กทม. เดินเครื่องระบบบำบัดน้ำเสียระยะที่ 4 จตุจักร เดือน มี.ค. 48 นี้

จันทร์ ๑๐ มกราคม ๒๐๐๕ ๑๑:๓๐
กรุงเทพฯ--10 ม.ค.--กทม.
นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พร้อมด้วยนายสามารถ ราชพลสิทธิ์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นายสุกิจ ก้องธรนินทร์ เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ตรวจเยี่ยมการก่อสร้างโรงควบคุมคุณภาพน้ำจตุจักร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการระบบบำบัดน้ำเสีย ระยะที่ 4 โดยมีนายธีรเดช ตังประพฤทธิ์กุล ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ นายชาญชัย วิทูรปัญญากิจ รองผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ นายพรพจน์ กรรณสูต ผู้อำนวยการสำนักงานจัดการคุณภาพน้ำ และผู้เกี่ยวข้อง ให้การต้อนรับ เมื่อวันที่ 6 ม.ค. 48 ที่โรงบำบัดน้ำเสียจตุจักร ซ.อินทามระ 35 ถ.วิภาวดีรังสิต เขตจตุจักร
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนว่า ตนได้ไปตรวจเยี่ยมโรงควบคุมคุณภาพน้ำเขตจตุจักรซึ่งอยู่ระหว่างขยายเวลาดำเนินการก่อสร้าง โดยมีกำหนดแล้วเสร็จและจะเริ่มเดินระบบในเดือนมีนาคม 2548 นี้ ในเบื้องต้นจะเดินเครื่องบำบัดน้ำเสียประมาณ 150,000 ลบ.ม.ต่อวัน นอกจากนี้ภายในเดือนมกราคม 2548 โรงควบคุมคุณภาพน้ำดินแดงจะจะสามารถให้บริการได้ ทั้งนี้เมื่อรวมปริมาณน้ำที่ผ่านระบบบำบัดน้ำเสียทั้งสองแห่งและโรงควบคุมคุณภาพน้ำที่มีอยู่เดิมแล้ว กรุงเทพมหานครจะสามารถบำบัดน้ำเสียได้ประมาณ 1 ล้านลบ.ม.ต่อวัน หรือประมาณร้อยละ 37 ของปริมาณน้ำเสียทั้งหมดของกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีน้ำเสียประมาณ 2.66 ล้านลบ.ม.ต่อวัน
ผู้ว่าฯ กทม. กล่าวต่อว่า ตนได้มอบหมายให้สำนักการระบายน้ำศึกษาว่า พื้นที่ใดบ้างที่จำเป็นจะต้องสร้างโรงควบคุมคุณภาพน้ำ เพิ่มเติมและให้รายงานมายังตน ซึ่งตนจะหารือร่วมกับนายสามารถ ราชพลสิทธิ์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และสำนักการระบายน้ำ เพื่อกำหนดแผนการพัฒนาระบบควบคุมคุณภาพน้ำรวมของกรุงเทพมหานคร รวมทั้งกำหนดแนวทางการฟื้นฟูสภาพคูคลองและแม่น้ำเจ้าพระยาให้คืนสู่ความใสสะอาด รวมทั้งจะขยายเป้าหมายโครงการกรุงเทพฯ บ้านเราใสสะอาด 10 คลองใสเดิมให้ครอบคลุมพื้นที่ให้บริการของโรงควบคุมคุณภาพน้ำทุกแห่งของกรุงเทพมหานคร โดยให้แต่ละเขตที่อยู่ในพื้นที่ให้บริการโรงควบคุม คุณภาพน้ำของกรุงเทพมหานคร รณรงค์ประชาสัมพันธ์ขอความร่วมมือจากประชาชน และสถานประกอบการ ร้านอาหาร โรงแรม ในการมีส่วนร่วมรักษาสภาพคูคลอง โดยไม่ทิ้งขยะ และปล่อยน้ำที่ยังไม่ผ่านการบำบัดลงสู่ลำคลองสาธารณะ สำหรับสถานประกอบการและโรงแรมนั้น อาจต้องใช้อำนาจกฎหมายเพื่อเข้าไปตรวจสอบการปล่อยน้ำทิ้งดังกล่าว
สำหรับโครงการก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสียระยะที่ 4 รวมถึงการก่อสร้างโรงควบคุมคุณภาพน้ำจตุจักรนี้ มีพื้นที่ให้บริการครอบคลุมพื้นที่เขตจตุจักร และบางส่วนของเขตดินแดง ห้วยขวาง และพญาไท รวมพื้นที่ให้บริการประมาณ 33 ตร.กม. ในระยะแรกจะบำบัดน้ำเสียได้ไม่ต่ำกว่า 150,000 ลบ.ม.ต่อวัน และสามารถขยายขีดความสามารถการบำบัดน้ำเสียได้สูงสุด 225,000 ลบ.ม.ต่อวัน ทั้งนี้ตัวอาคารโรงควบคุมคุณภาพน้ำจตุจักรนี้ตั้งอยู่บนพื้นที่ 7 ไร่ บริเวณริมคลองบางซื่อ ในซอยอินทามระ 35 ถ.วิภาวดี รังสิต ซึ่งระบบบำบัดน้ำเสียดังกล่าวจะดักน้ำเสียจากแหล่งชุมชนไม่ให้ไหลสู่คลองสาธารณะ โดยระบบท่อรวบรวมน้ำเสียที่สร้างใหม่นี้เป็นชนิดท่อรวม (Combined System) คือรับทั้งน้ำฝนและน้ำเสียไปผ่านการบำบัดที่โรงควบคุมคุณภาพน้ำก่อนแล้วจึงปล่อยน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วลงสู่ลำคลองและแหล่งน้ำต่อไป--จบ--

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ