“เนื่องจากกฎหมายไทยเรื่องสิทธิด้านทรัพย์สินทางปัญญาได้เริ่มมีการหยิบยกขึ้นมาบังคับใช้กันอย่างขันแข็งอีกครั้งหนึ่ง ทำให้ผู้บริหารบริษัทต่างๆ จำต้องระมัดระวังและตรวจสอบให้แน่ใจว่าบริษัทของตนปฏิบัติตามกฎหมาย” มร. เคลลี่กล่าว “ทั้งนี้เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับที่ประเทศอื่นๆ ได้กระทำกันเพื่อปกป้องนวัตกรรมของผู้พัฒนาซอฟท์แวร์ และกระตุ้นการเติบโตของอุตสาหกรรมไอที ประเทศไทยตระหนักถึงความจำเป็นในการป้องปราบซอฟท์แวร์เถื่อนขั้นเด็ดขาด ขณะนี้ถึงเวลาแล้วที่บริษัทต่างๆ จะต้องมั่นใจว่าตนเองทำในสิ่งที่ถูกต้องเพื่อผู้ถือหุ้นและลูกจ้างของตน — ซึ่งนั่นหมายความว่าพวกเขาได้ทำทุกอย่างที่ทำได้เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาทางกฎหมายที่เกิดจากการละเมิดลิขสิทธิ์ เราขอแนะนำว่าผู้บริหารบริษัทอย่าได้เสี่ยง เพราะผลที่ตามมานั้นรุนแรง”
ยอดตัวเลขการละเมิดลิขสิทธิ์และการก็อปปี้ซอฟท์แวร์โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์มีประมาณ 78% ของธุรกิจในประเทศไทย แม้ว่ากฎหมายลิขสิทธิ์ของประเทศไทยจะกำหนดไว้อย่างชัดเจนว่าการละเมิดจะมีความผิดทั้งทางแพ่งและอาญา ซอฟต์แวร์เถื่อนก็ยังคงเป็นปัญหาสำคัญของภาคธุรกิจตามกฎหมายลิขสิทธิ์ในปัจจุบันของประเทศไทย บริษัท ผู้อำนวยการและผู้จัดการอาวุโสจะเป็นผู้รับผิดชอบต่อการฝ่าฝืนโดยจะถูกปรับเงินมากถึง 800,000 บาทและ/หรือจำคุกนานถึง 4 ปีบวกกับภาระหนี้สินตามค่าซอฟท์แวร์จริงจากความเสียหายในทางแพ่ง
ความรับผิดชอบต่อการกระทำของลูกจ้าง
บุคคลหนึ่งๆ อาจจะมีความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ได้ถึงแม้จะไม่ได้เป็นตัวการหรือผู้เข้าร่วมในการละเมิดลิขสิทธิ์โดยตรง โดยหากมีความสัมพันธ์เป็นลูกจ้าง-นายจ้างก็จะยึดตามหลักการรับผิดร่วมกัน และจะใช้เพื่อลงโทษนายจ้างเมื่อลูกจ้างละเมิดลิขสิทธิ์ซึ่งได้กระทำภายในขอบเขตของการจ้างงาน
ด้วยเหตุนี้ ลูกจ้างที่ดาวน์โหลดซอฟท์แวร์เถื่อนลงในคอมพิวเตอร์สำนักงานหรือโน้ตบุ้คของตนเพื่อช่วยในการทำงานจะทำให้นายจ้างมีความผิด ผู้อำนวยการบริษัทจะพลอยได้รับโทษจากการที่ลูกจ้างละเมิดลิขสิทธิ์ไปด้วย แม้ว่าผู้อำนวยการจะไม่รู้เรื่องจริงๆ และไม่มีเจตนาที่จะละเมิด และแม้ว่านายจ้างจะได้มีการบอกโดยตรงต่อลูกจ้างแล้วว่าไม่ให้เข้าร่วมกระทำความผิด การละเลยต่อความจริงโดยจงใจจะไม่ใช่ข้อแก้ต่าง
“ผลท้ายสุดคือผู้อำนวยการบริษัทต้องรับผิดชอบต่อการใช้ซอฟท์แวร์โดยไม่มีลิขสิทธิ์ที่เกิดขึ้นในธุรกิจของตัวเอง — แม้พวกเขาได้สั่งให้ลูกจ้างใช้แต่สินค้าที่มีลิขสิทธิ์แล้วก็ตาม” มร. เคลลี่กล่าว “กฎหมายบังคับให้ผู้อำนวยการต้องมีมากกว่าแค่เจตนาดี ผู้อำนวยการจะต้องมีความกระตือรือร้นและรับรองว่าสถานที่ทำงานของพวกเขาปฏิบัติตามกฎหมาย”
ผู้รับจ้างงานอิสระ
บริษัทที่มีการใช้บริการผู้รับจ้างงานอิสระก็มีความผิดเช่นกันหากผู้รับจ้างงานอิสระละเมิดลิขสิทธิ์ ตัวอย่างเช่น บริษัทจ้างที่ปรึกษาด้านคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งซอฟท์แวร์เถื่อนในระบบของบริษัท หรือใช้ซอฟท์แวร์เถื่อนในการทำงานให้แก่บริษัทก็จะมีความผิดโทษฐานละเมิดลิขสิทธิ์
“กรณีนี้ก็เช่นกัน ผู้อำนวยการบริษัท มีหน้าที่ในการรับรองว่าซอฟท์แวร์ที่ใช้นั้นมีลิขสิทธิ์ถูกต้อง” มร. เคลลี่กล่าว
ปลอดภัยไว้ก่อน — ให้ความรู้แก่ลูกจ้าง
เพื่อใช้เป็นมาตรฐานเชิงป้องกัน มร. เคลลี่แนะนำให้ผู้อำนวยการบริษัทตรวจสอบให้แน่ใจว่าบริษัทมีการแถลงนโยบายที่ห้ามซอฟท์แวร์เถื่อน และแจ้งให้ลูกจ้างทั้งหมดทราบเรื่องอย่างแข็งขันลูกจ้างควรจะได้รับทราบอย่างถูกต้องว่าซอฟท์แวร์อะไรที่ได้รับหรือไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายลิขสิทธิ์ บริษัทควรเขียนนโยบายต่อต้านลิขสิทธิ์เถื่อนเป็นลายลักษณ์อักษร และบังคับให้ปฎิบัติตามโดยมีบทลงโทษอย่างเคร่งครัดหากมีการฝ่าฝืนนโยบายการให้ความรู้ควรจะดำเนินการอย่างเต็มที่และกระจายไปทั่วถึงลูกจ้างทั้งหมดที่เกี่ยวข้องในการจัดซื้อ ใช้และกระจายซอฟท์แวร์ โดยควรจะมีการติดตามชี้แจงและตรวจเช็คการใช้งานซอฟท์แวร์จริงๆ
การตรวจสอบความเสี่ยง (Due Diligence)
ผู้อำนวยการบริษัท มีวิธีการที่จะใช้ในการรับรองว่าบริษัทของตน ปฏิบัติตามข้อกำหนดของลิขสิทธิ์ซอฟท์แวร์ได้ ตัวอย่างเช่น บริษัทสามารถทำการตรวจสอบเป็นระยะเพื่อรับรองว่าโปรแกรมซอฟท์แวร์ทั้งหมดที่ใช้อยู่เป็นสำเนาที่ได้รับอนุญาต และได้ใช้ในลักษณะที่ได้รับอนุญาตไว้ นอกจากนี้ บริษัทสามารถนำระบบบริหารสินทรัพย์ประเภทซอฟท์แวร์ (SAM) มาใช้ได้ ซึ่งเป็นกระบวนการที่มีประโยชน์ไม่เพียงแต่ช่วยป้องกันการละเมิดโดยไม่ได้ตั้งใจแล้ว ยังช่วยให้การลงทุนในซอฟท์แวร์ของบริษัทได้ผลสูงสุด
“หากระหว่างการตรวจสอบพบว่ามีการละเมิด จะทำให้เรื่องจบได้อย่างรวดเร็ว” มร. เคลลี่กล่าว “หากเป็นการฝ่าฝืนโดยเจตนา จะต้องใช้มาตรการลงโทษอย่างเคร่งครัด บริษัทควรจะยึดมั่นในหลักการอย่างชัดเจนพอที่ไม่ว่าใครก็ตามทั้งในและนอกองค์กรรับรู้ได้”
“หากมีการปฏิบัติตามนโยบายอย่างเป็นรูปธรรม และบังคับใช้อย่างแข็งขัน จะทำให้การใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตลดลงไป ซึ่งจะลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นต่อเจ้าของลิขสิทธิ์และการเรียกปรับเงินบริษัทที่จะตามมาได้ให้น้อยลงที่สุด” มร. เคลลี่กล่าว นอกจากนี้ การกวดขันบังคับใช้นโยบายต่อต้านลิขสิทธิ์เถื่อนจะช่วยลดความผิดของพนักงานและผู้จัดการบริษัทจากการกระทำของลูกจ้างลงได้
“ความตื่นตัวในการต่อสู้กับลิขสิทธิ์เถื่อนภายในบริษัทของตน จะช่วยให้ผู้อำนวยการปลอดจากค่าใช้จ่ายก้อนใหญ่ อีกทั้งความยุ่งยากและเสื่อมเสียอันเป็นผลมาจากการกระทำความผิดจากการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟท์แวร์” มร. เคลลี่กล่าว “การละเลยต่อความผิดในการฝ่าฝืนลิขสิทธิ์ซอฟท์แวร์เป็นความผิดพลาดร้ายแรงที่สามารถหลีกเลี่ยงได้และควรจะหลีกเลี่ยงด้วย”