บลจ.ธนชาต เผยกองทุน N-SET ได้รับเลือกเป็นหนึ่งในโครงการการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป หรือ matching fund ของตลาดหลักทรัพย์ฯ

ศุกร์ ๒๖ กันยายน ๒๐๐๘ ๑๒:๐๐
กรุงเทพฯ--26 ก.ย.--บลจ.ธนชาต
นายมณฑล จุนชยะ ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารกองทุน บลจ.ธนชาต เปิดเผยว่า บลจ.ธนชาต ได้รับเกียรติจากตลาดหลักทรัพย์ฯ ให้เป็น 1 ใน 5 บลจ. ที่ได้รับเลือกใน “โครงการการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป” หรือ matching fund โดยตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้เลือกกองทุนธนชาติทุนเพิ่มทวี หรือกองทุน N-SET เป็นกองทุนหุ้นที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะพิจารณาเข้าร่วมลงทุนสมทบกับการลงทุนของผู้ลงทุนทั่วไปที่เห็นโอกาสในการลงทุน และสนใจลงทุนในกองทุน N-SET
นายมณฑล กล่าวเพิ่มเติมว่า กองทุน N-SET เป็นกองทุนหุ้นที่เด่นในการเลือกหุ้นเป็นรายตัว มากว่าการกระจายตามกลุ่มอุตสาหกรรม ทั้งนี้สัดส่วนการลงทุนในหุ้น 30 อันดับแรกจะไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน
มณฑล กล่าวถึงกลยุทธ์การลงทุนของกองทุน N-SET ว่า มีกลยุทธ์การลงทุนแบบระยะยาว ที่ผสมผสานกันระหว่างหุ้นที่มีระดับราคาถูกกว่ามูลค่าที่ควรจะเป็น หรือ Undervalued กับ หุ้นของบริษัทที่มีแนวโน้มเติบโตมากกว่าคู่แข่ง โดยจะจำกัดอยู่ในหุ้นที่มีสภาพคล่องสูง
สำหรับกลุ่มธุรกิจที่ กองทุน N-SET เน้นลงทุนจะอยู่ในกลุ่มพลังงาน ธนาคาร สื่อสาร และมีบางส่วนในกลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เขากล่าวเสริมว่า กลยุทธ์ ณ ช่วงเวลานี้ กองทุน N-SET จะหาโอกาสเลือกลงทุนในหุ้นที่มีจุดเด่นใน 3-4 ประเด็น นี้ คือ 1. พึ่งพิงต่างชาติน้อย เติบโตจากความต้องการภายในประเทศ และเติบโตมากกว่าคู่แข่งในอุตสาหกรรมเดียวกัน 2. เป็นบริษัทฯขนาดใหญ่ มีฐานะการเงินเข้มแข็ง งบดี การเติบโตของกำไรดี โดยยังมองบวก กับกลุ่ม พลังงาน ต้นน้ำ ได้แก่ บริษัทที่เกี่ยวข้องกับ แก๊ส และ ถ่านหิน 3. หุ้นปันผล บริษัทที่จำหน่ายสินค้าที่มีความจำเป็นต่อการดำเนินชีวิต มีรายได้ที่แน่นอน มักจะเกี่ยวข้องกับธุรกิจสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน ได้แก่ ธุรกิจผลิต ไฟฟ้า น้ำ และ ขนส่ง 4. หุ้นปัจจัยพื้นฐานดี แต่ได้รับผลกระทบต้นทุนที่สูงขึ้น จากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่สูงขึ้นมากในช่วงที่ผ่านมา แต่ตอนนี้กำลังจะอยู่ในช่วงพลิกฟื้นหรือTurnaround เป็นต้น โอกาสในการเก็บสะสมหุ้นคุณภาพราคาไม่แพงจึงยังมีอยู่ มณฑล กล่าว
สำหรับบรรยากาศการลงทุนในประเทศที่ได้รับผล มาจากปัญหาฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐอเมริกาที่ส่งผลต่อเนื่องไปถึงระบบสถาบันการเงินในระดับโลก จนส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นอย่างรุนแรงทั่วโลก คำถามที่มักจะมีมาอยู่เสมอๆ ว่าภาวะเช่นนี้จะจบเมื่อใดนั้น
มณฑล กล่าวว่า คงจะไม่สามารถตอบได้ว่าปัญหาดังกล่าวจะจบเมื่อไหร่ แต่ก็พอจะจับสัญญานที่น่าจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางบวก และสามารถเรียกความเชื่อมั่นของผู้ลงทุนให้กลับมาได้ คือ 1. สถาบันการเงินต้องได้รับการแก้ไขปัญหา ทั้งในรูปการแยกสินทรัพย์ด้อยคุณภาพออกจากสินทรัพย์ที่ดี การเพิ่มทุน การควบรวมกิจการ ฯลฯ 2.นโยบายและมาตรการรัฐฯในการแก้ไขปัญหาที่ตรงจุดและมีประสิทธิภาพพอ 3. แรงกดดันทางเศรษฐกิจในด้านอื่น ๆ เช่นภาวะเงินเฟ้อ ราคาน้ำมัน ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ฯลฯต้องลดลง 4. ระดับราคาเมื่อเปรียบเทียบกับปัจจัยพื้นฐาน หรือ Valuation ของบริษัท ของหุ้นหรือตราสารการเงินต้องอยู่ในระดับที่น่าสนใจจนมีผู้เห็นอนาคตของกิจการและสนใจเข้ามาลงทุน (Valuation & Opportunity) 5. ผู้ลงทุนมองโลกในด้านบวกมากขึ้น (Positive Idea)
- การลงทุนมีความเสี่ยงผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน
- สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม และขอรับหนังสือชี้ชวนได้ในวันและเวลาทำการเสนอขายได้ที่ บลจ.ธนชาต
โทร 02-1268300 www.thanachartfund.com หรือ ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) โทร 1770
และผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่ บลจ.ธนชาต แต่งตั้ง

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ