อย่างแรกผู้เริ่มต้นนั่งสมาธิควรเลือกสถานที่ที่ผ่อนคลาย ไม่มีอะไรมารบกวน เพื่อทำให้จิตใจสงบให้มากที่สุด จากนั้นนั่งในท่าที่สบาย การเลือกท่าทางในการทำสมาธิเป็นสิ่งสำคัญมาก ควรเลือกท่าที่ตนเองชอบมากที่สุด ถ้าหากไม่ชอบนั่งหลังตรง ตัวตรง เพราะรู้สึกไม่สบาย คุณอาจจะเลือกท่านอน นั่งพิง หรือแม้แต่กำลังเดินก็ได้ การรวบรวมความสนใจ ไปที่จุดใดจุดหนึ่งซึ่งเป็นหัวใจของการทำสมาธิ และอย่าเครียดจนเกินไป ในการนั่งสมาธิ มีหลายครั้งย่อมมีเรื่องบางเรื่องที่ผ่านเข้ามาในใจ ถ้าหากเป็นเช่นนั้น คุณสามารถปล่อยใจให้คิดถึงมันได้บ้างเป็นระยะ หากเมื่อเรียบร้อยแล้ว ขอให้ดึงสมาธิกลับมาที่เดิมให้ได้
การนั่งสมาธิเพื่อสุขภาพ เปรียบได้กับการให้ยากับจิตใจ เพราะการนั่งสมาธิจะทำให้สมองปลอดโปร่ง รวมทั้งทำงานอย่างเป็นระบบ ดังนั้น จึงพบว่าผู้ที่นั่งสมาธิเป็นประจำ จะมีความทรงจำที่ดี ในขณะที่การทำงานของร่างกายก็สัมพันธ์กันดียิ่งขึ้น ที่เห็นได้ชัดคือ ระบบต่างๆ ของร่างกายสามารถทำงานได้รัดกุมมากขึ้น โดยเฉพาะในส่วนของระบบประสาท รวมถึงเรื่องการทำงานของหัวใจ การหายใจ ระบบย่อยอาหาร ซึ่งจะดีขึ้นโดยอัตโนมัติ นอกจากนั้น ยังช่วยให้สามารถควบคุมอารมณ์ได้ดีขึ้น ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพโดยรวม คนที่เหมาะสมจะนั่งสมาธิ คงจะไม่พ้นผู้มีอาการเหนื่อยล้าโดยไม่มีสาเหตุ หดหู่ คิดมาก จิตใจไม่ค่อยสบาย รู้สึกเจ็บปวดตามร่างกายเป็นประจำ เคร่งเครียด นอนไม่หลับ หรือมีอาการอ่อนไหวมากจนเกินไปกับทุกเรื่องที่ผ่านเข้ามาในชีวิต
นักวิทยาศาสตร์จากสถาบัน NCCAM (National Center for Complementary and Alternative Medicine) ได้รับรู้ถึงประโยชน์ของการนั่งสมาธิด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย พวกเขาศึกษาถึงส่วนสมองของมนุษย์ และความสัมพันธ์ของระบบทั้งสอง ได้แก่ Sympathetic Nervous System และ Para Sympathetic Nervous System ภายในร่างกายอย่างละเอียด พบว่าการโต้ตอบของร่างกายสัมพันธ์กับการทำงานเป็นอย่างมาก การนั่งสมาธิเปรียบเสมือนการพักผ่อน ผ่อนคลาย และสร้างความเป็นระบบให้กับร่างกาย ดังนั้น บทสรุปแล้ว นักวิทยาศาสตร์จึงเชื่อว่า การนั่งสมาธิส่งผลโดยรวมต่อองค์ประกอบของร่างกาย อันเป็นเรื่องสำคัญของสุขภาพโดยรวม
ถ้าสาวๆ คนไหนอยากนั่งสมาธิหรือเพิ่งเริ่มต้น สามารถอ่านข้อมูลดีๆ เหล่านี้เพิ่มเติมได้จาก www.nccam.nih.gov หรือในคอลัมน์เฮลธ์ มาดาม ฟิกาโร ฉบับเดือนพฤศจิกายน ทุกแผงหนังสือชั้นนำทั่วประเทศตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ
บริษัท แม็กซิม่า คอนซัลแซนท์ จำกัด โทร.0-2434-8300 , 0-2434-8547
คุณสุจินดา, คุณแสงนภา, คุณปิติยา