TSD เปิดให้บริการระบบยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ เร่งส่งเสริมธุรกิจตลาดยืมหลักทรัพย์ในไทย

พุธ ๑๓ สิงหาคม ๒๐๐๘ ๐๘:๐๑
กรุงเทพฯ--13 ส.ค.--ตลท.
บ. ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ฯ เปิดให้บริการเช่าใช้ระบบยืมและให้ยืมหลักทรัพย์แล้ว หลังลดภาระทุกฝ่ายด้วยการเป็นศูนย์กลางพัฒนาระบบ ใช้งบประมาณ 20 ล้านบาท มั่นใจช่วยสร้างสภาพคล่องให้ธุรกรรม SBL พร้อมเร่งส่งเสริมความรู้ผู้เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมและผู้ลงทุน หวังขยายตลาดการยืมและเพิ่มสภาพคล่องให้ตลาดทุนไทย
นางสาวโสภาวดี เลิศมนัสชัย กรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด (TSD) กล่าวถึงการเปิดให้บริการระบบยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ (SBL Service Bureau) ว่านับเป็นการขยายขอบเขตบริการของ TSD ให้บริษัทหลักทรัพย์และสถาบันการเงินสามารถเช่าระบบกลางเพื่อให้บริการแก่ลูกค้าของตนได้โดยไม่ต้องลงทุนพัฒนาระบบเอง จากเดิมที่ TSD ให้บริการเฉพาะธุรกรรม SBL ระหว่างสมาชิกผู้ฝากหลักทรัพย์ อาทิ คัสโตเดียน และบริษัทหลักทรัพย์ เท่านั้น ไม่ครอบคลุมถึงระดับผู้ลงทุนรายย่อย ทำให้การทำธุรกรรม SBL อยู่ในวงจำกัด โดย TSD ใช้งบในการพัฒนาระบบประมาณ 20 ล้านบาท มุ่งหวังให้ตลาดการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ขยายตัวเพิ่มขึ้นในประเทศไทย
“ระบบงานที่ TSD พัฒนาขึ้นเพื่อรองรับธุรกรรม SBL ดังกล่าว จะช่วยให้บริษัทหลักทรัพย์มีต้นทุนในการประกอบธุรกิจและดำเนินธุรกรรมที่ต่ำลง เพิ่มรายได้จากเปอร์เซ็นต์ค่าธรรมเนียมการยืมที่ผู้ยืมจ่ายให้ผู้ให้ยืม และสามารถขยายฐานลูกค้าจากกลุ่มที่ต้องการทำธุรกรรม SBL เท่ากับเป็นการให้บริการผู้ลงทุนได้อย่างครบวงจร
นอกจากนี้ SBL ยังมีส่วนสำคัญในการเพิ่มปริมาณการซื้อขายหลักทรัพย์ จึงช่วยให้บริษัทหลักทรัพย์ได้รับค่านายหน้าเพิ่มมากขึ้นด้วย ทั้งนี้ TSD จะทำหน้าที่บริหารจัดการธุรกรรม SBL ให้ตรงกับความต้องการแก่บริษัทหลักทรัพย์มากที่สุด พร้อมเชิญผู้เชี่ยวชาญด้าน SBL จากต่างประเทศมาให้ความรู้แก่ผู้ประกอบธุรกิจด้วยเมื่อวันที่ 8 สิงหาคมที่ผ่านมา โดยปัจจุบันมีบริษัทหลักทรัพย์ที่ใช้บริการระบบงาน SBL อยู่ 10 ราย และมีแนวโน้มว่าน่าจะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นหลังระบบงานที่พัฒนาขึ้นใหม่เปิดให้บริการและเกณฑ์ใหม่ที่สำนักงาน ก.ล.ต. ปรับแก้เพื่อช่วยส่งเสริมธุรกรรม SBL มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 พฤศจิกายนนี้” นางสาวโสภาวดีกล่าว
SBL จัดเป็นเครื่องมือเอื้อประโยชน์ในการจัดการลงทุนให้มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะสภาวะที่คาดการณ์ว่าราคาหลักทรัพย์จะปรับลง ผู้ลงทุนก็สามารถยืมหลักทรัพย์มาขายเพื่อทำกำไรในช่วงราคาหลักทรัพย์สูง และซื้อหลักทรัพย์มาคืนในช่วงที่ราคาต่ำกว่า หรือที่เรียกว่า “การขายชอร์ต” นอกจากนี้ ยังช่วยสร้างรายได้เพิ่มเติมจากค่าธรรมเนียมการยืม โดยผู้ให้ยืมยังคงได้รับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ จากบริษัทจดทะเบียนเทียบเท่ากับการถือครองหลักทรัพย์อยู่เอง ยกเว้นสิทธิในการออกเสียง ซึ่งหากต้องการใช้สิทธิ ก็สามารถเรียกคืนหลักทรัพย์จากผู้ยืมได้ ด้วยเหตุนี้ TSD จึงตระหนักถึงความสำคัญของการให้ความรู้เรื่อง SBL แก่ผู้ลงทุนทั่วไปด้วย โดยจะมีการจัดสัมมนาฟรีแก่ผู้ลงทุนในวันที่ 22 สิงหาคมนี้
“สำหรับตลาดทุนโดยรวมนั้น SBL เป็นเครื่องมือที่ช่วยลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการผิดนัดส่งมอบหลักทรัพย์ในการซื้อขายหลักทรัพย์ ช่วยให้กระบวนการชำระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงถึงร้อยละ 99.97 สร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุน ช่วยให้ราคาหุ้นมีเสถียรภาพมากขึ้น เนื่องจากผู้ที่ขายชอร์ตไปจะต้องกลับมาซื้อหุ้นเพื่อส่งมอบคืน จึงเป็นการช่วยเพิ่มสภาพคล่องให้มีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์มากยิ่งขึ้น” นางสาวโสภาวดีกล่าวสรุป
สื่อมวลชนสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ ส่วนธุรกิจสัมพันธ์ ฝ่ายการตลาด:
จันทนีย์ พงษ์กระสินธุ์ โทร. 0-2229-2896
e-mail address: [email protected] http://www.tsd.co.th/

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ