วิทยพัฒน์ ปรับกลยุทธ์ออกตำราเรียนฉบับประหยัดให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจ

พุธ ๐๙ กรกฎาคม ๒๐๐๘ ๑๑:๓๖
กรุงเทพฯ--9 ก.ค.--วิทยพัฒน์
? วิชาเดียวกันแต่ออกฉบับราคาประหยัดให้เลือกใช้
? ย้ำตลาดยังคงเติบโตต่อเนื่อง แม้ภาวะเศรษฐกิจจะมีปัญหา
วิทยพัฒน์ สำนักพิมพ์ผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตตำราระดับอุดมศึกษาและหนังสือวิชาการ ผลิตตำราด้วยแนวคิดใหม่ วิชาเดียวกัน มี 2 เวอร์ชัน 2 ราคา ให้เลือกใช้ได้ตรงใจ อีกทั้งยังสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจที่กำลังซื้อลดลงในปัจจุบัน
นายสาธิต อุรุวงศ์วณิช กรรมการผู้จัดการบริษัทวิทยพัฒน์ จำกัด เปิดเผยว่าเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันผู้บริโภคกำลังประสบปัญหาค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อันเป็นผลมาจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ปรับตัวอย่างต่อเนื่องและยังไม่มีสัญญาณว่าจะถึงจุดสูงสุดเมื่อใด ทำให้ผู้บริโภคไม่มีความเชื่อมั่นต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจในภาคครัวเรือน สำนักพิมพ์วิทยพัฒน์จึงต้องปรับกลยุทธ์ทางด้านการผลิตและการตลาดเพื่อลดภาระของผู้บริโภค
วิทยพัฒน์คาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจเอาไว้ตั้งแต่ปีที่แล้ว เพราะว่าในปี 2550 ที่ผ่านมา มีสัญญาณทางเศรษฐกิจหลาย ๆ ตัวบ่งชี้ ดังนั้น ในปีนี้ เราจึงตัดสินใจออกตำรารุ่นใหม่ และเริ่มวางจำหน่ายเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมานี้” นายสาธิตกล่าว
นายสาธิตกล่าวว่า ภายใต้แนวคิดการผลิตใหม่นี้ ตำราเรียน 1 วิชา เราจะผลิตออกมา 2 เวอร์ชัน เพื่อให้อาจารย์และนักศึกษาเลือกใช้ได้ตรงตามความต้องการ และเพื่อความประหยัด
“ยกตัวอย่างเช่นตำราวิชาภาษีอากรธุรกิจของคณะบริหารธุรกิจหรือคณะวิทยาการจัดการ เราจะผลิตออกมาเป็น 2 เวอร์ชัน ฉบับสมบูรณ์ กับฉบับราคาประหยัด
“ความแตกต่างอยู่ตรงที่ ฉบับราคาประหยัดจะมีหัวข้อเท่าที่ต้องสอนใน 1 ภาคการศึกษา ส่วนฉบับสมบูรณ์จะมีหัวข้อมากกว่า แต่ส่วนที่เพิ่มขึ้นนั้นมักสอนกันไม่ทันในหนึ่งภาค อาจารย์มักมอบหมายให้นักศึกษาไปอ่านเสริมนอกเวลา เพื่อเสริมความรู้ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ซึ่งตำราฉบับสมบูรณ์นี้ อาจารย์อาจให้ห้องสมุดเป็นผู้สั่งซื้อ แล้วให้นักศึกษาไปยืมอ่านจากห้องสมุดก็ได้ ส่วนนักศึกษาซื้อฉบับราคาประหยัดไว้ศึกษาก็พอ ทั้งสองเวอร์ชันมีราคาต่างกันกว่าหนึ่งร้อยบาท ทำให้ประหยัดค่าตำราลงได้
“หรืออย่างวิชาในสาขาวิศวกรรมศาสตร์ หรือวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นวิชาที่มีการคำนวณ ปกติจะต้องเรียนทั้งทฤษฎี อีกทั้งต้องมีการฝึกฝนในภาคคำนวณ ซึ่งถ้าจะเสริมในภาคฝึกฝนคำนวณมาก ตำราก็จะหนาและมีราคาสูง ดังนั้นตำรา 1 วิชาเราก็จะผลิตออกมาเป็น 2 เวอร์ชันให้เลือกใช้ คือ ฉบับมาตรฐาน มีทั้งภาคทฤษฎีและตัวอย่างการคำนวณมากพอควร กับเวอร์ชันที่เน้นฝึกฝนการทำโจทย์โดยเฉพาะ เรียกว่าเป็น “ฉบับเสริมประสบการณ์” เพื่อเป็นทางเลือก ซึ่งอาจารย์ผู้สอนอาจกำหนดให้นักศึกษาซื้อฉบับมาตรฐาน แล้วสั่งฉบับเสริมประสบการณ์เข้าห้องสมุด หรือในทางกลับกัน ก็ได้ ก็จะทำให้นักศึกษาไม่จำเป็นต้องซื้อทั้งสองเล่ม แต่ได้ความรู้จากทั้งสองเล่ม” นายสาธิตกล่าว
นายสาธิตกล่าวเพิ่มเติมว่าแม้ว่าตลาดตำราเรียนและตลาดการศึกษาจะได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจไม่มากนัก แต่ในภาวะกำลังซื้อถดถอยของผู้ปกครอง ย่อมส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อตำราเรียนด้วย อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าตลาดตำราเรียนจะยังคงมีอัตราเติบโตต่อเนื่อง ทั้งนี้เพราะผู้ปกครองยอมที่จะลงทุนเพื่ออนาคตของบุตรหลาน
“ที่ผ่านมา ตลาดตำราเรียนมีอัตราเติบโตอยู่ที่ 5-10% โดยขนาดตลาดประมาณปีละ 2,000 ล้านบาท ปีนี้ผมเชื่อว่าตลาดจะยังคงโตในอัตราเดียวกันอยู่ โดยวิทยพัฒน์คาดว่าปีนี้ยอดขายของวิทยพัฒน์จะเติบโตประมาณ 10% ซึ่งเป็นอัตราเดียวกับปีที่ผ่านมา” นายสาธิตกล่าว
ตลอดปีที่ผ่านมา วิทยพัฒน์ ได้ปรับกลยุทธ์ทางด้านการตลาด โดยเพิ่มสัดส่วนการขายตรง เช่น การออกบู๊ธ การขายแก่สถานศึกษา ฯลฯ นอกจากนี้ วิทยพัฒน์ ยังได้ร่วมมือกับพันธมิตรบัตรเครดิตคือ บมจ.บัตรกรุงไทย ในการให้บริการผ่อนชำระค่าตำราเรียน อัตราดอกเบี้ย 0% แก่อาจารย์ที่สั่งซื้อตำราเรียนแทนนักศึกษา
นายสาธิตกล่าวเพิ่มเติมว่าปัจจุบันตำราเรียนของวิทยพัฒน์ ได้รับความนิยมจากอาจารย์และนักศึกษาอย่างแพร่หลาย ทั้งนี้ เนื่องจากผู้ใช้มั่นใจในคุณภาพของตำรา รวมทั้งมั่นใจในความเป็นมืออาชีพของสำนักพิมพ์ ทั้งนี้เพราะความสำเร็จด้านการศึกษาที่จะต้องมีองค์ประกอบ 3 ประการ นั่นคือ หลักสูตรดี อาจารย์ดี และตำราดี
ข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ วิรัตน์ ตรีรานุรัตน์
โทรศัพท์ 081 682 2575
Email: [email protected]

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ