แถลงข่าวกระทรวงการคลัง ผลการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเอเปค ครั้งที่ 15

พุธ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๐๐๘ ๑๔:๐๙
นายอรรคศิริ บุรณศิริ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะผู?แทนไทยในการประชุมรัฐมนตรีว?าการกระทรวงการคลังเอเปค ครั้งที่ 15 (The 15th APEC Finance Ministers’ Meeting) เป?ดเผยถึงผลการประชุม ระหว?างวันที่ 5-6 พฤศจิกายน 2551 ณ เมือง Trujillo สาธารณรัฐเปรู โดยมีนาย Luis Miguel Valdivieso Montano รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจและการคลัง สาธารณรัฐเปรูเป?นประธาน โดยมีผลการประชุมสรุปได้ดังนี้

ที่ประชุมได้หารือเกี่ยวกับประเด็นด้านเศรษฐกิจที่สำคัญในปัจจุบัน อันได้แก่ วิกฤตการเงินโลก โดยที่ประชุมได้หารือถึงแนวทางการแก้ปัญหาวิกฤตการเงิน เน้นถึงปัญหาของกรอบของกฎระเบียบและการกำกับดูแล และการให้ความสำคัญแก่ความร่วมมือทางด้านการเงินในภูมิภาค (Regional Financial Arrangement) โดยหลายประเทศได้ยกตัวอย่างความร่วมมือในกรอบ ASEAN+3 ซึ่งได้แก่ มาตรการริเริ่มเชียงใหม่ (Chiang Mai Initiative: CMI) และ มาตรการริเริ่มพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย (Asian Bond Markets Initiative: ABMI) ซึ่งจะมีส่วนเสริม

ความช่วยเหลือด้านการเงินที่ได้รับจากองค์กรระหว่างประเทศ และที่ประชุมยืนยันในการที่จะร่วมมือและดำเนินการอย่างสอดคล้องในแนวทางเดียวกัน นอกจากนั้น ยังมีประเด็นเรื่องปัญหาราคาอาหารและสินค้า ที่ประชุมได้หารือถึงปัญหาราคาสินค้าที่มีความผันผวน และสนับสนุน

การดำเนินการเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวของ UN ธนาคารโลก และธนาคารพัฒนาเอเชีย

สำหรับหัวข?อหลักของการประชุม ในป?นี้ ประกอบด?วย 2 หัวข?อ ได?แก?

(1) การพัฒนาคุณภาพของการใช้จ่ายภาครัฐ (Improving the quality of public expenditure) ที่ประชุมได้หารือถึงการจัดการเกี่ยวกับปัญหาความเสี่ยงด้านการคลัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจปัจจุบัน และเน้นให้ความสำคัญต่อในประเด็นการจัดทำงบประมาณโดยมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Result-Based Budgeting: RBB) ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาประสิทธิภาพการใช้จ่ายภาครัฐ โดยให้มีการเชื่อมโยงกันระหว่างงบประมาณจากรัฐบาลส่วนกลางและผลลัพธ์ที่เกิดจากการลงทุนดังกล่าว ในการนี้ ที่ประชุมได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับการจัดทำงบประมาณโดยมุ่งผลสัมฤทธิ์ และการนำเกณฑ์มาตรฐานของผลงานมาใช้ในกระบวนการจัดทำงบประมาณ นอกจากนี้ ที่ประชุมได้หารือถึงการมีเป้าหมายต่อการใช้จ่ายภาครัฐที่ชัดเจน ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญในการนำไปสู่การกระจายและจัดสรรงบประมาณที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

(2) การปรับโครงสร้างตลาดทุน (Reforming capital markets) ที่ประชุมได้หารือว่าการปรับโครงสร้างตลาดทุน ต้องคำนึงถึงสถานการณ์วิกฤตการเงินในปัจจุบันด้วย ซึ่งต้องมีส่วนประกอบสำคัญที่ต้องมีประสิทธิภาพ เช่น นโยบายเศรษฐกิจมหภาคและนโยบายภาษี กรอบกฎหมายและกฎระเบียบ โครงสร้างพื้นฐานของตลาด ตลอดจนสนับสนุนการขยายและกระจายฐานนักลงทุน นอกจากนี้ การสนับสนุนด้านการเงินจากภาคเอกชนก็สามารถมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาตลาดทุนและเพิ่มประสิทธิภาพของตลาดการเงิน โดยการเพิ่มปริมาณสินทรัพย์ระยะยาวให้แก่นักลงทุนสถาบันและนักลงทุนรายย่อย ซึ่งที่ประชุมเห็นว่าการนำระบบ Public-private partnerships (PPPs) มาใช้ ก็จะเป็นประโยชน์ต่อเขตเศรษฐกิจที่มีความต้องการการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ โดยจะช่วยลดภาระการคลังภาครัฐและช่วยพัฒนาตลาดทุน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๑ ม.ค. รู้จักโรคอ้วนดีแล้ว.จริงหรือ?
๓๑ ม.ค. บมจ.ไทยเซ็นทรัลเคมี ร่วมกับ MBK ส่งมอบปฏิทินในกิจกรรม ปฏิทินเก่ามีค่า เราขอ
๓๑ ม.ค. BSRC ออกหุ้นกู้รอบใหม่ 8,000 ล้านบาท ยอดจองเกินเป้า ตอกย้ำความเชื่อมั่นของผู้ลงทุน
๓๑ ม.ค. คปภ. ร่วมสัมมนาประกันภัย ครั้งที่ 29 เตรียมรับมือความเสี่ยงอุบัติใหม่ พลิกโฉมธุรกิจประกันภัยสู่ความท้าทายในอนาคต
๓๑ ม.ค. มอบของขวัญให้กับครอบครัวของคุณช่วงวันหยุดพิเศษที่ สเตย์บริดจ์ สวีท แบงค็อก สุขุมวิท
๓๑ ม.ค. OR เปิดตัว CEO คนใหม่ หม่อมหลวงปีกทอง ทองใหญ่ มุ่งผลักดันไทยสู่ Oil Hub แห่งภูมิภาค พร้อมขับเคลื่อนองค์กรด้วยดิจิทัล-นวัตกรรม
๓๑ ม.ค. เดลต้า ประเทศไทย คว้ารางวัล ASEAN's Top Corporate Brand ประจำปี 2567
๓๑ ม.ค. โรงแรมอลอฟท์ กรุงเทพ สุขุมวิท 11 พลิกโฉมใหม่ สุดโมเดิร์น! พร้อมเปิดตัว w xyz bar ตอกย้ำความสนุกในแบบฉบับ
๓๑ ม.ค. PAUL JOE เปิดตัว GLOSSY ROUGE ต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ 2025
๓๑ ม.ค. บริษัท โกซอฟท์ (ประเทศไทย) ได้รับเกียรติบัตรศูนย์ รับเรื่องและแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภคระดับดีเด่น จาก สคบ. และการรับรองมาตรฐาน ISO