ภาสา อินเตอร์เมชั่น ชวนคนไทยใช้ “ภาษาไทย” ท่องเว็บไซต์โลกไซเบอร์ เปิดตัว บริการ “นามไทย” ชื่อไทยบน Internet Address Bar

ศุกร์ ๑๙ กันยายน ๒๐๐๘ ๑๑:๑๖
กรุงเทพฯ--19 ก.ย.--พีอาร์ แอนด์ แอสโซซิเอส
บริษัท ภาสา อินเตอร์เมชั่น จำกัด ร่วมมือเน็ตเปียคิดค้น “นามไทย” นวัตกรรมไอทีใหม่ล่าสุด กุญแจสำคัญในการ "ทลายกำแพงภาษา" ช่วยให้ "คนไทย" ทุกคนเข้าถึงและใช้งานอินเทอร์เน็ตอย่างรวดเร็ว สะดวกง่ายดายมากขึ้นด้วย “ภาษาไทย” คาดสิ้นปี 2552 จะมีลูกค้าทั้งภาครัฐและเอกชนไม่ต่ำกว่า 25,000 ราย
นายไผทสันต์ โพธิทัต กรรมการผู้อำนวยการ บริษัทภาสา อินเตอร์เมชั่น เปิดเผยว่า จากการที่ในปัจจุบันเทคโนโลยี "อินเทอร์เน็ต" ได้กลายเป็นคลังความรู้บรรจุข้อมูลข่าวสารที่เชื่อมโลกทั้งใบเข้าด้วยกัน แต่สำหรับคนไทย ที่ผ่านมาด้วยข้อจำกัดด้านภาษา ทำให้มีจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเพียง 13 ล้านคน จากจำนวนประชากรกว่า 63 ล้านคนทั่วประเทศ และมีอัตราการเติบโตอยู่ในระดับต่ำ โดยมีสาเหตุจากการที่มีคนไทยจำนวนมากที่ไม่ถนัดในการใช้ภาษาอังกฤษ ดังนั้นหากคนไทยสามารถใช้คำภาษาไทยในการค้นข้อมูลด้านต่างๆ ผ่านอินเทอร์เน็ตได้ อัตราการเติบโตของจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในไทยก็น่าที่จะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในอนาคต เหมือนกับหลายประเทศในเอเชีย เช่น เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ซึ่งเป็นประเทศที่มีภาษาเป็นของตนเอง และไม่ถนัดในการใช้ภาษาอังกฤษเป็นอย่างมาก
บริการ “นามไทย” ชื่อไทยบน Internet Address Bar” เป็นนวัตกรรมไอทีใหม่ล่าสุด ที่จะทำหน้าที่เป็นกุญแจสำคัญในการช่วยให้ "คนไทยทุกคน" เข้าถึงและใช้งานอินเทอร์เน็ตได้อย่างง่ายดาย สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น โดยบริษัท ภาสา อินเตอร์เมชั่น และเน็ตเปีย ผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยีไอทีจากประเทศเกาหลีใต้ ที่ร่วมกันนำ " Native Language Internet Address - NLIA" นวัตกรรมที่สามารถเข้าสู่เว็บไซต์ด้วยภาษาประจำชาติของตนเองที่ได้รับความนิยมแพร่หลายของนักท่องเน็ตในประเทศต่างๆ ทั่วโลก มาปรับปรุงและพัฒนาจนกลายเป็น ระบบ "Thai Internet Address" (THIA) หรือระบบ "ที่อยู่เว็บไซต์อินเทอร์เน็ตภาคภาษาไทย" เปิดทางให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตพิมพ์ภาษาไทยลงไปในช่อง "URL" ได้โดยตรง โดยแม้แต่ผู้ที่ไม่เคยใช้อินเทอร์เน็ตมาก่อนอย่างเด็กๆ หรือผู้สูงอายุก็จะสามารถใช้งานอินเทอร์เน็ต ภายใต้ระบบ “นามไทย” ได้
สำหรับผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วประเทศไทยที่เชื่อมต่อสัญญาณผ่าน "ไอเอสพี" ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต 5 บริษัทยักษ์ใหญ่ ได้แก่ บริษัททรู อินเทอร์เน็ต, อินเทอร์เน็ต เคเอสซี, ซีเอสล็อกซ์อินโฟ, ไอเน็ต และเจไอ เน็ต สามารถใช้งาน “นามไทย” เพื่อพบประสบการณ์ใหม่บนโลกอินเทอร์เน็ตได้ฟรีโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
“เพียงแค่พิมพ์ชื่อภาษาไทยของเว็บไซต์ที่ต้องการในช่อง Internet Address Bar ใน Microsoft internet explorer, Fire Fox หรือ Safari โดยไม่ต้องมี www หรือ .com และกดปุ่ม Enter หน้าเว็บบราวเซอร์จะเปิดเข้าไปยังเว็บไซต์ที่ต้องการโดยอัตโนมัติ แบบหนึ่งชื่อต่อหนึ่งเว็บไซต์ เช่น พิมพ์ คำว่า ทำบัตรประชาชน ลงบน แอดเดรสบาร์ แทนคำว่า www.dopa.go.th/dopanew/pidcard.html จะทำให้เราสามารถเข้าสู่ หน้าข้อมูลการทำบัตรประชาชนของกรมการปกครองได้ทันที หรือ พิมพ์คำว่า เลือกตั้งผู้ว่ากทม. นักท่องเว็บไซต์ก็จะสามารถเข้าสู่หน้า http://203.155.220.230/gis_online/gov47/index.asp ของกทม. ทันที”
สำหรับผู้ที่เดินทางบ่อยๆ ซึ่งไม่สะดวกที่ต้องระบุเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่แน่นอน สามารถเลือกใช้บริการ “นามไทย” ได้เช่นกัน โดยสามารถติดตั้ง โปรแกรม ประตูสู่ภาษาไทย (namaThai Helper) ซึ่งเป็นโปรแกรมประเภท Browser Helper Object ที่ช่วยในการใช้ภาษาไทยในช่องใส่ชื่อเว็บไซต์ (URL) ในช่อง Address Bar บนบราวเซอร์อย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้เวลาในการติดตั้งโปรแกรม ประตูสู่ภาษาไทย ซึ่งมีขนาดเพียง 600 KB ดังกล่าวได้เพียงไม่ถึง 1 นาที โดยผู้ใช้สามารถหาดาวน์โหลดโปรแกรม ประตูสู่ภาษาไทย (namaThai Helper) ได้ ในเว็บไซต์ของ www.namathai.com ได้ฟรี
นอกจากนี้ บริการ“นามไทย” ยังได้รับการออกแบบให้ทำงานร่วมกับเสิร์ชเอนจิ้นยอดนิยมอย่าง "กูเกิ้ล" “ไลฟ์เสิร์ช” “ยาฮู!” และ “สนุก” เพื่อให้ผู้ใช้งานมั่นใจว่าเมื่อพิมพ์คำไทยใดๆ ลงไป แม้อาจพิมพ์ตกหล่นไปบ้าง แต่ก็ยังจะได้ผลลัพธ์ตอบกลับมาตรงประเด็น-ใกล้เคียงที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้”
นายไผทสันต์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ระบบ THIA รวมถึงการพัฒนาของบริการเพิ่มเติมจาก THIA จะมีส่วนช่วยในการสนับสนุนและรักษาวัฒนธรรมไทย เนื่องจาก เป็นช่องทางที่ช่วยส่งเสริมให้คนไทยใช้ภาษาไทยเพิ่มขึ้นทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั้งในระดับเริ่มต้นและระดับที่มีความชำนาญ รวมไปถึงผู้ที่ยังไม่เคยมีประสบการณ์การใช้อินเทอร์เน็ตมาก่อน จะสามารถเข้าถึงข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และง่ายมากขึ้น นอกจากนี้ด้วยเทคโนโลยีของบริการ THIA จะเปิดโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ให้กับบริษัทในการพัฒนา ส่งเสริมบริการแบบออนไลน์ และแพร่หลายไปสู่คนไทยทุกคนได้อย่างทั่วถึงยิ่งขึ้น
โดยปัจจุบัน “นามไทย” ได้เปิดให้บริการชื่อไทยกับเว็บไซต์ด้านบริการภาครัฐต่างๆ ตลอดจนเว็บไซต์ของหน่วยงานราชการ สถาบันการศึกษา มหาวิทยาลัย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับสาธารณูปโภคต่างๆ องค์กรการกุศล และองค์กรสื่อสารมวลชนแล้วหลายแห่ง เช่น กรุงเทพมหานคร การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย มหาวิทยาลัยรังสิต ไทยรัฐ กรุงเทพธุรกิจ เป็นต้น
“ขณะนี้หาก หน่วยงานราชการ สถาบันการศึกษา มหาวิทยาลัย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับสาธารณูปโภคต่างๆ องค์กรการกุศล และองค์กรสื่อสารมวลชนต่างๆ มีความประสงค์ที่จะใช้บริการ ชื่อไทยเฉพาะสำหรับหน่วยงานของท่านให้ติดต่อและแจ้งความจำนงมายัง “นามไทย” เบอร์โทรศัพท์ 0-2214-4978 กด 2 “นามไทย” ยินดีที่จะให้บริการชื่อของหน่วยงานเหล่านั้น โดยไม่คิดค่าบริการแต่อย่างใด และสำหรับเว็บไซต์ของธุรกิจต่างๆ “นามไทย” ก็ยังเปิดให้สามารถเข้ามาจองและจดชื่อไทยเฉพาะของท่านได้กับทางบริษัทฯ โดยจะได้รับส่วนลดพิเศษค่าบริการ และการใช้บริการฟรีจนถึงสิ้นปี 2551 นี้ โดยบริษัทคาดว่าภายในสิ้นปี 2552 จะมีลูกค้าทั้งภาครัฐและเอกชนที่ใช้บริการนามไทยไม่ต่ำกว่า 25,000 ราย ”
นายไผทสันต์ กล่าวในท้ายที่สุดว่า ภาสาฯ อยากให้ประชาชน และหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ และเอกชน เห็นความสำคัญของการใช้ภาษาไทยบนอินเทอร์เน็ต แอดเดรสบาร์ เพื่อเป็นการส่งเสริมและอนุรักษ์ภาษาไทยที่เป็นภาษาประจำชาติ ซึ่งอาจจะเป็นสิ่งเดียวที่บ่งบอกถึงความเป็นคนไทยและประเทศไทยได้ดีที่สุด ขณะเดียวกันก็เป็นการเพิ่มโอกาสให้กับผู้ที่ไม่เคยใช้อินเทอร์เน็ต เพราะมีปัญหาในเรื่องภาษาเป็นกำแพงกั้น ให้ได้เข้าไปใช้งานอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้น รวมถึงเพื่อเป็นการเพิ่มโอกาสในการทำธุรกิจประเภทออนไลน์ให้เติบโตในประเทศไทย และสร้างสรรค์งานให้กับคนไทยเพิ่มขึ้นในเวลาเดียวกัน
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ
คุณปัณรษี ไทยวัชรามาศ / บริษัท พีอาร์ แอนด์ แอสโซซิเอส
โทรศัพท์ 0-2651-8989 ต่อ 222 / 081-8343553
อีเมล์ [email protected]

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ