สมาคมนักวิเคราะห์ฯ ได้สำรวจความเห็นนักวิเคราะห์เกี่ยวกับแนวโน้มการลงทุนในตลาดหุ้นในช่วงเดือนตุลาคม - ธันวาคม 2551 ในประเด็นเกี่ยวกับปัจจัยที่นักวิเคราะห์ใช้เป็นสมมติฐานหลักในการทำบทวิเคราะห์ ทั้งปัจจัยบวกและปัจจัยลบ แนวโน้มอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจและผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียน คาดการณ์อัตราการขยายตัวของกำไรต่อหุ้นของบริษัทในกลุ่มธุรกิจสำคัญ คาดการณ์ดัชนีราคาผู้บริโภค หุ้นที่แนะนำให้ลงทุน รวมถึงคำแนะนำให้นักลงทุน และคำแนะนำที่เป็นประโยชน์ต่อภาวะเศรษฐกิจไทยและตลาดทุนไทย โดยมีสำนักวิจัยจากบริษัทหลักทรัพย์แสดงความเห็นรวม 21 แห่ง โดยทุกรายได้ให้ความเห็นต่อประเด็นต่างๆ อย่างชัดเจน แต่ในเชิงตัวเลขประมาณการบางอย่าง เช่น ดัชนีหุ้นปลายปี คาดการณ์ GDP ฯลฯ นั้น มีสำนักวิจัยที่ยังปรับประมาณการไม่เสร็จจึงยังไม่ได้ให้ตัวเลขกลับมาประมาณ 43%
สมมติฐานหลักที่นักวิเคราะห์ใช้ประกอบการทำบทวิเคราะห์ 5 อันดับแรก
ปัจจัยบวก
1) แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในขาลง มีผู้ตอบร้อยละ 67
2) มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ประกอบด้วยการเร่งการใช้จ่ายภาครัฐ มาตรการส่งเสริมตลาดหุ้น การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน มีผู้ตอบร้อยละ 62
3) ราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มลดลง มีผู้ตอบร้อยละ 41
4) มีผู้ตอบร้อยละ 29 เท่ากัน สองปัจจัย คือ อัตราเงินเฟ้อที่ลดลง และความร่วมมือของนานาประเทศในการออกมาตรการแก้ปัญหาของระบบการเงินและสถาบันการเงิน
5) ราคาหุ้นไทยที่มีค่า PE ต่ำมาก ในขณะที่อัตราผลตอบแทนของเงินปันผลสูง มีผู้ตอบร้อยละ 19
ปัจจัยลบ
1) ปัจจัยทางการเมืองที่ยังคงมีความไม่แน่นอนและมีความขัดแย้ง ส่อแววยืดเยื้อ มีผู้ตอบร้อยละ 90
2) ปัญหาเศรษฐกิจโลกชะลอตัว โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาและยุโรป ที่เกิดจากวิกฤตสินเชื่อและปัญหาสถาบันการเงิน มีผู้ตอบร้อยละ 86
3) ภาวะเศรษฐกิจไทยที่ชะลอตัว มีอัตราการบริโภคลดลง อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจชะลอตัว ส่งผลให้ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนเติบโตในอัตราที่ลดลง มีผู้ตอบร้อยละ 38
4) ปัจจัยอื่น ๆ มีผู้ตอบใกล้เคียงกัน ได้แก่ กระแสเงินไหลออกจากการขายหุ้นของนักลงทุนต่างชาติ การชะลอการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน เป็นต้น
ข้อแนะนำที่เป็นประโยชน์ต่อภาวะเศรษฐกิจ สังคม และตลาดทุนไทย
ควรสร้างเสถียรภาพทางการเมืองโดยเร็ว และลดความขัดแย้ง ลดการใช้ความรุนแรงต่อกัน
สร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุน นักธุรกิจและผู้บริโภค โดยใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ เช่น ลดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา, เร่งโครงการลงทุนภาครัฐ เป็นต้น รวมถึงเร่งการใช้จ่ายและเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐ
มีมาตรการส่งเสริมตลาดทุน เช่น ลดภาษีบริษัทจดทะเบียน ลดดอกเบี้ย สนับสนุนเพิ่มเติมเพื่อการซื้อหุ้นคืนของบริษัทจดทะเบียน ให้การศึกษากับนักลงทุน เป็นต้น
คำแนะนำแก่นักลงทุน
ทยอยซื้อสะสมหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานดี บริหารงานดี ฐานะการเงินแข็งแรง รองรับความผันผวนของเศรษฐกิจได้ ไม่ต้องเร่งรีบซื้อ เลือกหุ้นที่มีอัตราเงินปันผลสูง และหุ้นที่ได้รับผลกระทบจากภายนอกประเทศต่ำ
สำหรับนักลงทุนที่มีหุ้นอยู่ในพอร์ต ให้ทบทวนพอร์ตและเลือกถือหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานดีไว้รอการฟื้นตัว เนื่องจากราคาหุ้นปรับลงต่ำมากแล้ว และยังไม่ควรซื้อเพิ่มในหุ้นปัจจัยพื้นฐานไม่ดีเพื่อหวังถัวเฉลี่ยต้นทุน ส่วนหุ้นปัจจัยพื้นฐานดี ให้ซื้อเพิ่มเมื่อเห็นภาพของปัจจัยต่าง ๆ ชัดเจนขึ้น
ตัวเลขคาดการณ์ที่สำคัญ สำหรับปี 2551 และ 2552
นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 57ได้ปรับตัวเลขคาดการณ์ที่สำคัญ ให้ใกล้เคียงกับสถานการณ์ปัจจุบันแล้ว ตามรายละเอียดดังข้างล่างนี้
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ หรือ SET Index ปี 2551
- ณ สิ้นปี 2551 ปรับลดลงจากการสำรวจเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา โดยตัวเลข สิ้นปี 2551 อยู่ที่เฉลี่ย 611 จุด จากเดิมคาดไว้ 828 จุด โดยตัวเลขสูงสุดที่มีผู้ตอบคือ 740 จุด และมีผู้ตอบตัวเลขสิ้นปีไว้ต่ำสุดที่ 530 จุด
- จุดต่ำสุด ของ SET Index ในปีนี้ นักวิเคราะห์ประเมินไว้ที่เฉลี่ย 413 จุด
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ หรือ SET Index ปี 2552
- ณ สิ้นปี 2552 ตัวเลขมีการปรับลดลงเช่นกัน โดยครั้งนี้คาดการณ์ไว้ที่ 671 จุด จากการสำรวจครั้งที่แล้วที่ 896 จุด โดยมีผู้ตอบตัวเลขสูงสุดที่ 800 จุด และตอบตัวเลขต่ำสุดที่ 391 จุด
อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจ หรือ GDP Growth
- ทั้งปี 2551 ตัวเลขคาดการณ์ครั้งนี้ยังเท่ากับการสำรวจครั้งที่แล้ว โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 5.0%
- ทั้งปี 2552 ตัวเลขคาดการณ์เฉลี่ยที่ 4.0% จากประเมินครั้งที่แล้วที่ 4.9%
ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียน หรือ EPS Growth
- ทั้งปี 2551 คาดว่าเฉลี่ยอยู่ที่ 18.8% ลดลงจากคาดการณ์ที่ผ่านมาที่ 21.3%
- ทั้งปี 2552 ตัวเลขคาดการณ์เฉลี่ยที่ 2.3% ลดลงจากครั้งที่แล้วที่ 6.6%
อัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินบาทและดอลลาร์สรอ.
- ณ สิ้นปี 2551 คาดว่าเฉลี่ยอยู่ที่ 34.2 บาทต่อดอลลาร์สรอ.
- ณ สิ้นปี 2552 ตัวเลขคาดการณ์เฉลี่ยที่ 34.1 บาทต่อดอลลาร์สรอ.
อัตราดอกเบี้ย RP 1 วัน
- ณ สิ้นปี 2551 นักวิเคราะห์ประเมินอัตราดอกเบี้ย RP 1 วันเฉลี่ยอยู่ที่ 3.54%
- ณ สิ้นปี 2552 โดยเฉลี่ยคาดว่าจะอยู่ที่ 3.00%
ดัชนีราคาผู้บริโภค หรือ Consumer Price Index (CPI)
- เฉลี่ยทั้งปี 2551 คาดว่าเฉลี่ยอยู่ที่ 6.2% มีตัวเลขของผู้ที่คาดการณ์สูงสุดที่ 6.8% และตัวเลขของผู้ที่คาดการณ์ต่ำสุดที่ 5.5%
- เฉลี่ยทั้งปี 2552 โดยเฉลี่ยคาดว่าจะอยู่ที่ 3.1% ตัวเลขคาดการณ์สูงสุดที่ 4.3% และมีผู้คาดการณ์ต่ำสุดที่ 1.4%
ตารางที่ 1 - ตัวเลขคาดการณ์ที่สำคัญ ปี 2551
ค่าเฉลี่ย ตัวเลขของ ตัวเลขของ จำนวนสำนักวิจัยที่ตอบ
ผู้คาดการณ์สูงสุด ผู้คาดการณ์ต่ำสุด
สำรวจ ณ สำรวจ ณ สำรวจ ณ สำรวจ ณ สำรวจ ณ สำรวจ ณ สำรวจ ณ สำรวจ ณ
5 สค.51 17 ตค.51 5 สค.51 17 ตค.51 5 สค.51 17 ตค.51 5 สค.51 17 ตค.51
SET Index
- ณ สิ้นปี 51 828 611 950 740 700 530 20 11
- จุดต่ำสุดของปี 51 628 413 660 450 588 374 19 10
GDP Growthปี 51 5.0 5.0 5.6 5.2 4.5 4.5 21 12
EPS Growthปี 51 21.3 18.8 42.0 36.9 4.5 4.5 18 9
FOREX Bht:US$สิ้นปี51 33.6 34.2 35.5 36.0 31.8 33.0 21 12
ดอกเบี้ยRP 1วัน สิ้นปี51 3.82 3.54 4.25 3.75 3.50 3.00 21 12
CPI เฉลี่ยทั้งปี 7.3 6.2 8.5 6.8 6.0 5.5 21 11
ตารางที่ 2 - ตัวเลขคาดการณ์ที่สำคัญ ปี 2552
ค่าเฉลี่ย ตัวเลขของ ตัวเลขของ จำนวนสำนักวิจัยที่ตอบ
ผู้คาดการณ์สูงสุด ผู้คาดการณ์ต่ำสุด
สำรวจ ณ สำรวจ ณ สำรวจ ณ สำรวจ ณ สำรวจ ณ สำรวจ ณ สำรวจ ณ สำรวจ ณ
5 สค.51 17 ตค.51 5 สค.51 17 ตค.51 5 สค.51 17 ตค.51 5 สค.51 17 ตค.51
SET Index ณ สิ้นปี 52 896 671 1,000 800 820 391 11 10
GDP Growthปี 52 4.9 4.0 5.5 4.5 4.0 3.8 16 11
EPS Growthปี 52 6.6 2.3 15.0 8.0 2.0 -8.2 14 8
FOREX Bht:US$สิ้นปี 52 33.8 34.1 35.0 37.0 31.5 31.0 16 3/4
11
ดอกเบี้ยRP 1วัน สิ้นปี 52 4.11 3.00 4.75 3.50 3.50 2.50 15 11
CPIเฉลี่ยทั้งปี 52 4.9 3.1 6.9 4.3 3.0 1.4 16 10
อัตราการเติบโตของกำไรต่อหุ้น (EPS Growth) ของกลุ่มธุรกิจสำคัญ
- ปี 2551 จากผลการสำรวจ พบว่า นักวิเคราะห์ยังคงคาดการณ์ว่า กลุ่มธนาคารมีอัตราการเติบโตสูงสุด โดยมีค่าเฉลี่ย EPS Growth ของปี 2551 ที่ร้อยละ 402.9 กลุ่มอาหารขึ้นมาเป็นอันดับสอง โดยเติบโตเฉลี่ยที่ร้อยละ 33.8 อสังหาริมทรัพย์ เป็นอันดับสาม เติบโตเฉลี่ยที่ร้อยละ 21.4
- ปี 2552 นักวิเคราะห์คาดว่าในปี 2552 กลุ่มธุรกิจต่าง ๆ จะมีอัตราการเติบโตของกำไรต่อหุ้นน้อยกว่าปี 2551 โดยกลุ่มธนาคารยังได้รับการคาดการณ์ไว้สูงสุด มีค่าเฉลี่ยที่ร้อยละ 9.8 อันดับสองเป็นกลุ่มอาหาร กำไรต่อหุ้นมีอัตราเติบโตเฉลี่ยที่ร้อยละ 6.9 กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ เป็นอันดับสาม ที่ร้อยละ 5.7
ตารางที่ 3 - EPS Growth (%) ปี 2551 แยกตามกลุ่มธุรกิจ
กลุ่มธุรกิจ ปี2551 (ค่าเฉลี่ย) ปี2552 (ค่าเฉลี่ย)
สำรวจครั้งนี้ (17 ตค.51) สำรวจครั้งก่อน (5 สค.51) สำรวจครั้งนี้ (17 ตค.51)
ธนาคาร 402.9 557.9 9.8
อาหาร 33.8 13.9 6.9
อสังหาริมทรัพย์ 21.4 25.7 5.7
เดินเรือ 19.8 19.9 -29.3
ปิโตรเคมี 4.5 1.3 -7.7
พลังงาน 4.4 8.8 0.9
วัสดุก่อสร้าง -2.3 6.7 -1.5
หุ้นแนะนำ
หุ้นเด่นที่นักวิเคราะห์แนะนำให้ลงทุนตรงกันหลายสำนักวิจัย ได้แก่ ADVANC, BBL, CPALL, KBANK, PTT, PTTEP เป็นต้น (เรียงตามลำดับตัวอักษร)
แหล่งข้อมูล...สมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ โทร. 02-229-2329, 02-229-2355-6 อีเมล์ [email protected]
กิจกรรมที่สมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ดำเนินการในช่วงเกิดวิกฤต 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา
1. ขอความร่วมมือจากสมาชิกนักวิเคราะห์ ในการ Update ข้อมูลทั้งที่เผยแพร่เองหรือผ่านใน SAA Consensus (อยู่ใน Settrade.com) ให้สะท้อนสมมติฐานใหม่อันเนื่องจากตลาดหุ้นไทยและเศรษฐกิจต้องเผชิญกับวิกฤตเศรษฐกิจโลกและวิกฤตสถาบันการเงินโลก ตลอดจนปัจจัยการเมืองและอื่นๆ เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2551
2. ปรับเปลี่ยนเกณฑ์การแสดงข้อมูลวิเคราะห์หุ้นรายตัวใน SAA Consensus (ใน Settrade.com) จากเดิมที่ให้ข้อมูลที่ Update มาไม่เกิน 4 เดือน ลดเหลือ 31 วัน ขณะนี้อยู่ระหว่างรอให้ Settrade.com แก้ไขโปรแกรม
3. ขอความร่วมมือจากสมาชิกนักวิเคราะห์ จัดให้มีนักวิเคราะห์อาวุโสที่สามารถตอบคำถามด้านปัจจัยพื้นฐาน วันละ 1 คน รวมทั้งสิ้นหมุนเวียนประมาณ 20 คน ให้ประชาชนโทรเข้ามาสอบถามข้อสงสัยที่โทร 02-654-5352 เฉพาะเวลา 10.00-11.00 น. ทุกวันทำการ โดยมีการออกอากาศทางทีวี Money Channel ไปพร้อมกัน
4. ทำการสำรวจผลการวิเคราะห์เศรษฐกิจและคาดการณ์ผลการดำเนินการและดัชนีตลาดหุ้น โดยขอให้ใช้สมมติฐานใหม่ที่สอดคล้องกับสถานการณ์ล่าสุด แถลงข่าว 17 ต.ค.51
5. เลขาธิการดำเนินการบรรยายในงานสัมมนาตามที่ได้รับเชิญ เขียนคอลัมน์ รวมถึงให้สัมภาษณ์สื่อหนังสือพิมพ์ วิทยุ ทีวี รวมประมาณ 20 ช่องทาง เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์วิกฤตโลก ผลกระทบที่จะเกิด รวมถึงการสรุปเหตุการณ์วิกฤตหุ้นของสหรัฐในปี 1929, ปี 2000 และวิกฤตในอดีตของไทย เพื่อให้ข้อมูลและความรู้แก่ประชาชน รวมทั้งแนะให้นักลงทุนพิจารณาเฉพาะหุ้นที่มีธุรกิจแข็งแรง ผู้บริหารดี ฐานะการเงินเข้มแข็งและมีราคาต่ำกว่ามูลค่ามากๆ เท่านั้น รวมทั้งต้องยอมรับว่าช่วงสั้น ราคาหุ้นยังมีความเสี่ยง เพราะต่างชาติอาจขายต่อ
6. ร่วมมือกับ ตลท.จะจัดให้มีเสวนาประเด็นเหตุการณ์ต่างๆ เดือนละ 2 ครั้ง เพื่อให้นักข่าว & นักลงทุนเข้าฟังและสอบถามข้อสงสัยอย่างสะดวก เริ่มประมาณปลาย ต.ค.นี้ (รอกำหนดวัน) ที่โถงนิทรรศการ ชั้น 1 ตลท.