โค้งสุดท้ายโอลิมปิกวิชาการปีนี้ : เปิดใจก่อนไปแข่งคอมพ์โอลิมปิก

พุธ ๑๓ สิงหาคม ๒๐๐๘ ๑๔:๕๗
กรุงเทพฯ--13 ส.ค.--สสวท.
โค้งสุดท้ายโอลิมปิกวิชาการปีนี้ : เปิดใจก่อนไปแข่งคอมพ์โอลิมปิก ส่งแรงใจเชียร์ผู้แทนประเทศไทยแข่งขันคอมพิวเตอร์โอลิมปิก ส่วนประชาสัมพันธ์ สสวท.
การจัดส่งผู้แทนประเทศไทยไปแข่งขันโอลิมปิกวิชาการในแต่ละปีที่ดำเนินการโดยสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และทคโนโลยี (สสวท.) และมูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการและพัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์ศึกษา ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ (มูลนิธิ สอวน.) และหน่วยงานพันธมิตรต่าง ๆ นั้น ประกอบไปด้วยการแข่งขันใน 5 สาขาวิชา ได้แก่ คณิตศาสตร์ เคมี ชีววิทยา ฟิสิกส์ และคอมพิวเตอร์ ซึ่งในปีนี้ยังเหลือเพียงวิชาคอมพิวเตอร์อีกวิชาเดียวที่ยังไม่ได้ไปร่วมการแข่งขัน
การแข่งขันคอมพิวเตอร์โอลิมปิกในปีนี้ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 16-23 สิงหาคม 2551 ณ กรุงไคโร ประเทศอียิปต์ โดยมีผู้แทนประเทศไทย 4 คน ได้แก่ นายธนะ วัฒนวารุณ นายภานุพงศ์ ภาสุภัทร โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา นายวิสิฐ ภัทรนุธาพร และ นายอาภาพงศ์ จันทร์ทอง โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ไปร่วมการแข่งขัน
นายธนะ วัฒนวารุณ (แบงก์) วัย 17 ปี เล่าว่า ผมเลือกโอลิมปิกวิชาการวิชาคอมพิวเตอร์ เพราะสนใจคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีตั้งแต่เด็ก เป็นวิชาที่เห็นผล เห็นประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้ชัดเจน เพราะเน้นการปฏิบัติ เมื่อเราสร้างสรรค์ผลงานจากคอมพิวเตอร์ขึ้นมาได้ชิ้นหนึ่ง ก็ทำให้เรารู้สึกมีความสุข และสร้างสรรค์ได้ไม่ยากด้วย ถึงแม้ครอบครัวจะไม่ได้เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้คอมพิวเตอร์ให้กับผมโดยตรง แต่คอยส่งเสริมให้ได้เรียนหนังสืออย่างเต็มที่ รวมไปถึงการฝึกฝนทำโจทย์ คอยจัดหาหนังสือเพื่อให้ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ
น้องแบงก์ เคยได้เหรียญเงินจากการแข่งขันคอมพิวเตอร์ปี 2550 ณ ประเทศโครเอเชียมาแล้ว โดยมุ่งเน้นไปที่การฝึกปฏิบัติ “ผมชอบเขียนโปรแกรมมากกว่า เพราะชอบสิ่งที่เห็นภาพและจับต้องได้ มากกว่าทฤษฎีที่กล่าวมาลอย ๆ ผมมั่นใจพอสมควรในการแข่งครั้งนี้ แต่เป้าหมายในการแข่งขันคือสามารถทำได้ดีที่สุดเท่าที่ความสามารถของตนเองจะทำได้ เหรียญรางวัลเป็นเพียงผลพลอยได้ คนรอบข้างก็คงอยากให้เราได้เหรียญทองเป็นฑรรมดา แต่ผมจะไม่พยายามกดดันตัวเอง เพราะการกดดันตัวเองด้วยเป้าหมาย มักจะเกิดผลเสียมากกว่าผลดี”
นายภานุพงศ์ ภาสุภัทร (ไอซ์) วัย 17 ปี บอกว่า ทฤษฎีคอมพิวเตอร์นั้น เป็นส่วนที่ประกอบด้วยการพิสูจน์ และการพัฒนาโปรแกรมให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม ซึ่งเป็นความสวยงามของตรรกะ ส่วน การเขียนโปรแกรมและการทำโจทย์เป็นการฝึกหัดใช้ความสามารถ เป็นเวทีที่ให้ผู้แข่งขันปลดปล่อยเทคนิคของตนเองอย่างเต็มที่
น้องไอซ์นั้นเคยได้ 1 เหรียญทอง และ 2 เหรียญเงินจากการแข่งขันคณิตศาสตร์โอลิมปิกมาแล้ว สำหรับปีนี้สนใจไปแข่งคอมพิวเตอร์โอลิมปิก เพราะอยากนำความรู้ทางคณิตศาสตร์มาประยุกต์ใช้กับคอมพิวเตอร์ จึงไม่ต้องสงสัยว่า พื้นฐานของหน่มน้อยคนนี้แน่นปึ๊กเลยทีเดียว “ผมมั่นใจว่าอย่างน้อยต้องได้ประสบการณ์ดี ๆ กลับมาแน่นอน ส่วนเรื่องเหรียญรางวัลเป็นเพียงของขวัญให้กับความพยายามของผม ไม่ได้ตั้งเป้าไว้ครับว่าจะต้องได้เหรียญอะไรกลับมา”
นายวิสิฐ ภัทรนุธาพร (โม) วัย 17 ปี เจ้าของเหรียญเงินจากการแข่งขันคอมพิวเตอร์โอลิมปิกระดับเอเซียแปซิฟิก เล่าว่า เมื่อได้เป็นผู้แทนประเทศไทย ฯ ภูมิใจมากครับ เกินที่คาดไว้มาก ที่สามารถมาถึงจุดนี้ได้มีความกดดันพอสมควร การเตรียมความพร้อมก็คือฝึกทักษะการแก้ปัยหา การทำสมาธิ การ ฝึกตั้งสติให้นิ่ง มีความมั่นใจพอสมควร รางวัลไม่ได้คาดหวังมาก ที่ตังเป้าไว้อย่างน้อยคือเหรียญทองแดง “ผมขอขอบคุณทุกคนที่สนใจและให้กำลังใจพวกเราครับ”
นายอาภาพงศ์ จันทร์ทอง (เพลน) วัย 17 ปี บอกว่า ชอบเรียนคณิตศาสตร์มากที่สุดครับ มันสนุก เพราะมันต้องคิด ผมชอบท้าทายตัวเองครับ ส่วนที่เข้าโอลิมปิกวิชาการวิชาคอมพิวเตอร์ เพราะสอบรอบแรกเห็นว่าสอบคณิตศาสตร์ พอสอบติดแล้วรู้ว่าต้องเขียนโปรแกรม ก็เลยศึกษาการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ตั้งแต่นั้นมา
“ผมชอบตอนที่ต้องแก้ปัญหาโจทย์มากเลยครับ แต่ก็ไม่ชอบเขียนโปรแกรมยาว ๆ เท่าไหร่ มันเหนื่อยน่ะครับ สำหรับการเตรียมตัวของผม คือ การฝึกเขียนโปรแกรมให้คล่อง เพราะผมยังเขียนโปรแกรมยาว ๆ มากไม่ได้ มักจะ bug บ่อย ๆ การแข่งขันครั้งนี้อย่างน้อยผมก็ตั้งเป้าเอาไว้ว่าต้องได้เหรียญ ส่วนจะได้เหรียญอะไรนั้นก็ค่อยว่ากันครับ”
สอบถามเพิ่มเติมที่ โทร. 0 2392 4021 ต่อ 1111 หรือ 1210

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ