กรุงเทพฯ--25 ส.ค.--เอฟเฟ็คทีฟ พีอาร์
กำไรต่อหุ้นเพิ่มขึ้นจาก 0.04 บาท มาอยู่ที่ 0.05 บาท สร้างความมั่นใจให้นักลงทุนอย่างต่อเนื่องหลังพลิกจากเช่าซื้อจักรยานยนต์มาเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน
บริษัท ซิงเกอร์ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) โดยนายดาเนียล ไมเคิล ฟิลิโปเนท์ รองประธานกรรมการ และกรรมการผู้จัดการ รายงานผลประกอบการในไตรมาส 2 ของปี 2551 ต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยบริษัทฯมีผลการดำเนินงานในไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 ที่ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสที่ 1 ของปีเดียวกัน ซึ่งบริษัทได้กลับมาสร้างผลกำไรอย่างต่อเนื่อง โดยมีกำไรสุทธิที่ 12.9 ล้านบาท สูงขึ้นจาก 10.5 ล้านบาทในไตรมาสที่ 1 ของปีนี้ หรือร้อยละ 23.3 และจากการขาดทุนที่สูงถึง 116.6 ล้านบาท เมื่อเทียบกับผลประกอบการในไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 กำไรต่อหุ้นปรับตัวสูงขึ้นจากการขาดทุน 0.43 บาทต่อหุ้น ในใตรมาสที่ 2 ของปี 2550 และกำไร 0.04 บาทต่อหุ้น ณ ไตรมาสที่ 1 ปี 2551 เป็น 0.05 บาทต่อหุ้น ณ สิ้นสุดไตรมาสที่ 2 ขอปีนี้
อย่างไรก็ตามบริษัทฯ มีรายได้ประจำไตรมาสลดลงจาก 697.7 ล้านบาทในไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 มาอยู่ที่ 615.3 ล้านบาท หรือลดลงเท่ากับร้อยละ 11.8 อันเป็นผลมาจากยอดขายสุทธิของสินค้าที่ลดลง สืบเนื่องมาจากยอดจำหน่ายรถจักรยานยนตร์ที่ลดลงสูงถึงร้อยละ 78.4 หรือ 94.6 ล้านบาท ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของบริษัทฯ ที่กลับมาเน้นการให้เช่าซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน สำหรับยอดจำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้ามีการปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 7.8 หรือ 32.2 ล้านบาท แต่ก็ไม่สามารถทดแทนการลดลงของรายได้จากรถจักรยานยนต์ได้
บริษัทฯ มียอดบัญชีเช่าซื่อทั้งหมด ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2551 อยู่ที่ 211,777 บัญชี ลดลงจาก 230,957 บัญชี ณ สิ้นสุดเดือนธันวาคม 2550 ซึ่งเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของบัญชีที่ปิด และยึดคืนของรถจักรยานยนต์ ที่มีบัญชีเช่าซื้อเหลืออยู่เพียง 33,271 บัญชี หรือคิดเป็นร้อยละ 15.7 ของบัญชีทั้งหมด การเก็บเงินซึ่งคำนวณมาจากจำนวนบัญชีที่รับชำระต่อจำนวนบัญชีเช่าซื้อทั้งหมด ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2551 เพิ่มขึ้นเท่ากับร้อยละ 3.04 เมื่อเปรียบเทียบกับการเก็บเงิน ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2550 บริษัทได้รับกระแสเงินสดจากการดำเนินงานสำหรับไตรมาสที่สองของปี 2551 เป็นเงิน 53 ล้านบาท และเมื่อรวมทั้งสองไตรมาสบริษัทมีกระแสเงินสดจากการดำเนินงานเท่ากับ 200.7 ล้านบาทยอดรวมเงินกู้ทั้งหมดของบริษัทลดลง 160.9 ล้านบาท โดยเงินกู้ระยะยาวลดลง 161.7 ล้านบาท จาก 683.3 ล้านบาท ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2550 ลดลงเหลือเท่ากับ 521.6 ล้านบาท ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2551 ในขณะที่เงินกู้ระยะสั้นเพิ่มขึ้นเพียง 0.8 ล้านบาทจาก 653.2 ล้านบาท ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2550 เพิ่มขึ้นเป็น 654.0 ล้านบาท ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2551
“กลยุทธ์ในการตีแลกเปลี่ยนสินค้า (Trade-in) ทุกชนิด ทุกยี่ห้อ ที่บริษัทฯได้ทำการประชาสัมพันธ์ทางโทรทัศน์ได้รับการตอบรับจากลูกค้าอย่างท่วมท้น จนทำให้บริษัทวางแผนที่จะดำเนินการต่อไปจนถึงสิ้นปี 2551 เพื่อเป็นการสร้างโอกาสทางธุรกิจสำหรับตลาดสินค้าทดแทนให้กับบริษัทฯ ได้อย่างมหาศาล บริษัทฯ สามารถปรับเปลี่ยนธุรกิจหลักจากรถจักรยานยนต์มาเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านได้สำเร็จดังจะเห็นได้จากสัดส่วนของยอดขายขั้นต้นของสินค้าไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 ที่ประกอบด้วยยอดขายขั้นต้นของรถจักรยานยนต์ที่ลดลงเหลือเพียง 5.5% ของยอดขายขั้นต้นของสินค้าทั้งหมด โดยนอกจากนี้ บริษัทฯ ยังได้มีการพัฒนากระบวนการขายแบบเช่าซื้อและการปรับปรุงฐานข้อมูลลูกค้าบริษัทภายใต้การแนะนำของหัวหน้าของผู้ตรวจสอบภายในของบริษัทซิงเกอร์สำนักงานใหญ่ เพื่อทำให้ฐานข้อมูลของลูกค้าและผู้ค้ำประกันของลูกค้าเป็นปัจจุบันและครบถ้วน ควบคู่ไปกับการพัฒนากระบวนการอนุมัติสินเชื่อให้รวดเร็วด้วยการการปรับปรุงการทำงานของผู้ตรวจสอบบัญชีให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น” นายดาเนียล ไมเคิล ฟิลิโปเนท์ กล่าวสรุป
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
บุษกร คนหลัก โทร 02-973-2700 มือถือ 089-686-7145
- พ.ย. ๒๕๖๗ ภาพข่าว: ซิงเกอร์ ประเทศไทยประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 52
- พ.ย. ๒๕๖๗ "ซิงเกอร์"หน้าชื้น ปลื้มผลประกอบการปรับตัวดีขึ้น ไตรมาสที่ 3 ขาดทุนลดเหลือ 105 ล้าน ฟุ้งยอดกระแสเงินสดกว่า 770 ล้านบาท
- ๒๓ พ.ย. SINGER ตามนัด! ควักกระเป๋าชำระหุ้นกู้ 2,000 ล้านบาท
- ๒๔ พ.ย. SINGER ปลื้มหุ้นกู้ระยะสั้น ขายหมดเกลี้ยง 400 ลบ.
- ๒๓ พ.ย. SINGER จับมือ SGC เผยกระแสร้อนแรงของสินเชื่อสมาร์ทโฟน SG Finance+ ตั้งเป้าปีนี้ยอดปล่อยโตแตะ 3,000 ล้านบาท ภายใต้ 300,000 สัญญา