พาณิชย์เยือนสหรัฐฯ โชว์ตัวเลขปราบปรามการละเมิด IP เพื่อถอดไทยจาก PWL

จันทร์ ๐๙ มิถุนายน ๒๐๐๘ ๑๕:๑๑
กรุงเทพฯ--9 มิ.ย.--นิโอ ทาร์เก็ต
นางพวงรัตน์ อัศวพิศิษฐ์ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เปิดเผยว่า ในโอกาสที่ร่วมคณะปลัดกระทรวงพาณิชย์ เดินทางไปเยือนสหรัฐฯ ในวันที่ 10 มิถุนายน ศกนี้ ในส่วนของกรมทรัพย์สินทางปัญญา จะมีการเจรจากับสำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐฯ เรียกร้องให้สหรัฐฯ ถอดไทยออกจากบัญชี PWL หรือประเทศที่ต้องจับตามองเป็นพิเศษ ที่ผ่านมาการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา และการดำเนินการปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของไทยมีพัฒนาการไปทางดีขึ้น โดยมุ่งปราบปรามผู้ละเมิดเพื่อการค้าขนาดใหญ่ มากกว่าจะจับปลาเล็กปลาน้อยที่ไม่ทำให้การปราบปรามบรรลุผล เรามีตัวเลขที่จะไปแสดงสหรัฐฯ ว่า จำนวนของกลางต่อคดีที่เรายึดได้ ในปี 2551 เฉลี่ยอยู่ที่ 690 ชิ้นต่อคดี เมื่อเทียบกับปี 2550 ที่ยึดของกลางได้เฉลี่ย 655 ชิ้นต่อคดี โดยในปี 2550 มีการจับของละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา 7,188 คดี มีการนำคดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาล 6,466 คดี อีกทั้งยังมีการจัดการทำลายของกลางอยู่เสมอ เพื่อป้องกันไม่ให้สินค้าละเมิดที่ยึดได้กลับเข้าสู่วงจรตลาดอีก
นอกจากนั้นที่สำคัญ นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 120/2551 ลงวันที่ 29 พฤษภาคม 2551 ให้กรมทรัพย์สินทางปัญญาเป็นหน่วยงานกลางที่มีอำนาจในการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาอย่างเบ็ดเสร็จ รวมทั้งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ยังได้มีคำสั่งแต่งตั้งให้อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาเป็นประธานคณะทำงานแก้ไขปรับปรุงระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการป้องปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาให้ครอบคลุมทุกด้าน และทันกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปมากขึ้น
ทั้งนี้ เรื่องการประกาศบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตร (ซีแอล) ซึ่งสหรัฐฯ แจ้งว่าซีแอลไม่ได้เป็นปัจจัยหลัก แต่เป็นเพียงหนึ่งในหลายๆ ปัจจัยที่ใช้ประกอบการจัดไทยไว้ในบัญชี PWL ก็จะถือว่า สหรัฐฯ ยอมรับว่า CL ทำได้ และกรมทรัพย์สินทางปัญญา ทราบมาว่าสหรัฐฯ อาจจะใช้โอกาสการที่คณะปลัดพาณิชย์ของไทยไปเยือนวอชิงตัน เสนอให้มีการจัดทำแอ็กชันแพลน (action plan) หรือแผนปฏิบัติการด้านการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งกรมฯ เห็นว่า ปัจจุบันเราก็มีเวทีหารือกับสหรัฐฯ เพื่อแจ้งความคืบหน้าเรื่องการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาให้สหรัฐฯ ทราบอยู่แล้ว ข้อเสนอของสหรัฐฯ ในชั้นนี้อาจจะไม่จำเป็น เรื่องนี้ก็คงต้องมาคุยกันและพิจารณากันอีกทีว่า ข้อเสนอนี้ไทยจะได้คุ้มกับที่เสียหรือไม่
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ
นางสาวอรุนฤดี พันขวง
บริษัท นิโอ ทาร์เก็ต จำกัด
โทร. 02-631-2290 ต่อ 309

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ