กรุงเทพฯ--8 ก.ค.--บีเอสเอ
โรงงานยักษ์ใหญ่ข้ามชาติอเมริกา ใน จ. ชลบุรี ถูกจับพร้อมหลักฐาน เครื่องคอมพิวเตอร์อย่างน้อย 37 เครื่อง ในข้อหาใช้ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ รวมมูลค่าทั้งสิ้น 411,600 บาท
หนึ่งในซอฟต์แวร์ที่ถูกละเมิดคือโปรแกรมพจนานุกรม ไทยซอฟต์แวร์ โดยลิขสิทธิ์ของ บริษัท ไทยซอฟท์แวร์เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด หนึ่งในสมาชิกของกลุ่มพันธมิตรธรุกิจซอฟต์แวร์ (บีเอสเอ) ซอฟต์แวร์ตัวนี้ได้รับความนิยมแพร่หลาย มีราคาตั้งแต่ 180-1,284 บาท
“โรงงานแห่งนี้ทำผิดกฏหมายทรัพย์สินทางปัญญาของไทย โดยเฉพาะในเรื่องลิขสิทธิ์ ซึ่งส่งผลเสียต่อภาคธุรกิจไอที รวมถึงเศรษฐกิจของไทย” พ.ต.อ. ศรายุทธ พูลธัญญะ รองผู้บังคับการ กองปราบปรามอาชญากรรมทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยี (บก. ปศท.) กล่าว “หน่วยงานของเรา มีหน้าที่ในการปราบปราม และป้องกันการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ไทย โดยเราพยายามทำทุกวิถีทางเพื่อผลักดันให้ทุกธุรกิจดำเนินไปตามครรลองของกฏหมายไทย ซึ่งรวมถึงการจับกุมผู้ละเมิดลิขสิทธิ์”
“ในกรณีข้างต้น สามารถสะท้อนให้เห็นได้อย่างชัดเจนเกี่ยวกับประโยชน์ของการบริหารสินทรัพย์ประเภทซอฟต์แวร์ (Software Assets Management หรือ SAM) รวมถึงการสร้างความรู้ ความเข้าใจให้กับระดับผู้บริหารขององค์กร ในเรื่องการใช้ซอฟต์แวร์ที่ถูกต้อง ภายในองค์กรของตน”
มร. ดรุณ ซอว์นีย์ ผู้อำนวยการฝ่ายปราบปรามการละเมิดลิขสิทธิ์ ประจำภูมิภาคเอเชียของบีเอสเอกล่าว “เป็นหน้าที่ของผู้บริหาร ที่จะต้องเน้นย้ำให้พนักงานของตนรู้ว่า การใช้ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ย่อมหมายถึงการกระทำผิดทางกฏหมายด้วย”
นางสาวศิริภัทร ภัทรางกูร โฆษกคณะกรรมการกลุ่มพันธมิตรธุรกิจซอฟต์แวร์ (บีเอสเอ) ประจำประเทศไทยกล่าวว่า “การที่องค์กรต่างๆ ใช้ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ จะส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจโดยรวมทั้งหมดของประเทศ บีเอสเอ สนับสนุนให้องค์กรต่างๆ ตรวจสอบให้มั่นใจว่าซอฟต์แวร์ที่ตนใช้อยู่นั้น เป็นซอฟต์แวร์ที่ถูกต้องตามลิขสิทธิ์หรือไม่ เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงการโดนจับกุม รวมถึงการบั่นทอนเศรษฐกิจของชาติด้วย”
บีเอสเอได้จัดทำโครงการต่างๆ ซึ่งเป็นแนวทางการส่งเสริม บก. ปศท. ในการต่อต้านการละเมิดลิขสิทธิ์ อาทิ สายด่วนฮอทไลน์ สำหรับผู้ที่มีข้อมูลของการละเมิดลิขสิทธิ์ในองค์กรธุรกิจสามารถรายงานเบาะแสดังกล่าวได้ที่ โทร. 02-711-6193 หรือ 1-800-291-005 ซึ่งบีเอสเอยินดีมอบเงินรางวัลสูงสุดถึง 250,000 บาท เมื่อคดีดำเนินจนถึงที่สุด โดยข้อมูลเหล่านี้จะถูกเก็บเป็นความลับ รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถดูได้จาก www.bsa.org
ตั้งแต่เดือนมกราคม 2551 เป็นต้นมา มีการจับกุมผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ประเภทองค์กรได้แล้วมากกว่า 20 แห่ง และในเดือนเมษายนที่ผ่านมา กรมทรัพย์สินทางปัญญาได้จัดให้มีโครงการรวมใจใช้ซอฟต์แวร์แท้แห่งชาติ โดยความร่วมมือของบีเอสเอ ในการสร้างความตระหนักให้กับประชาชนในการใช้ซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ รวมถึงการสนับสนุนจาก บก. ปศท. ในการจับกุมผู้ละเมิดลิขสิทธิ์อีกทางหนึ่งด้วย
เกี่ยวกับบีเอสเอ
กลุ่มพันธมิตรธุรกิจซอฟต์แวร์ (www.bsa.org) เป็นผู้นำแถวหน้าที่ทุ่มเทให้กับการส่งเสริมโลกดิจิตอลที่ปลอดภัยและ ถูกกฎหมาย บีเอสเอเป็นกระบอกเสียงของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์และคู่ค้าฮารด์แวร์ทั่วโลกต่อหน้ารัฐบาล ของประเทศต่างๆ และในตลาดการค้าระหว่างประเทศ สมาชิกบีเอสเอ ประกอบด้วยผู้ประกอบการในอุตสาหกรรม ซอฟต์แวร์ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มอุตสาหกรรมที่เติบโตอย่างรวดเร็วที่สุดในโลก บีเอสเอสนับสนุนนวัตกรรมเทคโนโลยี ผ่านโครงการเพื่อการศึกษาและนโยบายที่ส่งเสริมการปกป้องลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ การรักษา ความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์ การค้าและอีคอมเมิร์ส
สมาชิกบีเอสเอ รวมถึง อโดบี, อาจิเลนท์ เทคโนโลยี, อัลเทียม, แอปเปิ้ล, ออโต้เดสค์, อาวิด, เบนลี่ ซิสเต็มส์, บอร์แลนด์, ซีเอ, คาร์เดนซ์ ดีไซน์ ซิสเต็มส์, ซิสโค ซิสเต็มส์, ซีเอ็นซี ซอฟต์แวร์/มาสเตอร์แคม, คอเรล, เดล, อีเอ็มซี, ฟรอนท์ไลน์ พีซีบี โซลูชั่นส์ (ในเครือออร์โบเท็ค วาเลอร์ คัมปานี), เอชพี, ไอบีเอ็ม, อินเทล, ไอนัส เทคโนโลยี, แมคอาฟี, ไมโครซอฟท์, ไมเจ็ท, มินิแทบ, โมโนไทพ์ อิเมจิ้ง, พีทีซี, เคิร์ค, เควสท์ ซอฟต์แวร์, เอสเอพี, ซีเมนส์ พีแอลเอ็ม ซอฟต์แวร์, โซลิดเวิร์กส์, เอสพีเอสเอส, ไซเบส, ไซแมนเทค, ไซนอปซิส, เทคล่า, ไทยซอฟท์แวร์เอ็นเตอร์ไพรส์, เดอะ แมธเวิร์กส์ และ เทรนด์ ไมโคร สมาชิกบีเอสเอในประเทศไทยคือไทยซอฟต์แวร์ เอ็นเตอร์ไพร์ส