วว. ผนึกกำลังบริษัทห้องปฏิบัติการกลางฯพัฒนางานวิจัยวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี

พุธ ๒๗ สิงหาคม ๒๐๐๘ ๑๕:๔๕
กรุงเทพฯ--27 ส.ค.--วว.
วันนี้ (27 ส.ค. 2551 ) ดร.นงลักษณ์ ปานเกิดดี ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และนายศรณ์ กันตรัตนากุล กรรมการผู้จัดการ บริษัทห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลง “โครงการความร่วมมือด้านการวิจัยและ
พัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” ณ ห้องประชุมใหญ่ บริษัทห้องปฏิบัติการกลาง
ดร.นงลักษณ์ ปานเกิดดี ผู้ว่าการ วว. กล่าวชี้แจงถึงวัตถุประสงค์ความร่วมมือดังกล่าวว่า เพื่อสร้างความร่วมมือ ส่งเสริมและสนับสนุน ในการเพิ่มศักยภาพของ วว. และบริษัทห้องปฏิบัติการกลางฯ เกี่ยวกับการศึกษาหรือค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งการพัฒนาผลของการศึกษา/ค้นคว้า ทั้งนี้เพื่อนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติอย่างเหมาะสมต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของประเทศ โดยมีระยะเวลาความร่วมมือ 2 ปี
กรอบความร่วมมือในครั้งนี้จะครอบคลุมในการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของ วว. และบริษัท ทั้งทางด้านงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การนำผลของการวิจัยไปใช้ให้เป็นประโยชน์ การแลกเปลี่ยนข่าวสารและเอกสารทางวิชาการที่เป็นการสนับสนุนซึ่งกันและกัน การร่วมกันพัฒนาบุคลากร เพื่อเสริมสร้างประสบการณ์และพัฒนาองค์ความรู้ รวมทั้งร่วมมือในการดำเนินการวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
“…วว. มีนักวิชาการ นักวิจัย หลากหลายสาขา มีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ด้านการวิจัยและพัฒนา สามารถผลิตผลงานที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศจำนวนมาก ความร่วมมือกับบริษัทห้องปฏิบัติการกลางฯ ในครั้งนี้จะทำให้เกิดการส่งเสริมและสนับสนุนซึ่งกันและกัน สร้างเครือข่ายด้านห้องปฏิบัติการให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น เนื่องจากบริษัทห้องปฏิบัติการกลางฯ นั้น มีห้องปฏิบัติการตรวจสอบที่ทันสมัยระดับโลกและมีสาขาทุกภาคทั่วประเทศมากถึง 6 แห่ง” ผู้ว่าการ วว. กล่าว
ปัจจุบัน วว. มุ่งเป็นองค์กรนวัตกรรมเทคโนโลยีผสมผสานชั้นนำของอาเซียน เป็นศูนย์กลางการบริการที่ทันสมัย มีการจัดการแบบธรรมาภิบาล และร่วมพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้ ครอบคลุมด้านการพัฒนาธุรกิจและการตลาด การวิจัยและพัฒนาด้านอุตสาหกรรมชีวภาพ ได้แก่ เทคโนโลยีอาหาร เภสัชและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ วิทยาศาสตร์ชีวภาพ เทคโนโลยีการเกษตร ศูนย์การบรรจุหีบห่อไทย ด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน ได้แก่ พลังงาน เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร นวัตกรรมวัสดุ วิศวกรรม
อีกทั้งยังให้ความสำคัญในการให้บริการอุตสาหกรรม โดยมีหน่วยงานสนับสนุนที่เข้มแข็ง ได้แก่ ศูนย์ทดสอบและมาตรวิทยา ซึ่งมีห้องปฏิบัติการที่ทันสมัยให้บริการแก่ภาครัฐและเอกชน คือ ห้องปฏิบัติการมาตรฐานทางไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ห้องปฏิบัติการมาตรฐานทางแสงและอุณหภูมิ ห้องปฏิบัติการมาตรฐานวิศวกรรมทางกล ห้องปฏิบัติการทดสอบทางฟิสิกส์ ห้องปฏิบัติการเคมีวิเคราะห์ ห้องปฏิบัติการชีวเคมีและจุลชีววิทยา
รวมทั้งยังมี ศูนย์พัฒนาและวิเคราะห์สมบัติของวัสดุ ซึ่งมี ห้องปฏิบัติการตรวจสอบคุณสมบัติของวัสดุ ห้องปฏิบัติการตรวจสอบสภาพการใช้งาน และห้องปฏิบัติการพัฒนาคุณสมบัติของวัสดุ ให้บริการแก่ภาครัฐ ผู้ประกอบการ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ อีกทั้งยังมีศูนย์ความรู้ และสำนักรับรองระบบคุณภาพ ซึ่งให้บริการด้านการตรวจประเมินการรับรองมาตรฐานคุณภาพ ISO 9001 ISO 14001 GMP HACCP และ TIS 18001 เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนภาคการผลิตและการบริการของประเทศไทย ให้เข้าสู่ระบบคุณภาพมาตรฐานและเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าแข่งขันในระดับสากล
ขอรับบริการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจาก วว. ติดต่อ ได้ที่ โทร. 0 2577 9000 โทรสาร. 0 2577 9009 WWW.tistr.or.th E-mail : [email protected]

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ