กระทรวงวิทย์เร่งระดมความเห็นรับมือโลกร้อนจัดประชุมสมัชชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับภาวะโลกร้อน 17 ก.ย.นี้

พุธ ๐๓ กันยายน ๒๐๐๘ ๑๕:๒๖
กรุงเทพฯ--3 ก.ย.--กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เตรียมจัดประชุมใหญ่ 17 กันยายนนี้ หวังรับมือภาวะโลกร้อน เปิดรับฟังความเห็นผู้เกี่ยวข้อง ทั้งนักวิชาการ ประชาชาชน ชุมชน หลังเดินสายจัดประชุมระดมความคิดเห็นในส่วนภูมิภาค สงขลา-เชียงใหม่-ขอนแก่น ประสบผลสำเร็จ “วุฒิพงศ์ ฉายแสง” หวังร่างเป็นมาตรการเสนอรัฐบาลจัดทำนโยบายเผยแพร่สู่สาธารณชน
นายวุฒิพงศ์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่า การกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดเผยถึงการจัดประชุมสมัชชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนา ครั้งที่ 7 ในวันที่ 17 กันยายน 2551 ที่อิมแพค เมืองทองธานี ว่า “ในปีนี้ได้กำหนดให้เป็นเรื่อง “วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับภาวะโลกร้อน” เนื่องจากเป็นเรื่องที่ทุกประเทศกำลังตื่นตัว และในหลายประเทศเริ่มได้รับผลกระทบจากภาวะดังกล่าวแล้ว รวมทั้งประเทศไทยด้วย ซึ่งทางภาครัฐเองก็ได้กำหนดให้หลายหน่วยงานเตรียมพร้อม และเร่งรัดมาตรการเพื่อรับมือและบรรเทาผลกระทบจากภาวะโลกร้อน”
“ภาวะโลกร้อนเป็นปัญหาระดับโลก ทุกประเทศต่างก็ได้รับผลกระทบกันถ้วนหน้า ไม่เว้นแม้แต่ประเทศไทย ซึ่งแม้เราจะไม่ได้รับผลกระทบอย่างหนักเหมือนประเทศเพื่อนบ้าน แต่เราก็นิ่งนอนใจไม่ได้ เพราะขณะนี้มีสัญญาณเตือนจากธรรมชาติหลายอย่าง เช่น ภาวะขาดแคลนน้ำอย่างหนักในพื้นที่ลุ่มน้ำขนาดใหญ่ ภาวะน้ำท่วมที่รุนแรงขึ้นทุกปี หรือว่าล่าสุดที่มีการคาดการณ์ว่า อาจะเกิด Storm Surge ในบริเวณชายฝั่งอ่าวไทย ดังนั้น ทุกภาคส่วนในประเทศไทยควรจะตระหนักและให้ความสำคัญกับปัญหาภาวะโลกร้อนให้มากขึ้น เพื่อที่จะได้ร่วมกันหาแนวทางแก้ไข และรับมือกับสภาวการณ์ต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ” นายวุฒิพงศ์ฯ กล่าว
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกล่าวเพิ่มเติมว่า “ในส่วนของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้พัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการปรับตัวต่อภาวะโลกร้อนอยู่ไม่น้อย เช่น การพัฒนาพันธุ์พืชทนแล้งและน้ำท่วมเพื่อช่วยในการปรับตัวของพืชและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการฟื้นฟูพื้นที่ดินเค็ม การจัดทำแผนที่นำทางทางด้านพลังงานชีวภาพ การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มผลผลิตอ้อย มันสำปะหลัง และปาล์มน้ำมันเพื่อผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ การพัฒนาเซลล์เชื้อเพลิง ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้จะช่วยให้เกิดการสร้างแหล่งพลังงานทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิล ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เป็นต้น”
การประชุมสมัชชาครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อเปิดโอกาสให้หน่วยงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคเอกชน รวมทั้งประชาชนทั่วไป ได้มีส่วนร่วมในเวทีการระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อน และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อเป็นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการดำเนินงานด้านการวิจัยและพัฒนา และเผยแพร่ความรู้และแนวทางการรับมือกับภาวะโลกร้อนสู่สาธารณชนต่อไป
การประชุมในส่วนกลางจะจัดขึ้นวันที่ 17 กันยายน 2551 ณ อิมแพ็ค เมืองธานี โดยพิธีเปิดได้เรียนเชิญนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน และภายในงานได้รับเกียรติจาก ดร.ไมเคิล โนเบล ทายาทรุ่นที่ 4 ของผู้ก่อตั้งรางวัลโนเบล มาบรรยายในหัวข้อ “Science and Technology in Coping with Global Warming in the International context” นอกจากนี้ยังมีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิหลายท่าน อาทิ รศ.ดร. สิรินทรเทพ เต้าประยูร บัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ในหัวข้อ “วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับภาวะโลกร้อน ในบริบทของประเทศไทย” นายศิริธัญญ์ ไพโรจน์บริบูรณ์ ผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ในหัวข้อ “คาร์บอนเครดิตกับโอกาสของภาคเอกชนไทย”
“ขณะนี้ได้รับการตอบรับจากนักวิชาการ ผู้ประกอบการ และประชาชนที่ให้ความสนใจลงทะเบียนเข้าร่วมฟังการประชุมแล้วจำนวนมาก ซึ่งภายในงานจะมีการจัดประชุมกลุ่มย่อยเพื่อให้ผู้เข้าร่วมได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่ โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 “คาร์บอนเครดิตกับโอกาสของภาคเอกชนไทย” กลุ่มที่ 2 “การใช้พลังงานในอาคารอย่างมีประสิทธิภาพ” และกลุ่มที่ 3 “การใช้พลังงานในภาคการขนส่งอย่างมีประสิทธิภาพ และยังจัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับสาเหตุของปัญหาภาวะโลกร้อน และแนวทางการแก้ไขปัญหาด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจากหน่วยงานในกระทรวงฯ”
ที่ผ่านมากระทรวงฯ ได้ดำเนินการจัดการประชุมสมัชชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนา ครั้งที่ 7 ในส่วนภูมิภาค ใน 3 จังหวัด ได้แก่ ครั้งที่ 1 ภาคใต้ (จังหวัดสงขลา) เรื่อง “ภาวะโลกร้อนกับผลกระทบชายฝั่งและโอกาสของพลังงานชีวภาพ” ครั้งที่ 2 ภาคเหนือ (จังหวัดเชียงใหม่) เรื่อง “ภาวะโลกร้อนและการใช้ประโยชน์จากป่าเศรษฐกิจ” และครั้งที่ 3 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (จังหวัดขอนแก่น) เรื่อง “ภาวะโลกร้อนกับการจัดการลุ่มน้ำและพืชเศรษฐกิจ” ซึ่งได้รับการตอบรับอย่างดีจากกลุ่มนักวิชาการ ภาคการผลิต ข้าราชการ รวมถึงประชาชนทั่วไปเข้าร่วมประชุมจำนวนมาก ซึ่งได้ช่วยกันระดมความคิดเห็นและร่วมสร้างความเข้าใจในปัญหา เพื่อเป็นแรงกระตุ้นในการสร้างความตระหนักให้เห็นถึงความสำคัญของปัญหาภาวะโลกร้อน และนำไปสู่การร่วมกันกำหนดแนวทางรับมือต่อปัญหาวิกฤติโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั้งในปัจจุบันและในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
ผู้สนใจสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมและลงทะเบียนเพื่อร่วมการประชุมดังกล่าวได้ที่ www.nia.or.th

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๐ คปภ. เปิดตัวคู่มือการทำประกันภัยความเสี่ยงภัยทรัพย์สิน (IAR) และการประกันอัคคีภัย แนะแนวทางการกำหนดจำนวนเงินเอาประกันภัยอย่างเหมาะสม
๑๖:๒๖ SiteMinder เผย โรงแรมไทยเติบโต ก้าวเป็นผู้นำตลาด หลังนักท่องเที่ยวต่างชาติหลั่งไหลเข้าประเทศ
๑๗:๕๙ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊งให้การต้อนรับ เอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทย ณ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง พลับพลาไชย กรุงเทพฯ
๑๖:๐๐ fintips by ttb เผยเคล็ดลับ รถใหม่ป้ายแดงหรือรถมือสอง เลือกแบบไหนให้เหมาะกับเราที่สุด
๑๖:๐๐ มาแล้ว! เปิดตัว Samsung Galaxy S25 ซีรีส์ใหม่ล่าสุด มาพร้อม Galaxy AI ผู้ช่วยส่วนตัวคนใหม่ของคนไทย ตอบโจทย์รู้ใจทุกความต้องการเฉพาะคน
๑๖:๐๐ กทม. เดินหน้ากำจัดปลาหมอคางดำ ลดผลกระทบเกษตรกร-แปรรูปสร้างรายได้
๑๖:๐๐ เดอะไนน์ เซ็นเตอร์ พระราม 9 ร่วมฉลองเทศกาลตรุษจีนยิ่งใหญ่ Chinese Market 2025 ช้อปสินค้ามงคล เสริมดวงโชคดีมั่งมี
๑๖:๐๐ SNPS ต้อนรับ คณะผู้บริหารและนักวิจัยสภากาชาดไทย
๑๕:๒๔ BEST Supply Chain ยกระดับจัดการคลังสินค้ายุคใหม่ ชู BEST Fulfillment เพิ่มประสิทธิภาพจัดการสินค้า จบครบในที่เดียว
๑๕:๐๐ เด็กซ์ซอนผนึกกำลังภาคีเครือข่าย TCCA ตอกย้ำความมุ่งมั่นด้านความยั่งยืน มุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero