ฟิทช์ประกาศคงอันดับเครดิตของธนาคารยูไนเต็ด โอเวอร์ซีส์ (ไทย) และเพิ่มอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินเป็น ‘C’

พุธ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๐๐๘ ๑๔:๓๗
ฟิทช์ เรทติ้งส์ ประกาศคงอันดับเครดิตของธนาคารยูไนเต็ด โอเวอร์ซีส์ (ไทย) (UOBT; ซึ่งก่อนหน้านี้เป็นธนาคารเอเชีย) ดังต่อไปนี้: อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาว (Long-term Foreign Currency Issuer Default Rating (IDR)) ที่ ‘A-’ (A ลบ) แนวโน้มมีเสถียรภาพ อันดับเครดิตสากลสกุลเงินตราต่างประเทศระยะสั้นที่ ‘F2’ อันดับเครดิตสนับสนุนที่ ‘1’ อันดับเครดิตภายในประเทศ (National Ratings) ระยะยาวที่ ‘AA+(tha)’ แนวโน้มมีเสถียรภาพ และอันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้นที่ ‘F1+(tha)’ ในขณะเดียวกัน ฟิทช์ได้ปรับเพิ่มอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินของ UOBT เป็น ‘C’ จาก ‘C/D’ เนื่องจากธนาคารมีคุณภาพสินทรัพย์ เงินกองทุน และผลประกอบการที่แข็งแกร่งขึ้น แต่อย่างไรก็ตามจากการที่ UOBT เป็นธนาคารขนาดเล็กและมีเครือข่ายสาขาไม่มากนัก เมื่อเทียบกับธนาคารพาณิชย์ไทยที่ใหญ่ที่สุด 3 แห่ง ถือเป็นปัจจัยที่จำกัดอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินของ UOBT

อันดับเครดิตของ UOBT มีพื้นฐานมาจากการที่ United Overseas Bank ของสิงคโปร์ (UOB ซึ่งได้รับการจัดอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศที่ ‘AA-’(AA ลบ)) ยังคงเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่โดยปัจจุบันมีสัดส่วนการถือหุ้นที่ 99.6% เมื่อพิจารณาถึงชื่อเสียงและความแข็งแกร่งของ UOB รวมทั้งชื่อของ UOBT ที่ใกล้เคียงกับบริษัทแม่ของธนาคาร ฟิทช์เชื่อว่ามีความเป็นไปได้สูงมากที่ UOBT จะได้รับการสนับสนุนจาก UOB ในกรณีที่มีความจำเป็น

ผลประกอบการของ UOBT สำหรับงวดครึ่งปีแรกปี 2551 ได้ปรับตัวดีขึ้นอย่างมาก โดยธนาคารมีกำไรสุทธิ 0.9 พันล้านบาท เมื่อเทียบกับผลขาดทุนจำนวน 0.9 พันล้านบาทในช่วงครึ่งปีแรกปี 2550 เนื่องจากการกันสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญที่ลดลง และการขยายสินเชื่อที่เพิ่มขึ้นของธนาคาร นอกจากนั้นส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิ (net interest margin) ของธนาคารยังได้ปรับตัวสูงขึ้นเป็น 3.4% ในช่วงครึ่งปีแรกปี 2551 จาก 3.1% ในช่วงครึ่งปีแรกปี 2550 เนื่องจากการลดลงของต้นทุนทางการเงิน แต่ด้วยรายได้ที่สูงขึ้นในขณะที่ค่าใช้จ่ายที่มิใช่ดอกเบี้ยทรงตัวอยู่ในระดับเดิม ส่งผลให้สัดส่วนค่าใช้จ่ายที่มิใช่ดอกเบี้ยต่อรายได้รวมลดลงเหลือ 62% ในครึ่งปีแรกปี 2551 จาก 73% ในครึ่งปีแรกปี 2550 สำหรับสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของ UOBT นั้นได้ลดลงอย่างมาก โดย ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2551 มียอดอยู่ที่ 7.6 พันล้านบาท หรือ ประมาณ 5% ของสินเชื่อรวม ซึ่งลดลงจาก 12% ณ สิ้นปี 2549 เนื่องจากธนาคารมีการขายสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้จำนวน 1.1 หมื่นล้านบาทในปี 2550 อย่างไรก็ตามปัญหาด้านการเมืองในประเทศและการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกที่รุนแรง จะส่งผลให้เศรษฐกิจมีความผันผวนเพิ่มมากขึ้นและอาจมีผลกระทบต่อคุณภาพสินทรัพย์ของธนาคารในอนาคต

ประมาณ 80% ของฐานการระดมเงินของธนาคารอยู่ในรูปเงินฝาก โดยมีสัดส่วนเป็นเงินฝากระยะสั้นสูงถึง 83% (มีอายุสั้นกว่า 6 เดือน) แต่จากการที่ UOBT มีสัดส่วนสินเชื่อระยะสั้น (call loans) อยู่สูงถึง 20% ของสินเชื่อทั้งหมด และธนาคารยังมีการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลสูงถึง 10.5% ของสินทรัพย์รวม ทำให้สามารถช่วยลดความเสี่ยงในด้านสภาพคล่องของธนาคารได้ ฐานะเงินกองทุนขั้นที่ 1 และเงินกองทุนรวมของ UOBT จัดว่าอยู่ในระดับที่แข็งแกร่ง ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2551 ธนาคารมีเงินกองทุนขั้นที่ 1 อยู่ที่ 17.6% และเงินกองทุนรวมที่ 18.9% ของสินทรัพย์เสี่ยง (RWA) โดยธนาคารได้มีการเพิ่มทุนจำนวน 2.3 พันล้านบาทในเดือนมีนาคม 2551 ซึ่งการเพิ่มทุนดังกล่าว คาดว่าจะช่วยให้ธนาคารสามารถรองรับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจที่รุนแรงในปี 2552 ได้

UOBT ก่อตั้งในปี 2482 โดย UOB ของสิงคโปร์ได้เข้าซื้อหุ้นของธนาคารในปี 2547 ประเทศไทยเป็นหนึ่งในตลาดที่สำคัญของ UOB นอกเหนือจากสิงคโปร์ซึ่งเป็นประเทศที่ธนาคารแม่ตั้งอยู่ โดยตลาดที่สำคัญอื่นๆ ของ UOB ได้แก่ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และจีน UOBT เป็นธนาคารพาณิชย์ที่ใหญ่เป็นอันดับ 10 ของประเทศไทยโดยมีสาขามากกว่า 150 สาขา และมีส่วนแบ่งการตลาดทางด้านสินเชื่อและเงินฝากที่ 3% ในขณะที่ UOB มีส่วนแบ่งการตลาดทางด้านเงินฝากใหญ่เป็นอันดับสองของธนาคารในประเทศสิงค์โปร์ นอกจากนั้น UOB ยังมีสินทรัพย์ 132.8 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และในช่วงครึ่งปีแรกปี 2551 UOB มีกำไรสุทธิ 0.8 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ

หมายเหตุ : การจัดอันดับเครดิตภายในประเทศ (National Ratings) ใช้วัดความน่าเชื่อถือของบริษัทในประเทศที่อันดับเครดิตของประเทศนั้นอยู่ในระดับต่ำกว่าอันดับเครดิตระดับเพื่อการลงทุน หรือมีอันดับเครดิตอยู่ในระดับต่ำแม้จะอยู่ในระดับเพื่อการลงทุน อันดับเครดิตของบริษัทที่ดีที่สุดของประเทศจะอยู่ที่ระดับ “AAA” และการจัดอันดับเครดิตอื่นในประเทศ จะเป็นการเปรียบเทียบความเสี่ยงกับบริษัทที่ดีที่สุดนี้เท่านั้น อันดับเครดิตภายในประเทศนั้นถูกออกแบบมาเพื่อนักลงทุนภายในประเทศในแต่ละประเทศนั้นๆ และมีสัญลักษณ์ที่กำหนดไว้ต่อท้ายจากอันดับเครดิตสำหรับแต่ละประเทศ เช่น “AAA(tha)” ในกรณีของประเทศไทย อันดับเครดิตภายในประเทศนั้นไม่สามารถนำไปใช้เปรียบเทียบระหว่างประเทศได้

ติดต่อ

ดารุณี เพียรมานะกิจ, พชร ศรายุทธ, Vincent Milton, กรุงเทพฯ +662 655 4755

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๔๗ เอ. เจ. พลาสท์ คว้า 2 รางวัลใหญ่ จาก SET Awards 2024 และได้รับการประเมิน CGR ดีเลิศ ระดับ 5 ดาว
๑๖:๑๓ เปิดมาตรการ พักหนี้ ลดดอกเบี้ย ช่วยเหลือ SMEs ถูกน้ำท่วมในงาน มันนี่ เอ็กซ์โป 2024 เชียงใหม่
๑๖:๓๙ หน้าหนาวมาเยือน! กรมอนามัยเตือนดูแลสุขภาพให้พร้อม เด็กเล็ก-ผู้สูงอายุเสี่ยงเจ็บป่วยง่าย
๑๖:๕๗ เปิดรันเวย์อวดผลงานไอเดียสร้างสรรค์ของ 5 ผู้ชนะรางวัลทุนการศึกษา จากโครงการ Jaspal Group Scholarship Program
๑๖:๐๘ กิฟฟารีน แนะนำไอเทมเด็ด กิฟฟารีน เอช เอ็ม บี พลัส วิตามินดี 3 สำหรับช่วยดูแลมวลกล้ามเนื้อให้แข็งแรง
๑๕:๐๑ ไขข้อสงสัย สินเชื่อรถแลกเงินคืออะไร
๑๕:๓๘ ซื้อมอเตอร์ไซค์ ออกรถใหม่ มีขั้นตอนอย่างไร ต้องเตรียมอะไรบ้าง
๑๕:๐๕ ยางขอบ 17 ยี่ห้อไหนดีที่ขับขี่สนุก และยังคงนุ่มสบาย
๑๔:๕๖ heygoody คว้าแชมป์จากเวที Thailand Influencer Awards 2024 ตอกย้ำความเข้าใจลูกค้า Introvert
๑๔:๐๓ เมืองไทยประกันชีวิต คว้า 4 รางวัลใหญ่ระดับสากล ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล และเป็นองค์กรสถานประกอบการดีเด่นด้านแรงงานสัมพันธ์และสวัสดิการ