สถานีบริการ NGV ขนาดใหญ่ ในขนส่งสายใต้แห่งใหม่ ถ.บรมราชชนนี เปิดให้บริการแล้ว

อังคาร ๐๘ กรกฎาคม ๒๐๐๘ ๑๖:๑๑
กรุงเทพฯ--8 ก.ค.--ปตท.
พลโท หญิง พูนภิรมย์ ลิปตพัลลภ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ให้เกียรติเป็นประธานเปิดสถานีบริการ NGV บรมราชชนนี บริเวณสถานีขนส่งสายใต้ใหม่ โดยมี ดร.จิตรพงษ์ กว้างสุขสถิตย์ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ กลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นต้นและก๊าซธรรมชาติ/รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ หน่วยธุรกิจก๊าซธรรมชาติ ปตท. รวมทั้งผู้บริหารระดับสูงของ ปตท. ให้การต้อนรับ
พลโท หญิง พูนภิรมย์ ลิปตพัลลภ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่าจากการที่อัตราการใช้พลังงานด้านการขนส่งมีมากกว่าร้อยละ 30 ของการใช้พลังงานภายในประเทศ ดังนั้น เพื่อช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายน้ำมันเบนซินและดีเซลให้แก่ผู้ประกอบการ กระทรวงพลังงานจึงมอบหมายให้ ปตท. ดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ประกอบการหันมาใช้ก๊าซ NGV เป็นพลังงานทางเลือก ซึ่งส่งผลให้ช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ปริมาณการใช้ก๊าซ NGV เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า กล่าวคือ จาก 1,000 ตันต่อวัน เพิ่มขึ้นเป็น 2,000 ตันต่อวัน ในสิ้นเดือนมิถุนายน 2551 เนื่องจากราคาน้ำมันเบนซินและดีเซลภายในประเทศปรับตัวสูงขึ้นตามสภาวะตลาดโลก ดังนั้น ปตท. จึงได้เร่งดำเนินการขยายสถานีบริการ NGV ให้เพียงพอกับความต้องการที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะสถานีบริการ NGV ขนาดใหญ่ เพื่อรองรับรถโดยสารสาธารณะ ซึ่งการเปิดสถานีบริการ NGV บรมราชชนนี ในสถานีขนส่งสายใต้ใหม่ในวันนี้ จึงนับว่าเป็นสถานีบริการ NGV ขนาดใหญ่ ที่มีศักยภาพในการให้บริการแก่รถโดยสาร บขส./ รถร่วม บขส. รถโดยสาร ขสมก. / รถร่วม ขสมก. รวมถึงรถแท๊กซี่และรถตู้โดยสาร ให้ได้รับความสะดวกมากยิ่งขึ้น นอกจากนั้นสถานีบริการ NGV แห่งนี้ ยังจะช่วยบรรเทาปัญหาการรอคิวเติม NGV และปัญหา NGV มีไม่เพียงพอในการให้บริการสำหรับรถยนต์ขนาดเล็กในสถานีบริการฯ ใกล้เคียงอีกด้วย
ดร.จิตรพงษ์ กว้างสุขสถิตย์ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ กลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นต้นและก๊าซธรรมชาติ/รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ หน่วยธุรกิจก๊าซธรรมชาติ ปตท. กล่าวเพิ่มเติมว่า สถานีบริการ NGV บรมราชชนนี แห่งนี้จะเปิดให้บริการเป็น 2 ระยะ โดยระยะแรก มีขนาดพื้นที่ 2 ไร่ ซึ่งจะรับก๊าซฯ จากสถานีบริการ NGV หลัก ปตท.ลาดหลุมแก้ว โดยมีหัวเติมก๊าซฯ ทั้งหมด 8 หัวจ่าย มีกำลังการเติมก๊าซ NGV ในปริมาณ 50 ตันต่อวัน สามารถให้บริการแก่รถโดยสารสาธารณะได้ถึง 350 คันต่อวัน ซึ้งได้เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการแล้วในวันนี้
สำหรับการเปิดให้บริการในระยะที่ 2 ของสถานีบริการ NGV บรมราชชนนี จะเปิดเป็นสถานี NGV ประเภทแนวท่อฯขนาดใหญ่ (Conventional Station) ด้วยขนาดพื้นที่ 4 ไร่ โดยมีหัวเติมก๊าซทั้งหมดถึง 36 หัวจ่าย แบ่งเป็นหัวเติมสำหรับรถขนาดใหญ่ 4 หัวจ่าย และสำหรับรถยนต์ขนาดเล็กอีก 32 หัวจ่าย โดยจะสามารถให้บริการรถยนต์ขนาดใหญ่และรถเล็กได้ถึงวันละ 5,300 คัน ซึ่งสถานีบริการ NGV บรมราชชนนี ระยะที่ 2 นี้จะสามารถเปิดให้บริการแก่รถทุกประเภทได้อย่างสมบูรณ์ในเดือนตุลาคม 2551 เป็นต้นไป ซึ่งจะทำให้ความสามารถในการเติมก๊าซ NGV รวม (ทั้ง 2 ระยะ)ของสถานีบริการ NGV แห่งนี้ สูงถึงประมาณ 180 ตันต่อวัน ด้วยจำนวนหัวเติมฯ 44 หัวจ่าย บน พื้นที่รวม 6 ไร่
อนึ่ง หากการดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายของ ปตท. ภายในปี 2551 จะมีรถใช้ก๊าซ NGV รวมทั้งสิ้นจำนวน 122,000 คัน สามารถทดแทนการใช้น้ำมันคิดเป็นมูลค่ารวมประมาณ 20,000 ล้านบาทต่อปี ซึ่งนอกจากช่วยลดภาระการนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศแล้ว ยังเป็นยุทธศาสตร์สำคัญในการลดการขาดดุลทางการค้า อันจะส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศอีกด้วย
โทรศัพท์ 0-2537-3217 ฝ่ายสื่อสารองค์กร บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
โทรสาร 0-537-3211 8 กรกฎาคม 2551

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ