ไมโครซอฟท์ประกาศวันต่อต้านการละเมิดลิขสิทธิ์สากล ตอกย้ำถึงความร่วมมือในการปกป้องลูกค้าและคู่ค้าทั่วโลก

ศุกร์ ๒๔ ตุลาคม ๒๐๐๘ ๑๑:๕๕
ไมโครซอฟท์ประกาศวันต่อต้านการละเมิดลิขสิทธิ์สากล ตอกย้ำถึงความร่วมมือในการปกป้องลูกค้าและคู่ค้าทั่วโลกจากการละเมิดลิขสิทธ์และการปลอมแปลงซอฟต์แวร์ไมโครซอฟท์จับมือกับลูกค้า คู่ค้า และรัฐบาล เพื่อเปิดตัวหลากหลายกิจกรรมเพื่อต้านการละเมิดลิขสิทธิ์ทั่วโลก

ไมโครซอฟท์ คอร์ปอเรชั่น ประกาศวันต่อต้านการละเมิดลิขสิทธิ์สากล พร้อมเดินหน้าให้ความรู้และบังคับใช้กฎหมายการต่อต้านการละเมิดลิขสิทธิ์อย่างจริงจังใน 49 ประเทศ ครอบคลุมทั้ง 6 ภูมิภาคทั่วโลก เพื่อตอบโต้การซื้อขายซอฟต์แวร์ผิดกฎหมาย กิจกรรมต่างๆ ที่จัดขึ้น รวมไปถึงแคมเปญรณรงค์ให้ความรู้เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา การร่วมมือกับภาคธุรกิจต่างๆ การจัดการอภิปรายทางวิชาการ การฝึกอบรมด้านการบังคับใช้กฎหมายในแต่ละประเทศ และการดำเนินคดีตามกฎหมายใหม่เพื่อต่อต้านซอฟต์แวร์ปลอมและซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์

ไมโครซอฟท์มุ่งมั่นในการทำงานร่วมกับชุมชน รัฐบาล และหน่วยงานด้านกฎหมายต่างๆทั่วโลก เพื่อช่วยปกป้องลูกค้าและคู่ค้าของไมโครซอฟท์จากการละเมิดลิขสิทธิ์ รวมทั้งช่วยส่งเสริมความสำคัญของทรัพย์สินทางปัญญาในฐานะที่เป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนนวัตกรรม แผนงานแบบอินเตอร์แอคทีฟซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับการดำเนินการตามกฎหมายและการให้ความรู้ สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ http://www.microsoft.com/presspass/presskits/antipiracy.

มร. เดวิด ฟิน ที่ปรึกษาด้านการต่อต้านการละเมิดลิขสิทธิ์และการปลอมแปลงจาก บริษัท ไมโครซอฟท์ คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า “การละเมิดลิขสิทธิ์และการปลอมแปลงซอฟต์แวร์ได้กลายมาเป็นธุรกิจการซื้อขายซึ่งซับซ้อนและส่งผลเสียหายต่อผู้บริโภค ภาคธุรกิจ รวมทั้งเศรษฐกิจโดยรวม ไมโครซอฟท์แน่วแน่ในการทำงานร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ทั่วโลกเพื่อที่จะรู้ทันธุรกิจผิดกฎหมายเหล่านั้น ด้วยความร่วมมือกับรัฐบาล หน่วยงานด้านกฎหมาย รวมทั้งลูกค้าและคู่ค้า ไมโครซอฟท์มุ่งมั่นในการต่อต้านการละเมิดลิขสิทธิ์ในประเทศและในภูมิภาคต่างๆ โดยการใช้ระบบของ Business intelligence กฎหมาย และการศึกษา นอกจากนี้ เรายังทำงานอย่างต่อเนื่องในการค้นหาความเกี่ยวเนื่องของขบวนการปลอมแปลงและการละเมิดลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศ เพื่อที่จะหยุดยั้งขบวนการเหล่านี้และช่วยปกป้องผู้บริโภคและภาคธุรกิจจากธุรกิจผิดกฎหมายเหล่านั้นได้”

วันต่อต้านการละเมิดลิขสิทธิ์สากลจะมีกิจกรรมอย่างต่อเนื่องซึ่งครอบคลุมทั้งในส่วนของการศึกษาและการบังคับใช้กฎหมายตามแผนงานพื้นฐานที่มีอยู่แล้วในประเทศต่างๆ ทั่วโลก อาทิ ไมโครซอฟท์ได้ร่วมมือกับหอการค้าอเมริกันประจำประเทศบราซิลในการเปิดตัวบล็อกออนไลน์เพื่อส่งเสริมให้คณาจารย์ตระหนักถึงความสำคัญของการให้ความรู้เยาวชนเกี่ยวกับนวัตกรรมและความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการละเมิดลิขสิทธิ์ ในประเทศตุรกี ไมโครซอฟท์ได้จัดการอบรมเกี่ยวกับอาชญากรรมอินเทอร์เน็ตและผลกระทบให้แก่เจ้าหน้าที่กระทรวงยุติธรรม รวมทั้งเปิดตัวแคมเปญ Get Genuine ในการให้ความรู้แก่ผู้บริโภคในการตรวจสอบว่าซอฟต์แวร์ที่พวกเขาใช้อยู่นั้นถูกต้องตามลิขสิทธิ์หรือไม่ นอกจากนี้ ไมโครซอฟท์ยังได้แสดงความชื่นชมต่อรัฐบาลจีนถึงการดำเนินคดีตามกฎหมายในการตัดสินลงโทษผู้ค้าสองรายซึ่งปรับเปลี่ยนลิขสิทธิ์การใช้งานซอฟต์แวร์ของไมโครซอฟท์ และจำหน่ายซอฟต์แวร์เถื่อนให้แก่ลูกค้า ส่วนที่ประเทศอิตาลีนั้น ไมโครซอฟท์ได้ออกโปรแกรมเฟ้นหาตัวแทนของพนักงานเพื่อเป็นตัวแทนในการให้ความรู้แก่ครอบครัวและเพื่อนๆ ทั้งหลายเกี่ยวกับการต่อต้านการละเมิดลิขสิทธิ์ ส่วนในสหรัฐอเมริกา ไมโครซอฟท์ช่วยปกป้องลูกค้าและคู่ค้าโดยการฟ้องร้องคดี 20 คดีในศาลยุติธรรมกลางใน 9 รัฐ เพื่อต่อต้านผู้จำหน่ายคอมพิวเตอร์ซึ่งบรรจุซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ของไมโครซอฟท์ วินโดวส์ เอ็กซ์พี โปรเฟสชันแนล และซอฟต์แวร์ไมโครซอฟท์ออฟฟิซประเภทต่างๆ

นางสาวปฐมา จันทรักษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “ซอฟต์แวร์ต่างๆ ล้วนถูกพัฒนาขึ้นจากความคิดสร้างสรรค์ของแต่ละบุคคล ซึ่งสมควรจะได้รับการยกย่อง การคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อความสำเร็จและการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ในระยะยาว ประเทศไทยมีอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์สูง ซึ่งแสดงให้เห็นชัดเจนว่า รายได้จากอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของประเทศจำนวนมากจะต้องสูญเสียไปให้แก่ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์เหล่านั้น ในฐานะที่ไมโครซอฟท์เป็นผู้นำในอุตสาหกรรมไอที ไมโครซอฟท์ตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษาอันจะช่วยส่งเสริมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทัศนคติในระยะยาวต่อการละเมิดลิขสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญา อันที่จริงแล้ว การส่งเสริมด้านการศึกษาเหล่านี้ไม่ได่จำกัดเพียงแค่ในกลุ่มผู้ใช้ซอฟต์แวร์หรือกลุ่มธุรกิจในประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงเยาวชนซึ่งจะก้าวขึ้นเป็นอนาคตของชาติด้วย โดยในส่วนของประเทศไทยนั้น ไมโครซอฟท์ได้จัดกิจกรรม Microsoft IP Young Ambassador Camp ขึ้นโดยร่วมกับสมาคมส่งเสริมทรัพย์สินทางปัญญาแห่งประเทศไทยเพื่อสร้างจิตสำนึกและให้ความรู้เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาให้แก่เยาวชนไทย”

ภัยคุกคามที่ทุกฝ่ายต้องร่วมกันแก้ไข

เครื่องคอมพิวเตอร์พีซีจำนวนมากกว่าหนึ่งในสามได้บรรจุซอฟต์แวร์ผิดกฎหมาย ละเมิดลิขสิทธิ์ หรือ ซอฟต์แวร์ที่มีการปลอมแปลงเอาไว้ ซึ่งส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อวงการธุรกิจเป็นอย่างมาก โดยในปี 2550 มีความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจทั่วโลกคิดเป็นมูลค่าเกือบห้าแสนล้านดอลล่าร์ นวัตกรรมต่างๆ ซึ่งพัฒนาอย่างต่อเนื่องได้เปิดโอกาสให้อาชญากรรมรวมตัวกันเพื่อผลิตและจัดจำหน่ายซอฟต์แวร์เถื่อน โดยเป็นที่แน่ชัดว่าการละเมิดลิขสิทธิ์และการปลอมแปลงซอฟต์แวร์ได้กลายมาเป็นปัญหาสำคัญที่คุกคามต่อทรัพย์สินทางปัญญาและการพัฒนานวัตกรรม ไมโครซอฟท์มุ่งมั่นในการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้จัดจำหน่ายซอฟต์แวร์ถูกลิขสิทธิ์ซึ่งได้รับความเสียหายทางธุรกิจ รวมทั้งสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภคในการได้รับผลิตภัณฑ์ไมโครซอฟท์ซึ่งถูกลิขสิทธิ์และเป็นของแท้

พันตำรวจเอก ศรายุทธ พูลธัญญะ รองผู้บังคับการ ตัวแทนของกองปราบปรามอาชญากรรมทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีแห่งชาติ กล่าวว่า “มีการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในองค์กรธุรกิจเป็นจำนวนมาก รวมถึงสินค้าประเภทอื่นๆ เรื่องนี้เป็นปัญหาใหญ่ไม่เพียงแต่ในประเทศเท่านั้น แต่ยังมีผลกระทบต่อประเทศอื่นซึ่งเป็นเจ้าของสิทธิ์ด้วย ทุกหน่วยงานจึงต้องร่วมมือกัน ทั้งภาครัฐบาลและเอกชน ในการหยุดยั้งธุรกิจผิดกฎหมายนี้ ไมโครซอฟท์ กองปราบปรามอาชญากรรมทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีแห่งชาติ (บก.ปศท.) รวมทั้งหน่วยงานของรัฐอื่นๆ จึงได้จับมือกันเพื่อสร้างความมั่นใจว่าการดำเนินการสอบสวนร่วมกันจะนำไปสู่การจับกุมและการตัดสินลงโทษอาชญากรซึ่งปลอมแปลงสินค้าเหล่านั้นได้”

ไมโครซอฟท์ช่วยปกป้องลูกค้า

ไมโครซอฟท์ไม่ได้เพียงแต่สนใจเฉพาะผลเสียที่เกิดขึ้นต่อเศรษฐกิจและภาคธุรกิจเท่านั้น แต่ยังคำนึงถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นต่อผู้บริโภคด้วย ซอฟต์แวร์ปลอมมีผลทำให้คอมพิวเตอร์ของผู้ใช้งานได้รับความเสี่ยงจากการติดไวรัส เวิร์ม รวมทั้งโค้ดต่างๆ อาทิ สปายแวร์และโทรจันเพิ่มมากขึ้น ผู้บริโภคย่อมคาดหวังที่จะได้ใช้งานซอฟต์แวร์แท้ที่มีคุณภาพ แต่ซอฟต์แวร์ปลอมมักจะบรรจุโค้ด หรือ มัลแวร์ต่างๆซึ่งมีผลเสียต่อเครื่องคอมพิวเตอร์และทำให้ไม่สามารถใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ตามปกติ สิ่งเหล่านี้อาจทำให้เกิดความเสียหายมากมาย อาทิ ความเสียหายต่อระบบความปลอดภัย การสูญหายของข้อมูล การเสียชื่อเสียงของบริษัท รวมทั้งจำนวนเงินที่ต้องสูญเสียไปในการแก้ไขความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการใช้ซอฟต์แวร์ปลอม การสร้างสรรค์ซอฟต์แวร์แท้ของไมโครซอฟท์มุ่งหวังในการช่วยธุรกิจและผู้บริโภคให้เกิดความเข้าใจและหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ซอฟต์แวร์ปลอม ตัวอย่างเช่น เครื่องมือตรวจสอบออนไลน์สำหรับ ไมโครซอฟท์ วินโดวส์ และไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ ช่วยให้ลูกค้าสามารถตรวจสอบได้ว่าซอฟต์แวร์ที่ใช้นั้นเป็นของแท้หรือไม่ หากเป็นซอฟต์แวร์ปลอม ลูกค้าจะได้รับข้อมูลว่าจะต้องทำอย่างไรต่อไปเพื่อช่วยส่งเสริมการใช้ซอฟต์แวร์แท้

ลูกค้าจะแจ้งการละมิดลิขสิทธิ์อย่างไร

ข้อแนะนำจากลูกค้าและคู่ค้ามีส่วนสำคัญที่ช่วยให้ไมโครซอฟท์สามารถค้นหาการละเมิดลิขสิทธิ์ได้ ไมโครซอฟท์สนับสนุนให้ผู้ใช้งานที่สงสัยว่าตนเองได้รับซอฟต์แวร์ปลอม แจ้งมาที่สายด่วนต่อต้านการละเมิดลิขสิทธิ์ 0-2257-4970 หากต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่ถูกต้องตามลิขสิทธ์ของไมโครซอฟท์ สิทธิการใช้งาน และเครื่องหมายการค้า สามารถศึกษาได้ที่

http://www.microsoft.com/resources/howtotell/default.aspx?displaylang=th

ข้อมูลเกี่ยวกับไมโครซอฟท์

บริษัท ไมโครซอฟท์ (Nasdaq “MSFT”) ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2518 เป็นผู้นำระดับโลกด้านบริการซอฟต์แวร์ และโซลูชั่นที่ช่วยเสริมสร้างศักยภาพของผู้ใช้และองค์กรธุรกิจ

บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด ก่อตั้งขึ้นในปี 2536 บริษัทฯ เสนอซอฟต์แวร์ชั้นนำระดับโลกที่ใช้งานง่ายและเหมาะกับความต้องการของผู้ใช้คนไทย ตลอดจนแพลตฟอร์มที่ช่วยให้องค์กรธุรกิจพัฒนาโซลูชั่นที่ตรงตามความต้องการอย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถรองรับได้ตั้งแต่คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คไปจนถึงเครื่องขนาดใหญ่ระดับเมนเฟรม เพื่อให้สอดคล้องกับการขยายตัวของจำนวนผู้ใช้คอมพิวเตอร์ในประเทศไทย หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถเข้าไปเยี่ยมชมได้ที่เว็บไซต์ของไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) http://www.microsoft.com/thailand.

ไมโครซอฟท์เป็นเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของ ไมโครซอฟท์ คอร์ป ประเทศสหรัฐอเมริกา และ/หรือ ประเทศอื่นๆ ชื่อบริษัทและผลิตภัณฑ์ที่มีการกล่าวถึงในเอกสารชุดนี้อาจจะเป็นเครื่องหมายการค้าของเจ้าของนั้นๆ หมายเหตุ: หากท่านต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับไมโครซอฟท์ สามารถดูได้ที่ http://www.microsoft.com/presspass/ ในส่วนของหน้าข้อมูลบริษัท

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:

คุณศุภาดา ชัยวงษ์

ฮิลล์ แอนด์ นอลตัน ประเทศไทย

โทรศัพท์: 0-2627-3501 ต่อ 209

โทรสาร: 0-2627-3545

Email: [email protected]

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๙:๐๐ รำไพพรรณีจับมือโรงเรียนในจันทบุรี พัฒนาทักษะภาษา สู่ความเป็นเลิศ
๐๙:๐๐ DITP แถลงข่าวตอกย้ำความสำเร็จ E-Academy ภายใต้แนวคิด Beyond Boundaries Transform Knowledge into Impact
๐๙:๐๐ เปิดให้จองแล้ว Samsung Galaxy S25 Series ผู้ช่วยส่วนตัวคนใหม่ของคนไทย พร้อมรับสิทธิพิเศษมากมาย
๐๙:๐๐ ศูนย์หนังสือจุฬาฯ เชิญร่วมงานเสวนา โปรตุเกส.เหตุที่รั
๐๙:๐๐ การเคหะแห่งชาติจับมือ 3 หน่วยงาน พัฒนาศักยภาพเพิ่มทักษะชาวชุมชนหวังสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ ลดความเหลื่อมล้ำเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี
๐๙:๐๐ ก้อย-นัตตี้-ดรีม ชีเสิร์ฟความฮอตแบบไม่พัก รับบทพรีเซ็นเตอร์ชุดชั้นในวาโก้ โชว์ความเนียนยืนหนึ่งระดับตัวมัม!
๐๙:๐๐ เจาะลึกคีย์เทคโนโลยี AI ฝีมือคนไทย บนแอปสินเชื่อ มันนี่ทันเดอร์ พลังขับเคลื่อนสำคัญที่ อบาคัส ดิจิทัล
๐๘:๑๓ เปิดความปัง มั่งมีรับปีใหม่ กับ แมคโดนัลด์ 'มั่งมีเบอร์เกอร์ x MY MELODY' ยกขบวนความน่ารัก MY MELODY กับแพ็กเกจจิงและ กระเป๋า Tote Bag
๐๘:๑๑ ถอดรหัสความสำเร็จ Fundao แบรนด์กระเป๋าไทยของผู้หญิงยุคใหม่ กับสถิติยอดขายช่วงแคมเปญเพิ่มขึ้นกว่าปกติถึง
๐๘:๐๐ เปลี่ยนธุรกิจคุณให้โตคูณร้อย กับหลักสูตร CMF เปิดรับสมัครรุ่นที่ 21 แล้ววันนี้ !!