุมคุณภาพความปลอดภัยของการผลิตอาหารอย่างมีประสิทธิภาพผู้ประกอบการที่ผ่านกระบวนการพัฒนาศักยภาพ โดยเข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตร Pre-HACCP จะได้รับการรับรองจากสถาบันอาหารในรูปแบบของเครื่องหมาย Pre-HACCP และสามารถพัฒนาเข้าสู่ระบบ HACCP ได้ภายใน 2 ปี
HACCP คืออะไร
Hazard Analysis Critical Control Point (HACCP: เอช-เอ-ซี-ซี-พี หรือ “ฮาสัพ”) เป็นระบบมาตรฐานการประกันความปลอดภัยอาหาร มีหลักการสำคัญ คือ
- แยกประเภทของอันตรายที่อาจปนเปื้อนในวัตถุดิบอาหาร
- ควบคุมอันตรายที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างกระบวนการผลิตอาหาร
- ตรวจสอบติดตามและบันทึกกระบวนการผลิตอาหาร หากมีข้อผิดพลาดจากมาตรการที่กำหนดไว้สามารถแก้ไขได้ทันที
ดังนั้น จึงมั่นใจได้ว่าผลิตภัณฑ์อาหารนั้นๆ จึงมีความปลอดภัยและได้คุณภาพสอดคล้องตามที่โรงงานผู้ผลิตกำหนด
หลักสูตร Pre-HACCP
หลักสูตร Pre-HACCP เป็นหลักสูตรระบบการจัดการคุณภาพความปลอดภัยสำหรับ SME เพื่อเตรียมพร้อมสู่ระบบ HACCP โดยเป็นหลักสูตรการฝึกอบรมที่ได้รับการเห็นชอบจากองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ประกอบด้วย หลักสูตรกลาง และ หลักสูตรเฉพาะอาหาร 6 กลุ่ม
หลักสูตรกลาง ประกอบด้วย หลักเกณฑ์การปฏิบัติที่ดีในการผลิตอาหาร มาตรฐานการจัดการสุขาภิบาลอาหาร และระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม
หลักสูตรเฉพาะอาหาร 6 กลุ่ม ประกอบด้วย กรรมวิธีการผลิตอาหาร 6 กลุ่มที่ถูกต้องและปลอดภัย ระบบวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุมของอาหาร 6 กลุ่ม ซึ่งอาหาร 6 กลุ่มนี้ประกอบด้วย 1.) อาหารแห้งและกึ่งแห้ง 2.) อาหารหมัก 3.) อาหารแช่เย็น 4.) เครื่องดื่ม 5.) เครื่องปรุงรส และ 6.) อาหารบรรจุในภาชนะปิดสนิท (ชนิดกรดต่ำ ชนิดปรับกรด และชนิดกรด)
Pre-HACCP บันไดสู่ HACCP แบบเต็มขั้น
การฝึกอบรมในหลักสูตร Pre-HACCP จะเน้นให้สามารถนำองค์ความรู้ไปประยุกต์ใช้และปฏิบัติได้จริงในโรงงาน ซึ่งผู้ที่เข้ารับการฝึกอบรมตลอดระยะเวลา 4 วัน จะได้แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์กับทีมวิทยากรและผู้เข้าร่วมฝึกอบรมจากโรงงานอื่นๆ เป็นการสร้างเครือข่ายทั้งด้านวิชากการและด้านธุรกิจแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ซึ่งกันและกัน หรือหากเป็นผู้บริหาร หรือเจ้าของธุรกิจ เมื่อมาฝึกอบรมก็จะทำให้เห็นภาพถึงความจำเป็นและความสำคัญของมาตรฐานการผลิตอาหารปลอดภัยชัดเจนยิ่งขึ้น นำไปสู่การสนับสนุนและส่งเสริมนโยบายด้านคุณภาพต่างๆ ภายในโรงงานได้อย่างเป็นรูปธรรม
และหลังจากที่ผ่านการฝึกอบรมตลอด 4 วันแล้ว ทีมผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษาของโครงการฯ จะเข้าไปให้คำแนะนำที่โรงงานอย่างน้อย 3 ครั้ง โดยครั้งแรกจะเป็นการให้คำแนะนำตามหลัก GMP เบื้องต้น ครั้งที่ 2 เป็นการให้คำแนะนำเกี่ยวกับแผนงาน HACCP ครั้งที่ 3 เป็นการเตรียมความพร้อมเพื่อทำการตรวจประเมินเบื้องต้น (Pre-audit) และครั้งที่ 4 จะมีผู้ตรวจประเมินจากภาคีเครือข่ายอื่นๆ เช่น กระทรวงสาธารณสุข เข้าไปตรวจประเมินที่โรงงาน
คุณสมบัติของโรงงานที่เข้าร่วมโครงการ
- โรงงานผลิตอาหารขนาดกลางและขนาดย่อม ที่ต้องการพัฒนาศักยภาพเตรียมเข้าสู่ระบบ HACCP และสามารถเข้าร่วมกิจกรรมจนเสร็จสิ้นโครงการ
- ได้รับการรับรองมาตรฐาน GMP จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) หรืออยู่ในระหว่างการยื่นขอรับรองมาตรฐาน GMP
- โรงงานมีบุคลากรที่มีคุณสมบัติ มีประสบการณ์ด้านการผลิตอาหาร สามารถร่วมงานกับคณะทีมผู้เชี่ยวชาญที่ปรึกษา HACCP
- โรงงานตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันตก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และ ภาคใต้ ของประเทศ
คุณสมบัติของผู้เข้ารับการฝึกอบรม
- เป็นบุคลากรของโรงงานที่เข้าร่วมโครงการฯ
- จบการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาวิทยาศาสตร์หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง
- กรณีวุฒิการศึกษาไม่ถึงระดับปริญญาตรี ต้องมีประสบการณ์ด้านการผลิตอาหารไม่น้อยกว่า 1 ปี
ประโยชน์ที่ผู้ประกอบการ SME จะได้รับจากการเข้าร่วมโครงการ Pre-HACCP
- บุคลากรของโรงงานที่ผ่านการอบรมได้รับการพัฒนาศักยภาพและมีความสามารถที่จะพัฒนากระบวนการผลิตของโรงงานเข้าสู่ระบบ HACCP
- บุคลากรของโรงงานที่ผ่านการฝึกอบรม ได้รับประกาศณียบัตรจากโครงการฯ
- โรงงานที่เข้าร่วมกระบวนการพัฒนาศักยภาพและผ่านการประเมินจะได้รับเครื่องหมาย Pre-HACCP อันเป็นเครื่องหมายแสดงถึงศักยภาพและความสามารถที่พัฒนาเข้าสู่ระบบ HACCP ได้ภายใน 2 ปี และสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคในคุณภาพความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์
- โรงงานที่ได้รับเครื่องหมาย Pre-HACCP มีโอกาสได้รับการสนับสนุนสินเชื่อจากแหล่งทุนเช่น SME Bank เพื่อปรับปรุงโรงงานให้เข้าสู่ระบบมาตรฐานคุณภาพความปลอดภัยของอาหาร
- ทางโครงการฯ เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการเข้าฝึกอบรมให้แก่ โรงงานมีคุณสมบัติเข้าร่วมโครงการฯ (ค่าเดินทาง ค่าที่พัก ค่าลงทะเบียน และอื่นๆ โดยระบบเหมาจ่าย)
เครื่องหมาย Pre-HACCP มีหลักเกณฑ์อย่างไร
- เครื่องหมายประกันคุณภาพว่าโรงงานผลิตอาหารนั้นมีศักยภาพพร้อมที่จะเข้าสู่ระบบ HACCP รับรองโดยคณะกรรมการโครงการฯ ซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญภาครัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการรับรอง GMP และระบบ HACCP
- มีอายุใช้ได้ 2 ปี นับตั้งแต่ได้รับมอบจากโครงการฯ มีพันธะสัญญาว่าจะดำเนินการให้ได้การรับรองระบบ HACCP ใน 1-2 ปี
การรับสมัคร
โครงการ Pre-HACCP เปิดการอบรมนำร่องมาแล้ว 4 รุ่น ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการ SME เป็นจำนวนมาก และจะเปิดอบรมอีก 2 รุ่นสุดท้ายที่กรุงเทพ ฯ คือ ระหว่างวันที่ 10-13 มิถุนายน 2551 นี้ และในเดือนกรกฎาคม 2551 อีก 1 รุ่น ในขณะเดียวกันจะเปิดอบรมที่จังหวัดขอนแก่นและจังหวัดสงขลา จึงนับเป็นโอกาสสุดท้ายสำหรับผู้ประกอบการ สามารถสมัครโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และสอบถามรายละเอียดได้ที่โทร.02 942 7990-1 หรือ 02 942 8629-35 ต่อ 307 หรือ E-mail: [email protected]
สถานที่รับสมัคร
โครงการพัฒนาศักยภาพผู้ผลิตอาหารระดับ SME เตรียมเข้าสู่ระบบ HACCP
ศูนย์นวัตกรรมวิทยาการอาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (KU-FIRST)
อาคารอบรมภูมิรัตน ห้อง 322 ชั้น 3
สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
50 ถ.พหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
โทร. 02 942 7990-1 หรือ 02 942 8629-35 ต่อ 307
E-mail: [email protected]
สื่อมวลชนต้องการข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ บริษัท คอมมูนิเคชั่น แอนด์ มอร์ จำกัด
คุณบุษบา สุขบัติ (บุษ) โทร. 0-2718-3800-5 ต่อ 133 หรือ 081-483-7336 / 085-803-6222

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version