กรุงเทพฯ--18 ก.ย.--คอร์ แอนด์ พีค
นายรัฐสิริ ไข่แก้ว ผู้จัดการฝ่ายขายประจำประเทศไทย บริษัท เทรนด์ ไมโคร (ประเทศไทย) จำกัด ผู้นำระดับโลกด้านการรักษาความปลอดภัยข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต เปิดเผยถึงรายงานมัลแวร์และสแปมที่พบมากที่สุดในประเทศไทย 9 อันดับแรก ระหว่างวันที่ 15 สิงหาคม — 15 กันยายน 2551 ซึ่งจัดทำโดยศูนย์วิจัยเทรนด์แล็ปส์ พบว่า อันดับ 1 คือ MAL OTORUN1 พบไฟล์ที่ติดเชื้อจำนวน 41,014 ไฟล์ และมีเครื่องคอมพิวเตอร์ติดเชื้อนี้ประมาณ 21,386 เครื่อง อันดับ 2 คือ WORM YAHLOVER.AZ พบจำนวนไฟล์ติดเชื้อ 24,204 ไฟล์ และมีเครื่องคอมพิวเตอร์ติดเชื้อนี้ประมาณ 24,129 เครื่อง อันดับ 3 คือ POSSIBLE MLWR-5 พบจำนวนไฟล์ที่ติดเชื้อ 15,859 ไฟล์ และมีเครื่องคอมพิวเตอร์ติดเชื้อนี้ประมาณ 15,852 เครื่อง ดูรายงานเพิ่มเติมได้ตามตาราง
รายงานการจัดอันดับภัยคุกคามที่พบมากที่สุดในประเทศไทย
ระหว่างวันที่ 15 สิงหาคม — 15 กันยายน 2551
อันดับ ชื่อมัลแวร์และสแปมที่พบ จำนวนไฟล์ที่ติดเชื้อ (ไฟล์) จำนวนคอมพิวเตอร์ที่ติดเชื้อ (เครื่อง)
1 MAL OTORUN1 41,014 21,386
2 WORM YAHLOVER.AZ 24,204 24,129
3 POSSIBLE MLWR-5 15,859 15,852
4 TROJ EXCHANGER.U 10,466 10,458
5 CRYP UPACK 9,750 6,827
6 PE SALITY.EN-1 7,785 1,629
7 WORM YAHLOVER.AL 7,601 7,161
8 VBS SOLOW.C 5,313 5,306
9 VBS AGENT.AXUZ 2,669 2,174
นายรัฐสิริกล่าวถึงวิธีรับมือกับภัยคุกคามสำหรับผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตว่า “เพื่อป้องกันภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ ทั้งนี้สำหรับผู้ใช้งานในองค์กรหรือหน่วยงานต่างๆควรหมั่นใช้ระบบสแกนหาไวรัสทางอินเทอร์เน็ตให้เหมือนกับระบบสแกนอีเมลที่มีใช้กันมานานแล้ว ใช้ระบบสแกนสปายแวร์สำหรับองค์กร, ปิดกั้นการเข้าถึงเครือข่ายองค์กรของโปรโตคอลที่ไม่จำเป็นโดยเฉพาะโปรแกรมสนทนาออนไลน์ทั้ง หลาย, ใช้ซอฟต์แวร์สแกนช่องโหว่ในเครือข่าย และอย่าให้สิทธิพิเศษแก่ผู้ใช้งานในองค์กร, ผู้ดูแลระบบไอทีจะต้องให้ความรู้กับพนักงานหรือผู้ใช้งานในองค์กร โดยกำหนดนโยบายการใช้งานเครือข่ายองค์กรให้ชัดเจน”
“ในส่วนของผู้ใช้งานตามบ้าน (โฮมยูส) นั้น ต้องระวังการคลิกชมเว็บไซต์ที่ไม่รู้จักที่มีข้อแม้ให้คุณต้องติดตั้งซอฟต์แวร์ลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ และอย่าติดตั้งซอฟต์แวร์ใหม่จากเว็บไซต์ แปลกหน้า นอกจากคุณจะมั่นใจว่าเว็บไซต์หรือเจ้าของซอฟต์แวร์นั้นน่าเชื่อถือจริง, ควรสแกนโปรแกรมที่ดาวน์โหลดทางอินเทอร์เน็ตด้วยซอฟต์แวร์ป้องกันสปายแวร์และไวรัสที่ไดรับการอัพเดทแล้ว, และระวังอีเมล หน้าตาแปลกๆ อย่าเปิดไฟล์แนบท้าย หรือคลิกลิงค์ที่มาพร้อมกับอีเมล์ ไม่น่าไว้ใจ และควรใช้บริการสแกนไวรัสแบบเวลาจริง (เรียลไทม์) เพื่อช่วยให้การท่องโลกออนไลน์ปลอดภัยไร้กังวล" นายรัฐสิริกล่าวทิ้งท้าย
บริษัท เทรนด์ ไมโคร อิงค์. เป็นผู้นำระดับโลกการรักษาความปลอดภัยข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต โดยเน้นเรื่องความปลอดภัยของการแลกเปลี่ยนข้อมูลดิจิทัลสำหรับองค์กรธุรกิจและผู้บริโภค สำหรับผู้ที่สนใจต้องการศึกษาข้อมูลของภัยคุกคามรูปแบบใหม่ๆ ที่ศูนย์วิจัยเทรนด์แล็ปส์ของเทรนด์ ไมโครตรวจพบทั้งในประเทศไทย, ภูมิภาคเอเชีย และภูมิภาคอื่นๆ ทั่วโลก สามารถคลิกไปได้ที่ www.trendmicro.com/go/trendwatch หรือที่ http://itw.trendmicro.com/malware_spam_map.php
สื่อมวลชนสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ
คุณบุษกร สนธิกร และคุณศรีสุพัฒ เสียงเย็น
บริษัท คอร์ แอนด์ พีค จำกัด โทร. 02-439-4600 ต่อ 8202, 8300
อีเมล์: busakorns@corepeak, [email protected]
- ๒๒ ธ.ค. DAA เปิดอบรม 9 หลักสูตร ด้านการรักษาความปลอดภัยด้านการบิน ปี 68 ตั้งเป้าอัพสกิลบุคลากรตอบรับอุตสาหกรรมการบินและท่องเที่ยวฟื้นตัว
- ๒๓ ธ.ค. Access Control คืออะไร? มีกี่ประเภท สำคัญอย่างไรในการรักษาความปลอดภัย
- ๒๓ ธ.ค. Samsung One UI 7 ยกระดับความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวในยุค AI พร้อมมอบทางเลือกให้กับผู้ใช้ที่มากขึ้น