ผู้ผลิตข้าวโพดหวานยุโรปร้อง EU ใช้มาตรการ Anti Dumping เตรียมขึ้นภาษีข้าวโพดหวานไทยอ้างเสียตลาดจากไทยตัดราคา

จันทร์ ๑๑ กรกฎาคม ๒๐๐๕ ๑๔:๐๓
กรุงเทพฯ--11 ก.ค.--อินคริสซ์ เน็ทเวิร์ค เอเจนซี แอนด์ คอนซัลแทนส์
-เอกชนไทยรวมตัวปกป้องสิทธิ์-ร้องกระทรวงพาณิชย์ชี้แจง EU ยืนยันความจริง-
นายโรจน์ บุรุษรัตนพันธุ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ริเวอร์แคว อินเตอร์เนชั่นแนล อุตสาหกรรมอาหาร จำกัด ผู้ผลิตและส่งออกข้าวโพดหวานรายใหญ่ของประเทศไทย เปิดเผยว่า จากบทความในนิตยสาร FOODNEWS ซึ่งตีพิมพ์และเผยแพร่ในยุโรปช่วงเดือนที่ผ่านมา มีใจความตอนหนึ่งว่า ...กลุ่มผู้ผลิตข้าวโพดหวานในยุโรป คือ ฝรั่งเศส และ ฮังการี ได้ยื่นเรื่องให้คณะกรรมการสหภาพยุโรปหรือ EU พิจารณาขึ้นภาษีข้าวโพอหวานจากประเทศไทยอีกร้อยละ 15 เป็นร้อยละ 20.1 เมื่อกลางเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา โดยประธานสมาคมผู้ผลิตข้าวโพดหวานของยุโรป ได้ร้องเรียนผู้ส่งออกข้าวโพดหวานจากประเทศไทย ส่งสินค้าข้าวโพดหวานบรรจุกระป๋องไปขายตัดราคาในยุโรป ทำให้ผู้ผลิตในฝรั่งเศส และ ฮังการี ได้รับความเดือดร้อน สูญเสียส่วนแบ่งการตลาดไป จนทำให้หลายโรงงานมีปัญหาทางด้านการเงิน ซึ่งทางสมาคมผู้ผลิตในยุโรปไม่มีทางเลือกอื่นที่จะปกป้องอุตสาหกรรม นอกจากการเสนอใช้มาตรการ Anti Dumping ด้วยการขอให้ขึ้นภาษีในครั้งนี้...จากบทความนี้ทางกลุ่มผู้ผลิตข้าวโพดหวานของประเทศไทย ได้ร่วมกันประชุมเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยได้แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อติดตามประเมินสถานการณ์ และเตรียมประสานงานกับกระทรวงพาณิชย์เพื่อทำเรื่องชี้แจงกับทาง EU ต่อไป เนื่องจากในปีที่ผ่านมาประเทศไทยได้ส่งสินค้าข้าวโพดหวานบรรจุกระป๋องขายไปในตลาดโลก 95,806 ตัน มูลค่ารวม 2,709 ล้านบาท โดยตลาดยุโรปเป็นตลาดใหญ่สุด ปริมาร 53,652 คัน มูลค่ารวม 1,673 ล้านบาท หรือประมาณร้อยละ 62 ของมูลค่ารวม
นายโรจน์ให้ความเห็นว่า หากทางคณะกรรมการสหภาพ EU มีมติเห็นชอบตามที่สมาคมผู้ผลิตข้าวโพดหวานของยุโรปเสนอไปจะก่อให้เกิดความเสียหายกับอุตสาหกรรมของประเทศเป็นอย่างมาก เนื่องจากตลาด EU เป็นตลาดที่สำคัญที่สุดของสินค้าข้าวโพดหวานจากประเทศไทย และมีแนวโน้มความต้องการมากขึ้นทุกปี ทางผู้ผลิตในยุโรปเองมีต้นทุนการผลิตสูงกว่าประเทศไทย จึงทำให้ขีดความสามารถในการแข่งขันลดลง แต่หากพิจารณาตามความเป็นธรรมแล้ว การแข่งขันในโลกเสรีน่าจะเปิดกว้างให้ผู้บริโภคเป็นผู้ตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า ข้าวโพดหวานของยุโรปโดยรวมยังมีคุณภาพสูงกว่าของประเทศไทย เนื่องจากมีประสบการณ์ของอุตสาหกรรมมานาน ไม่ว่าจะเป็นการปรับปรุงสายพันธุ์ หรือ ขบวนการผลิตที่ใช้เทคโนโลยีสูง การวางตำแหน่งของสินค้าอยู่ในกลุ่มบน มีการทำตลาดด้วย แบรนด์สินค้า ราคาก็ควรสูงกว่า สินค้าจากประเทศไทยที่ยังต้องพัฒนาคุณภาพ และผู้นำเข้าส่วนใหญ่นำไปขายเป็น House Brand หรือตาม Discount Store อย่างไรก็ตาม ผู้ผลิตในประเทศไทยควรต้องเริ่มพัฒนาคุณภาพสินค้ากันอย่างจริงจัง เพื่อเพิ่มศักยภาพการขายไปยังกลุ่มบนที่ยอมรับราคาสินค้าที่เหมาะสม น่าจะได้ประโยชน์และผลตอบแทนในระยะยาวที่ดีกว่าการขายราคาต่ำ แล้วมีการตัดราคากันเอง จนก่อให้เกิดโต้แย้งจากทาง EU ในปัจจุบัน
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ
บริษัท อินคริสซ์ เน็ทเวิร์ค เอเจนซี แอนด์ คอนซัลแทนส์ จำกัด
จินตนา ตรีพิชิต โทร. 02-9861135, 02-986-1854--จบ--

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๙:๐๐ รำไพพรรณีจับมือโรงเรียนในจันทบุรี พัฒนาทักษะภาษา สู่ความเป็นเลิศ
๐๙:๐๐ DITP แถลงข่าวตอกย้ำความสำเร็จ E-Academy ภายใต้แนวคิด Beyond Boundaries Transform Knowledge into Impact
๐๙:๐๐ เปิดให้จองแล้ว Samsung Galaxy S25 Series ผู้ช่วยส่วนตัวคนใหม่ของคนไทย พร้อมรับสิทธิพิเศษมากมาย
๐๙:๐๐ ศูนย์หนังสือจุฬาฯ เชิญร่วมงานเสวนา โปรตุเกส.เหตุที่รั
๐๙:๐๐ การเคหะแห่งชาติจับมือ 3 หน่วยงาน พัฒนาศักยภาพเพิ่มทักษะชาวชุมชนหวังสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ ลดความเหลื่อมล้ำเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี
๐๙:๐๐ ก้อย-นัตตี้-ดรีม ชีเสิร์ฟความฮอตแบบไม่พัก รับบทพรีเซ็นเตอร์ชุดชั้นในวาโก้ โชว์ความเนียนยืนหนึ่งระดับตัวมัม!
๐๙:๐๐ เจาะลึกคีย์เทคโนโลยี AI ฝีมือคนไทย บนแอปสินเชื่อ มันนี่ทันเดอร์ พลังขับเคลื่อนสำคัญที่ อบาคัส ดิจิทัล
๐๘:๑๓ เปิดความปัง มั่งมีรับปีใหม่ กับ แมคโดนัลด์ 'มั่งมีเบอร์เกอร์ x MY MELODY' ยกขบวนความน่ารัก MY MELODY กับแพ็กเกจจิงและ กระเป๋า Tote Bag
๐๘:๑๑ ถอดรหัสความสำเร็จ Fundao แบรนด์กระเป๋าไทยของผู้หญิงยุคใหม่ กับสถิติยอดขายช่วงแคมเปญเพิ่มขึ้นกว่าปกติถึง
๐๘:๐๐ เปลี่ยนธุรกิจคุณให้โตคูณร้อย กับหลักสูตร CMF เปิดรับสมัครรุ่นที่ 21 แล้ววันนี้ !!