กรุงเทพฯ--8 ก.ย.--กรมธุรกิจพลังงาน
กรมธุรกิจพลังงานแก้ปัญหาการขนส่งน้ำมันในช่วงเปลี่ยนผ่านการใช้ระบบ VRU ศึกษาการดัดแปลงรถขนส่งน้ำมันระบบเติมน้ำมันด้านบนถัง ให้สามารถเก็บไอน้ำมันเชื้อเพลิงได้ โดยใช้ต้นทุนต่ำ
นายเมตตา บันเทิงสุข อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.) เปิดเผยว่า กรมธุรกิจพลังงานได้ติดตามผลการปฏิบัติ การประกาศใช้กฎกระทรวงควบคุมไอน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.2550 โดยกำหนดให้มีการติดตั้งหน่วยควบคุมไอน้ำมัน (Vapor Recovery Unit) หรือ VRU ที่คลังน้ำมันเชื้อเพลิง สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง และรถขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิง ในเขตกรุงเทพ และปริมณฑล และเขตพื้นที่ที่มีคลังน้ำมันอีก 7 จังหวัด ซึ่งจากการติดตามผล พบปัญหาในช่วงระหว่างการเปลี่ยนผ่าน ที่ให้รถขนส่งน้ำมันใหม่ ต้องเป็นระบบเติมน้ำมันใต้ถัง (Bottom loading) ทั้งหมด ส่วนรถที่มีอยู่เดิม ที่เป็นระบบเติมน้ำมันจากด้านบนถัง (Top Loading) ให้เปลี่ยนเป็นระบบ Bottom loading นั้น ทำให้รถขนส่งน้ำมันแบบเดิมที่มีอยู่ก่อน ถูกจำกัดสิทธิบางประการ คือไม่สามารถเข้าไปรับน้ำมันจากคลังน้ำมันได้ ส่วนรถขนส่งน้ำมันระบบ bottom loading ที่ไปส่งน้ำมันให้แก่สถานีบริการนอกเขตควบคุม ก็ไม่มีการรับไอน้ำมันกลับมายังคลังน้ำมันได้ เนื่องจากสถานีบริการนอกเขตควบคุมยังไม่มีการติดตั้งระบบเก็บไอน้ำมัน ทำให้ต้องขาดประโยชน์ในส่วนนี้ไป ประกอบกับค่าใช้จ่ายในการดัดแปลงรถขนส่งให้เป็น bottom loading มีต้นทุนสูง ประมาณ 300,000 — 500,000 บาทต่อคัน หรือ 2,000,000 บาท สำหรับรถใหม่ ทำให้เกิดภาระแก่ผู้ประกอบการ
ขณะนี้ รถขนส่งน้ำมันส่วนใหญ่ ยังคงเป็นแบบ top loading มีการเปลี่ยนแปลงเป็น bottom loading ค่อนข้างน้อย ดังนั้น เพื่อป้องกันผลกระทบต่อการขนส่งน้ำมันไม่ให้หยุดชะงัก เมื่อกฎหมายมีผลบังคับใช้ให้เป็น bottom loading ในช่วงกลางปี 2552 กรมธุรกิจพลังงานได้หาทางแก้ปัญหาการขนส่งน้ำมันในช่วงการเปลี่ยนผ่านของระบบ VRU โดยได้ศึกษาวิธีปฏิบัติของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีการดัดแปลงให้รถขนส่งน้ำมันแบบเดิมที่เป็นรถฝาถังด้านบน สามารถนำไอระเหยน้ำมันส่งยังคลังน้ำมันได้ และสามารถนำรถเข้าไปรับน้ำมันจากคลังน้ำมันได้ โดยใช้ต้นทุนต่ำในการดัดแปลงเพียง 3-5% ของรถใหม่ และ 20-30% ของรถดัดแปลง ซึ่งเป็นการช่วยเหลือให้รถแบบ top loading ที่ผ่านการดัดแปลงสามารถใช้งานต่อไปได้ ซึ่งรถแบบ top loading ที่ดัดแปลงแล้ว สามารถควบคุมไอน้ำมันได้ อาจมีเล็ดลอดบ้างแต่เป็นสัดส่วนที่น้อย คาดว่าไม่เกินมาตรฐานที่กรมควบคุมมลพิษกำหนดที่ 17 mg. ในมวลอากาศ 1 ลิตร
“ จากการประกาศใช้กฎกระทรวงควบคุมไอน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2550 ทั้ง ระยะที่ 1 และระยะที่ 2 สามารถควบคุมการขนส่งให้อยู่ในระบบได้ถึง 70% และต่อไปอาจจะขยายผลให้ครอบคลุมในส่วนของทางเรือด้วย ซึ่งผลจากการควบคุมไอน้ำมันเชื้อเพลิง เป็นการลดการแพร่กระจายของไอน้ำมันเชื้อเพลิงซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ลดมลพิษทางอากาศ และแก้ปัญหาภาวะโลกร้อน นอกจากนี้ ยังสามารถนำน้ำมันที่ระเหยไป กลับมาใช้เป็นน้ำมันได้อีก ซึ่งนับว่าเป็นการประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงช่วยให้ประเทศชาติลดการนำเข้าพลังงานได้อีกทางหนึ่งด้วย” นายเมตตากล่าว
- พ.ย. ๒๕๖๗ กรมธุรกิจพลังงานห่วงใยปัญหาสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยของประชาชน
- พ.ย. ๒๕๖๗ กรมธุรกิจพลังงาน ออกกฎกระทรวงควบคุมไอน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2550 ดูแลสุขภาพประชาชนทั่วประเทศ
- พ.ย. ๙๗๔๕ เกษียณรองปลัดกระทรวงพลังงาน เมตตา บันเทิงสุข
- พ.ย. ๒๕๖๗ สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์กระทรวงพลังงาน จัดกิจกรรม “เปิดตัวภาพยนตร์โฆษณา(TVC)กระทรวงพลังงาน ชุด กลับบ้าน (Campaign มีพลังงาน มีความสุข)
- พ.ย. ๒๕๖๗ ภาพข่าว: กระทรวงพลังงาน จัดกิจกรรม CSR “พลังใจ พลังงาน : ปลูกป่า 4 ภาค” เป้าหมายกว่า 60,000 ต้น