ลาส เวกัส แซนด์ส คอร์ปประกาศผลประกอบการไตรมาส 3 ปี 2551 แจ้งผลดำเนินการสำหรับโครงการต่างๆทั่วโลก บริษัทกำลังอยู่ในขั้นตอนการหาทุนเพิ่มอีกประมาณ 2 พันล้านเหรียญสหรัฐ

จันทร์ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๐๐๘ ๐๙:๕๗
Net Revenue ไตรมาส 3 เพิ่มขึ้นถึง 67.2% หรือ 1.11 พันล้านเหรียญสหรัฐ

Consolidated Adjusted Property EBITDAR ไตรมาส 3 เพิ่มขึ้น 48.4% หรือ 243.8 ล้านเหรียญสหรัฐ

ในไตรมาส 3 เดอะ เวเนเชี่ยน มาเก๊า มียอด Non-Rolling Chip Table Games Drop 930.6 ล้านเหรียญสหรัฐ และ Slot Handle 549.9 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยเป็นยอดที่ทำลายสถิติในประวัติการณ์

ลาส เวกัส แซนด์ส คอร์ป (NYSE: LVS) ประกาศผลประกอบการของบริษัทของไตรมาสที่ 3 ปี 2551 ประจำวันที่ 30 กันยายน 2551

ผลประกอบการของบริษัทโดยรวม

Net Revenue ของไตรมาสที่ 3 ปี 2551 เพิ่มขึ้น 67.2 % หรือ 1.11 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยเทียบกับไตรมาสเดียวกันในปี 2550 ด้วยรายได้เพียง 661.0 ล้านเหรียญสหรัฐ Consolidate4d adjusted property EBITDAR ไตรมาสที่ 3 ปี 2551 เพิ่มขึ้น 48.4% หรือ 243.8 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยเทียบกับไตรมาสเดียวกันในปี 2550 ด้วยจำนวน 164.3 ล้านเหรียญสหรัฐ ยอดรายได้จากการดำเนินการตามมาตรฐาน GAAP (Generally Accepted Accounting Principles) คือ 28.2 ล้านเหรียญสหรัฐ เทียบกับยอดขาดทุนจากการดำเนินการ 20.8 ล้านเหรียญสหรัฐ ไตรมาสเดียวกันปีที่แล้ว

ในไตรมาส 3 ปี 2551 มียอด Adjusted net income (ไม่รวมผลขาดทุนสำหรับทรัพย์สิน มูลค่าทดลองจ่าย รายจ่ายด้านการพัฒนา และผลขาดทุนสำหรับหนี้ที่ชำระก่อนกำหนด) อยู่ที่ 8.1 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ มูลค่า Adjusted earnings per dilueted share อยู่ที่ 0.02 เหรียญสหรัฐ ต่อหุ้น เปรียบเทียบกับยอดไตรมาสเดียวกันในปี 2550 ที่มียอด Adjusted net income อยู่ที่ 41.8 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ ยอดกำไรต่อหุ้นลดลงเต็มที่ 0.12 เหรียญสหรัฐ มูลค่า Adjusted net income ลดลง 33.8 ล้านเหรียญสหรัฐเนื่องมาจากผลกระทบจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ค่าเสื่อมราคา และการตัดค่าเสื่อม ยอดรายได้จากการดำเนินการตามมาตรฐาน GAAP ไตรมาสที่ 3 ในปี 2551 ขาดทุนอยู่ คือ 32.2 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ มูลค่า Adjusted earnings per diluted share ลดลง 0.09 เหรียญสหรัฐต่อหุ้น โดยเทียบกับยอด Net loss ของไตรมาสที่ 3 ในปี 2550 คือ 48.5 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ มูลค่า Adjusted earnings per diluted share 0.14 เหรียญสหรัฐต่อหุ้น ยอดรายได้จากการดำเนินการตามมาตรฐาน GAAP ไตรมาสที่ 3 ในปี 2551 ขาดทุนอยู่ 16.3 ล้านเหรียญสหรัฐ มีเหตุหลักเนื่องมาจากยอด Operating income ที่เพิ่มขึ้นตามที่ได้ระบุไว้ข้างต้น และภาษีเงินได้ และมีเหตุรองจากจำนวนดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น รวมถึงยอดรายรับอื่นๆที่ลดลง

จุดเด่นของไตรมาสที่ 3

มร. วิลเลี่ยม ไวด์เนอร์ ประธานและประธานบริหารกล่าวว่า “ผลประกอบการของไตรมาส 3 ปี 2551 สะท้อนให้เห็นว่าเรามีการดำเนินงานที่เข้มแข็ง โดยมีรายรับและ Adjusted property EBITDAR เพิ่มขึ้นอย่างมากทั้งในลาส เวกัส และมาเก๊า แม้ว่าจะมีสภาพแวดล้อมในการดำเนินการที่ค่อนข้างท้าทายในแต่ละแห่ง

ในมาเก๊า แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนกฎให้เข้มงวดขึ้นเรื่องการขอข้ามแดนสำหรับนักท่องเที่ยวชาวจีน แต่ก็ยังมีนักท่องเที่ยวเข้ามาเยี่ยมชม เดอะ เวเนเชี่ยน มาเก๊า เพิ่มขึ้น นอกจากนั้นยังมีการฉลองครบรอบ 1 ปี ของทางโรงแรมเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา โดยเหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 3 พิสูจน์ให้เห็นได้ว่าเรามีการดำเนินการที่เข้มแข็ง แต่ด้วยสภาวะเศรษฐกิจทั่วโลกในปัจจุบันเราจำเป็นที่จะต้องชะลอโครงการบางส่วนบนโคไต สตริป เนื่องจากเราจะหันมาให้ความสำคัญกับการดำเนินงานเพื่อทำให้เกิดเงินหมุนเวียนเพิ่มขึ้นและได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนสำหรับโรงแรมต่างๆที่กำลังดำเนินงานอยู่ในมาเก๊า เช่น เดอะ เวเนเชี่ยน มาเก๊า และ โรงแรม โฟร์ ซีซั่นส์ บนโคไต สตริป และ แซนด์ส มาเก๊า บนเกาะมาเก๊า

ขณะนี้เรามีจุดมุ่งหมายที่จะใช้เงินทุนที่มีอยู่สำหรับโครงการก่อสร้างที่กำลังดำเนินการอยู่ เช่น โครงการ มารีน่า เบย์ แซนด์ส ในสิงคโปร์ และ แซนด์ส เบธเลเฮม ในเพนซิลวาเนีย เพื่อให้แล้วเสร็จตามกำหนดเวลา และในอนาคต เมื่อเราจะได้รับเงินลงทุนเพิ่มเติมตามที่ต้องการด้วยเงื่อนไขที่ยอมรับได้ เราก็จะกลับมาดำเนินการสำหรับการก่อสร้างเฟสที่ 5 และ 6 บนโคไต สตริปต่อไป เรามั่นใจมากว่า แผนกลยุทธ์ระยะยาวของเรา รวมถึงโครงการทั้งหมดที่เราได้วางเอาไว้สำหรับโคไต สตริป เมื่อเสร็จสมบูรณ์แล้วจะมีประโยชน์อย่างมหาศาลในเชิงเศรษฐกิจสำหรับประชาชนชาวมาเก๊าและประเทศในภูมิภาคนี้อย่างแน่นอน”

“ในลาส เวกัส ถึงแม้ว่าการดำเนินการต่างๆจะมีความท้าทายมากขึ้นด้วยสถาวะแวดล้อมปัจจุปัน และเนื่องจากเราได้รวมเอารีสอร์ทครบวงจรอย่าง เดอะ เวเนเชี่ยน และ พาลาซโซ่ เข้าด้วยกัน ได้ส่งผลกระทบต่อผลประกอบการในไตรมาสที่ผ่านมา จากนี้ไปเราจะบริหารงานสำหรับโรงแรมในลาส เวกัส และใช้ความพยายามอย่างเต็มความสามารถเพื่อการควบคุมค่าใช้จ่ายให้น้อยลง และเพิ่มรายได้ให้มากที่สุด ”

ผลประกอบการไตรมาส 3 ใน ลาส เวกัส

ยอด Adjusted property EBITDAR ใน ลาส เวกัส สำหรับไตรมาส 3 มีมูลค่า 73.3 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยเทียบกับยอด 60.2 ล้านเหรียญสหรัฐ ในไตรมาสเดียวกันปีที่ผ่านมา ยอด Operating income ตามมาตรฐาน GAAP อยู่ที่ 6.1 ล้านเหรียญสหรัฐ เปรียบเทียบกับ 29.6 ล้านเหรียญสหรัฐในไตรมาสเดียวกัน ปี 2550

ในไตรมาส 3 ปี 2551 ยอดรายได้จาก Table games drop ในลาส เวกัสเพิ่มขึ้น 33.9% ด้วยมูลค่า 477.2 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยเทียบกับ 356.4 ล้านเหรียญสหรัฐ ในไตรมาสเดียวกัน ปี 2550 และยอดรายได้จาก Slot machine handle (volume) เพิ่มขึ้น 57.6% ด้วยมูลค่า 976.6 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยเทียบกับ 619.8 ล้านเหรียญสหรัฐ ในไตรมาสเดียวกันในปีที่ผ่านมา จำนวนที่เพิ่มขึ้นมีเหตุเนื่องมาจากการขยายพื้นที่การพนันด้ายการเปิดตัวโรงแรมพาลาซโซ่ และอัตราส่วนของการชนะพนัน — Table games win percentage (คำนวณก่อนส่วนลด) อยู่ที่ 13.8% เทียบกับ 14.7% ในไตรมาสเดียวกัน ปี 2550 ซึ่งต่ำกว่าที่คาดไว้ว่าจะอยู่ที่ประมาณ 20% ถึง 22% อัตราส่วนของการชนะเครื่องเล่นสล็อต — Slot win percentage (คำนวณก่อนส่วนลดจากสมาชิกเครื่องเล่นสล็อต) อยู่ที่ 6.0% เทียบกับ 6.2% ในไตรมาสเดียวกัน ปี รายได้จากคาสิโนสำหรับการดำเนินการในลาส เวกัสเพิ่มขึ้น 36.2% ด้วยมูลค่า 113.2 ล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับไตรมาส 3 ปี 2551 เทียบกับ 83.1 ล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับไตรมาสเดียวกัน ปี 2550

รายได้จากการดำเนินการด้านโรงแรม ในลาส เวกัส มีมูลค่า 130.5 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับ 83.0 ล้านเหรียญสหรัฐในไตรมาสเดียวกัน ปี2550 โดยเพิ่มขึ้น 57.2% เนื่องมาจากการเพิ่มห้องพักด้วยการเปิดตัวของโรงแรม พาลาซโซ่

ค่าห้องพัก (Average Daily Rate — ADR)ของเดอะ เวเนเชี่ยน ลาส เวกัส เฉลี่ยอยู่ที่ 207 เหรียญสหรัฐ ต่อวัน เทียบกับ 234 เหรียญสหรัฐ ค่อวัน ในไตรมาสเดียวกัน ปี 2550 โดยมีอัตราผู้เข้าพัก (Occupancy rate) ลดลงเหลือ 92.0% จาก 99.6% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันปีที่ผ่านมา รายได้เฉลี่ยต่อห้อง (Revenue per available room — REVPAR) ที่เดอะ เวเนเชี่ยน ลาส เวกัส อยู่ที่ 191เหรียญสหรัฐ เทียบกับ 233 เหรียญสหรัฐในไตรมาสเดียวกัน ปี 2550 สำหรับเดอะ พาลาซโซ่ ค่าห้องพักเฉลี่ยอยู่ที่ 231 เหรียญสหรัฐ ต่อวัน มีอัตราผู้เข้าพัก 94.5% และรายได้เฉลี่ยต่อห้อง 218 เหรียญสหรัฐ สำหรับไตรมาส 3 ปี 2551

รายได้จากค่าอาหารและเครื่องดื่ม ในลาส เวกัส เพิ่มขึ้น 77.0% ด้วยมูลค่า 61.6 ล้านเหรียญสหรัฐ ในไตรมาส 3 ปี 2551 เทียบกับ 34.8 ล้านเหรียญสหรัฐ ไตรมาสเดียวกัน ปี 2550 รายได้จากการจัดประชุมสัมมนา ร้านค้าปลีก และอื่นๆ เพิ่มขึ้น 61.7% ด้วยมูลค่า 48.5 ล้านเหรียญสหรัฐ ในไตรมาส 3 ปี 2551 เทียบกับ 30.0 ล้านเหรียญสหรัฐ ไตรมาสเดียวกัน ปี 2550

ผลประกอบการไตรมาส 3 ของ เวเนเชี่ยน มาเก๊า

ในไตรมาส 3 ปี 2551 ยอด Adjusted property EBITDAR ของเดอะ เวเนเชี่ยน มาเก๊า มีมูลค่า 135.7 ล้านเหรียญสหรัฐ เทียบกับ 26.5 ล้านเหรียญสหรัฐ ไตรมาสเดียวกัน ปี 2550 ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันเปิดดำเนินการในวันที่ 28 สิงหาคม จนถึง 30 กันยายน 2550 และมียอด Operating income ตามมาตรฐาน GAAP อยู่ที่ 81.6 ล้านเหรียญสหรัฐ เปรียบเทียบกับ 6.8 ล้านเหรียญสหรัฐในไตรมาสเดียวกัน ปี 2550

ในไตรมาส 3 ปี 2551มูลค่า Rolling Chip volume 9.78 พันล้านเหรียญสหรัฐ เทียบกับ 4.73 พันล้านเหรียญสหรัฐ ไตรมาสเดียวกัน ปี 2550 (โดยมีระยะเวลาการดำเนินงานเพียง 34 วันตั้งแต่วันเปิดอย่างเป็นทางการ) และมีมูลค่า Non-Rolling Chip volume ถึง 930.6 ล้านเหรียญสหรัฐ ทำให้ เดอะ เวเนเชี่ยน มาเก๊ามีมูลค่าการแลกชิพแบบไม่หมุนเวียนสูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยเทียบกับ 257.1 ล้านเหรียญสหรัฐในไตรมาสเดียวกัน ปี 2550 รายได้จากคาสิโน (Casino revenue)สำหรับไตรมาส 3 มีมูลค่า 432.6 ล้านเหรียญสหรัฐเทียบกับ 131.0 ล้านเหรียญสหรัฐในไตรมาสเดียวกัน ปี 2550

อัตราส่วนของ Non-Rolling Chip table games win percentage สำหรับไตรมาส 3 ปี 2551 คือ 19.7% ในขณะที่อัตราส่วนของ Rolling Chip table games win percentage (คำนวณก่อนส่วนลด และค่าคอมมิชชั่น) คือ 3.06% โดยอัตราอัตราส่วนที่คาดคะเนไว้สำหรับ Non-Rolling Chip table games win percentage อยู่ที่ 18% ถึง 20% และอัตราอัตราส่วนที่คาดคะเนไว้สำหรับ Rolling Chip table games win percentage 3.0%.

ยอด Slot handle (volume) ในไตรมาส 3 ปี 2551 มีมูลค่า 549.9 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งสูงเป็นประวัติการณ์สำหรับไตรมาส และมีอัตราส่วนของ Slot win percentage อยู่ที่ 7.8%

รายได้จากโรงแรม (Hotel revenues) ในไตรมาส 3 ปี 2551 มีมูลค่า 51.1 ล้านเหรียญสหรัฐ ค่าห้องพักเฉลี่ยอยู่ที่ 211 เหรียญสหรัฐ ต่อวัน มีอัตราผู้เข้าพัก 92.1% และรายได้เฉลี่ยต่อห้อง 194 เหรียญสหรัฐ

รายได้จากร้านค้าปลีกและอื่นๆ (Retail and other operating revenues) 52.0 ล้านเหรียญสหรัฐ ในขณะที่รายได้จากเครื่องดื่มและอาหาร (Food & Beverage revenues) มีมูลค่า 16.8 ล้านเหรียญสหรัฐ

การเยี่ยมชมเดอะ เวเนเชี่ยน มาเก๊ายังคงคับคั่งเป็นประวัติการณ์สำหรับไตรมาส 3 ด้วยการบันทึกผู้เข้าชมได้มากถึง 6.6 ล้านคน โดยมีผู้เข้าชมมากถึง 1.94 ล้านคนในเดือนกันยายน 2551 เดือนเดียว ซึ่งมีอัตราสูงขึ้น 15% เทียบกับเดือนกันยายน 2550 และในเดือนตุลาคม 2551 มีผู้เข้าชมถึง 2.23 ล้านคน โดยมีอัตราสูงขึ้น 16% เทียบกับ ในเดือนเดียวกันปี 2550 ท้ายสุดการเปรียบเทียบผู้เข้าชมเดอะ เวเนเชี่ยน มาเก๊าในช่วงวันหยุดต่อเนื่องหนึ่งสัปดาห์ของจีน หรือ Golden week (เริ่มวันที่ 1 ตุลาคม) มีอัตราผู้เข้าชมสูงขึ้น 22% เทียบกับช่วงวันหยุด Golden week ในปีที่ผ่านมา (เริ่มวันที่ 29 กันยายน 2550)

มร. ไวด์เนอร์ กล่าวเสริม “เดอะ เวเนเชี่ยน มาเก๊ามีผลประกอบการที่ดี และประสบความสำเร็จอย่างสวยงามกับการฉลองครบรอบหนึ่งปีที่ผ่านมาสำหรับการให้บริการรีสอร์ทครบวงจรแห่งแรกในภูมิภาคเอเชีย เราได้ให้การต้อนรับนักท่องเที่ยวจำนวนมหาศาลถึง 6.6 ล้านคนในไตรมาสนี้ และทำให้เราได้รายได้จากการพนันและเครื่องเล่นสล็อตมากเป็นประวัติการณ์ และมีจำนวนนักท่องเที่ยวมากถึง 26 ล้านคนเข้ารับการบริการนับตั้งแต่วันเปิดดำเนินการในเดือนสิงหาคม ปี 2550 พิสูจน์ให้เห็นว่าเราเป็นผู้นำและประสบความสำเร็จอย่างงดงามสำหรับการดำเนินการรีสอร์ทครบวงจรแห่งแรกในเอเชีย”

“ในขณะที่เราชะลอการลงทุนสำหรับโครงการต่างๆที่ยังไม่แล้วเสร็จบนโคไต สตริป จนกว่าเราจะได้เงินทุนเพิ่มเติม เราจะยังทำงานของเราต่อไปเพื่อความเปลี่ยนแปลงและยกระดับมาเก๊าให้เป็นจุดหมายสำหรับนักธุรกิจ และเป็นแหล่งบันเทิงที่โดดเด่นในภูมิภาคเอเชีย รวมถึงการลงทุนด้านการคมนาคมเพื่อรองรับจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น และการปรับปรุงการบริการเพื่อให้นักท่องเที่ยวที่มาเยือนมาเก๊าได้รับประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้น การให้บริการเรือโคไตเจ็ทของเรา โดยมีบริษัท Cotai Chu Kong Shipping Management Services จำกัด ซึ่งเป็นหุ้นส่วนของเราเป็นผู้ดำเนินการ โดยให้บริการเรือเฟอร์รี่ตรงจาก Taipa’s temporary Pac-On Ferry Terminal บนเกาะไทปา ไปยังท่าเรือ Hong Kong’s Shun Tak Ferry Terminal ฝั่งฮ่องกง และในไตรมาสที่ผ่านมาเราได้ขยายระยะเวลาการให้บริการในช่วงกลางคืนเพิ่มขึ้น และขณะนี้เรามีการบริการถึง 62 เที่ยวต่อวันสำหรับเดินทางจากโคไต สตริป ไปยังฮ่องกง”

“เดอะ เวเนเชี่ยน มาเก๊าได้กลายมาเป็นโรงแรมที่ดีพร้อม โดยมีการเพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวกและสิ่งดึงดูดนักท่องเที่ยวด้วย ไซยา การแสดงถาวรแห่งแรกในเอเชียสำหรับโชว์ของเซิร์ค ดู โซเลย์ เพื่อสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของเราที่จะดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาเที่ยวมาเก๊าเพิ่มมากขึ้น เราได้เพิ่มวิธีทางการตลาดเพื่อที่จะดึงดูดนักท่องเที่ยวที่อยู่ภายในภูมิภาคเอเชียที่นอกเหนือไปจากชาวจีนแผ่นดินใหญ่ แม้ว่าเราจะมีการชะลอการลงทุนเพิ่มในโครงการอื่นๆ แต่เรายังดำเนินการเต็มความสามารถในการดึงดูดให้มีจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น ขยายเวลาการให้บริการ และพยายามทำให้นักท่องเที่ยวขยายระยะเวลาการเข้าพัก ด้วยการเปิด โฟร์ ซีซั่นส์ มาเก๊า และ เดอะ ช็อปส์ ที่โฟร์ ซีซั่นส์ มาเก๊า เพื่อเพิ่มแหล่งช็อปปิ้ง ร้านอาหาร และความบันเทิง จะเป็นอีกปัจจัยที่ทำให้เราบรรลุเป้าหมายของเรา” กล่าวโดย มร. ไวด์เนอร์

ผลประกอบการไตรมาส 3 ของ โฟร์ ซีซั่นส์ มาเก๊า

โฟร์ ซีซั่นส์ มาเก๊าได้เปิดตัวเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2551และได้ดำเนินการเพียง 34 วันสำหรับไตรมาสนี้ ยอด Adjusted property EBITDAR สำหรับไตรมาส 3 ปี 2551 มีมูลค่า 3.0 ล้านเหรียญสหรัฐ ยอด Operating loss ตามมาตรฐาน GAAP อยู่ที่ 4.2 ล้านเหรียญสหรัฐ

จากการเปิดดำเนินการเพียง 34 วัน สำหรับไตรมาส3 ปี 2551 ยอด Rolling Chip volume คือ 165.2 ล้านเหรียญสหรัฐ และยอด Non-Rolling Chip table games drop อยู่ที่ 16.7 ล้านเหรียญสหรัฐ อัตราส่วนของ Rolling Chip table games win percentage (คำนวณก่อนส่วนลด และค่าคอมมิชชั่น) คือ 8.33% ในขณะที่อัตราส่วนของ Non-Rolling Chip table games win percentage คือ 18.4% โดยเทียบกับอัตราการคาดคะเนของ Rolling Chip table games win percentage (คำนวณก่อนส่วนลด และค่าคอมมิชชั่น) ที่ 3.0% และอัตราการคาดคะเนของ Non-Rolling Chip table games win percentage 18% ถึง 20% และยอด Slot handle (volume) มูลค่า 7.9 ล้านเหรียญสหรัฐ รายได้จากคาสิโน (Casino revenues) สำหรับไตรมาส 3 ปี 2551 มีมูลค่า 15.9 ล้านเหรียญสหรัฐ

ค่าห้องพักเฉลี่ยอยู่ที่ 440 เหรียญสหรัฐ ต่อวัน มีอัตราผู้เข้าพัก 31.4% และรายได้เฉลี่ยต่อห้อง 138 เหรียญสหรัฐ

มร. ไวด์เนอร์เพิ่ม “การเปิดตัวของโฟร์ ซีซั่นส์ มาเก๊า โรงแรมที่สองของเราบนโคไต สตริป ได้นำความหรูหราระดับโลกของโฟร์ ซีซั่นส์ และบริการที่โดดเด่นมาสู่โคไต สตริป โดยจะขยายและปรับปรุงมาตรฐานของมาเก๊าให้เป็นจุดหมายด้านธุรกิจและบันเทิงอย่างมีระดับด้วยความหรูหราของโฟร์ ซีซั่นส์ มาเก๊า และ เดอะ ช็อปส์ โฟร์ ซี่ซั่นส์ มาเก๊า — แหล่งช็อปปิ้งสำหรับร้านแบรนด์เนมอันหรูหรา — จะเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอีกส่วนที่จะทำให้ เดอะ เวเนเชี่ยน มาเก๊า และ เดอะ แกรนด์ คาแนล ช็อปส์ เหมาะสำหรับคนมีระดับอย่างแท้จริง เราเชื่อมั่นว่าด้วยมาตรฐานหรูของโฟร์ ซีซั่นส์ จะสามารถทำให้โคไต สตริป เป็นเป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวที่มีความสำคัญในภูมิภาคนี้ เช่น นักท่องเที่ยวจากญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เราตั้งตารอที่จะเปิดบริการเพิ่มเติมในไม่กี่เดือนข้างหน้าสำหรับพื้นที่ คาสิโนเพิ่มอีก 2 ชั้น สำหรับสมาชิก ไพซ่า คลับ โดยเฉพาะ รวมถึงห้องพักแบบส่วนตัวอีก 19 ห้องในแบบ ไพซ่า แมนชั่น โดยในแต่ละห้องพักจะมีพื้นที่คาสิโนส่วนตัว”

ผลประกอบการไตรมาส 3 ของ แซนด์ส มาเก๊า

สำหรับแซนด์ส มาเก๊า มูลค่า Adjusted property EBITDAR สำหรับไตรมาส 3 ปี 2551 คือ 42.6 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยเทียบกับ 77.6 ล้านเหรียญสหรัฐ ในไตรมาสเดียวกัน ปี 2550 ยอด Operating income ตามมาตรฐาน GAAP อยู่ที่ 28.5 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยเทียบกับ 65.5 ล้านเหรียญสหรัฐ ในไตรมาสเดียวกัน ปี 2550

รายได้จาก Rolling Chip volume เพิ่มขึ้น 15.4% ด้วยมูลค่า 7.26 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยเทียบกับ 6.29 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในไตรมาสเดียวกัน ปี 2550 และรายได้จาก Non-Rolling Chip table games drop ลดลง 19.7% ด้วยมูลค่า 652.3 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยเทียบกับ 812.4 เหรียญสหรัฐ ในไตรมาสเดียวกัน ปี 2550 อัตราส่วนของ Rolling Chip table games win percentage (คำนวณก่อนส่วนลด และค่าคอมมิชชั่น) คือ 2.35% โดยเทียบกับ 2.85% ในไตรมาสเดียวกัน ปี 2550 ในขณะที่อัตราส่วนของ Non-Rolling Chip table games win percentage คือ 17.9% โดยเทียบกับ 18.7% ของไตรมาสเดียวกันปีที่ผ่านมา โดยมีการคาดคะเนอัตตราส่วนของ Rolling Chip table games win percentage (คำนวณก่อนส่วนลด และค่าคอมมิชชั่น) ที่ 3.0% และการคาดคะเนอัตราส่วนของ Non-Rolling Chip table games win percentage 18% ถึง 20% และรายได้จาก Slot handle (volume) มีมูลค่า 273.1 ล้านเหรียญสหรัฐ ชี้ให้เห็นว่ามีการลดลง 8.3% จาก 297.9 ล้านเหรียญสหรัฐ รายได้จากคาสิโน (Casino revenues) สำหรับไตรมาส 3 ปี 2551 มีมูลค่า 243.5 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยเทียบกับ 294.5 เหรียญสหรัฐ ในไตรมาสเดียวกัน ปี 2550

มร. ไวด์เนอร์กล่าว “ผลประกอบการของแซนด์ส มาเก๊าชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนถึงสภาวะการแข่งขันที่สูงสำหรับธุรกิจคาสิโนที่ตั้งอยู่บนเกาะมาเก๊า รวมถึงการที่มีผู้เล่นน้อยลงในช่วงไตรมาสนั้น แม้กระนั้นเราก็ยังรู้สึกชื่นชมกับจุดยืนของแซนด์ส เนื่องจากได้มีคู่แข่งขันที่มีคุณภาพสูงเพิ่มขึ้นมากมาย รวมถึง เดอะ เวเนเชี่ยน มาเก๊า และ โฟร์ ซีซั่นส์ มาเก๊า ที่ตั้งอยู่บนโคไต สตริป แต่ก็ยังไม่กระทบกระเทือนกับธุรกิจนี้ได้เนื่องจากแซนด์สตั้งอยู่บนเกาะมาเก๊า และในด้านดำเนินงานแซนด์สยังมีเงินหมุนเวียนเพิ่มขึ้น รวมถึงอัตราผลตอบแทน รายได้จาก Rolling table games มียอดดีขี้นถ้าเทียบกับไตรมาสเดียวกันปีที่ผ่านมา และแม้ว่ามูลค่าโดยรวมของโครงการต่างๆจะตกลง แต่แซนด์สยังเป็นผู้ให้บริการที่ใหญ่ที่สุดบนเกาะมาเก๊าสำหรับธุรกิจนี้ ในอนาคตเราหวังว่าจะปรับปรุงผลประกอบการสำหรับที่นี่ด้วยการพยายามบริหารต้นทุนและลดค่าใช้จ่ายให้มากที่สุด”

ปัจจัยอื่นที่กระทบต่อผลประกอบการ

ปัจจัยอื่นในเอเชียที่มีผลกระทบสำหรับผลประกอบการ EBITDAR คือ การให้บริการโคไตเจ็ท ซึ่งมียอด Consolidated adjusted property EBITDAR สำหรับไตรมาส 3 ปี 2551 อยู่ที่ 10.8 ล้านเหรียญสหรัฐ

ค่าใช้จ่ายก่อนการเปิดของโครงการต่างๆ เช่น โฟร์ ซีซั่นส์ มาเก๊า มารีน่า เบย์ แซนด์ส สิงคโปร์ แซนด์ส เบธเลเฮม และรีสอร์ทอื่นๆ บนโคไต สตริป ซึ่งมีมูลค่ารวมถึง 40.8 ล้านเหรียญสหรัฐสำหรับไตรมาส 3 ปี 2551 โดยเทียบกับ 90.4 เหรียญสหรัฐ ในไตรมาสเดียวกัน ปี 2550

ค่าเสื่อมราคา และการตัดค่าเสื่อม (Depreciation and amortization expenses) มูลค่า 132.2 ล้านเหรียญสหรัฐสำหรับไตรมาส 3 ปี 2551 โดยเทียบกับ 54.3 ล้านเหรียญสหรัฐในไตรมาสเดียวกันปี 2550

รายจ่ายสำหรับดอกเบี้ย โดยคิดจากยอดลงทุนสุทธิ มูลค่า 90.5 ล้านเหรียญสหรัฐสำหรับไตรมาส 3 ปี 2551 เทียบกับ 72.6 ล้านเหรียญสหรัฐในไตรมาสเดียวกัน ปี 2550 โดยเพิ่มขึ้นจากผลกำไรในการลงทุนลดลง และการเพิ่มมูลค่าหนี้ที่นำไปใช้ในโครงการต่างๆที่อยู่ในระหว่างก่อสร้างและที่จะเกิดขึ้นในอนาคต รวมถึงการเพิ่มเงินทุนจากแหล่งเงินทุนมูลค่า 5.0 พันล้านเหรียญสหรัฐสำหรับโครงการต่างๆในสหรัฐ 3.3 พันล้านเหรียญสหรัฐสำหรับการลงทุนในมาเก๊า และ 5.44 พันล้านเหรียญสิงคโปร์ (ประมาณ 3.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยคำนวณจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราประจำวันที่ 30 กันยายน 2551) สำหรับมารีน่า เบย์ แซนด์ส ดอกเบี้ยสำหรับการลงทุนมีมูลค่า 38.4 ล้านเหรียญสหรัฐในไตรมาส 3 ปี 2551 เทียบกับ 64.2 ล้านเหรียญสหรัฐในไตรมาสเดียวกัน ปี 2550

รายได้จากดอกเบี้ยมูลค่า 3.2 ล้านเหรียญสหรัฐในไตรมาส 3 ปี 2551 เทียบกับ 26.9 ล้านเหรียญสหรัฐในไตรมาสเดียวกัน ปี 2550

รายจ่ายบริหาร (Corporate expense) มูลค่า ล้านเหรียญสหรัฐในไตรมาส 3 ปี 2551 และ ปี 2550

ค่าชดเชยมูลค่าหุ้น (Stock-based compensation expense) 15.4 ล้านเหรียญสหรัฐในไตรมาส 3 ปี 2551 เทียบกับ 9.8 ล้านเหรียญสหรัฐในไตรมาสเดียวกัน ปี 2550

รายได้อื่นๆ โดยส่วนใหญ่ได้รับจากกำไรของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราด้วยมูลค่า 7.2 ล้านเหรียญสหรัฐในไตรมาส 3 ปี 2551 เทียบกับ 17.1 ล้านเหรียญสหรัฐในไตรมาสเดียวกัน ปี 2550

อัตราภาษีสำหรับบริษัทสำหรับระยะเวลา 9 เดือน ประจำวันที่ 30 กันยายน 2551 อยู่ที่ราว -25.6% ต่ำกว่าอัตราตามกฎหมายในสหรัฐฯ ซึ่งอยู่ที่ 35% และ รวมถึงอัตราภาษีสำหรับรายได้การดำเนินธุรกิจด้านคาสิโนในมาเก๊า 0% และยังมีการคำนวณภาษีสำหรับการขาดทุนในสหรัฐฯในปี 2551

รายการงบดุล (Balance Sheet Items)

จำนวน Unrestricted cash balances ประจำวันที่ 30 กันยายน 2551 อยู่ที่ 1.28 พันล้านเหรียญสหรัฐ และจำนวน Restricted cash balances เงินสดที่ไม่สามารถนำมาใช้ได้อยู่ที่ 239.1 ล้านเหรียญสหรัฐ และมีจำนวน 199.6 ล้านเหรียญสหรัฐจากจำนวนเงินที่เป็นเงินสำรองเพื่อโครงการก่อสร้างในมาเก๊า และอีก 32.3 ล้านเหรียญสหรัฐสำหรับโครงการก่อสร้างมารีน่า เบย์ แซนด์ส ในสิงคโปร์

จำนวนหนี้ซึ่งรวมถึงจำนวนหนี้ในปัจจุบันประจำวันที่ 30 กันยายน 2551 อยู่ที่ 10.35 พันล้านเหรียญสหรัฐ

รายจ่ายในการลงทุน

จำนวนรายจ่ายทั้งหมดในการลงทุนสำหรับไตรมาส3 ปี 2551 อยู่ที่ 998.1 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยรวมถึงค่าก่อสร้างและค่าดำเนินการในการพัฒนางานสำหรับโครงการในมาเก๊าจำนวน 551.3 ล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับเดอะ พาลาซโซ่ และ ดอะ เซนท์ รีจิส เรสซิเดนทซ์ 108.7 ล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับมารีน่า เบย์ แซนด์ส ในสิงคโปร์ 174.4 ล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับแซนด์ส เบธเลเฮม 100.3 ล้านเหรียญสหรัฐ และสำหรับเดอะ เวเนเชี่ยน ลาส เวกัส และ แซนด์ส เอ็กซ์โปร์ แอนด์ คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ ใน ลาส เวกัส 63.4 ล้านเหรียญสหรัฐ

ข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับโครงการต่างๆ

เนื่องจากสภาวะตลาดโดยรวมและสถานการณ์เศรษฐกิจโลกปัจจุบันส่งผลกระทบกับการดำเนินการของทางบริษัท ทำให้ทางบริษัทเลือกที่จะชะลอการลงทุนในโครงการต่างๆชั่วคราว เพื่อให้ความสำคัญกับการบริหารโครงการที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพสูงสุดและทำให้ได้รับผลตอบแทนสูงสุดเพื่อเพิ่มสภาพคล่องและเงินหมุนเวียน จากการที่ทางบริษัทได้ประกาศไปเมื่อเร็วๆนี้ เกี่ยวกับการเพิ่มทุนซึ่งอยู่ในระหว่างดำเนินการ แผนการลงทุนที่จะกล่าวด้านล่างจะขึ้นอยู่กับการเพิ่มทุนที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เมื่อได้รับข้อตกลงและเงื่อนไขที่ดีพอ

ในลาส เวกัส การดำเนินการสำหรับโครงการ เซนท์ รีจิส เรสซิเดนซ์ จะถูกหยุดดำเนินการโดยไม่มีกำหนด ซึ่งได้มีการก่อสร้างฐานตึกและกำหนดแล้วเสร็จในไตรมาสแรกของปี 2552 โดยเมื่อการก่อสร้างฐานตึกเสร็จสมบูรณ์จะสามารถทำรายได้จากการปล่อยเช่า โดยจะต้องใช้เงินทุนในการก่อสร้างฐานตึกอีกประมาณ 95 ล้านเหรียญสหรัฐ

ในเบธเลเฮม เพนซิลวาเนีย เราจจะดำเนินการก่อสร้างให้แล้วเสร็จภายในไตรมาส 2 ปี 2552 ตามที่ได้กำหนดไว้เดิม เพื่อสร้างคาสิโนและแหล่งบันเทิงตามแผนการ รวมถึง ลานจอดรถ 3,500 คัน โดยจะต้องใช้เงินทุนในการก่อสร้าง รวมถึงค่าใช้จ่ายก่อนการเปิดดำเนินการ ค่าเฟอร์นิเจอร์ ค่าของตกแต่ง และอุปกรณ์ อีกประมาณ 427 ล้านเหรียญสหรัฐ

ในมาเก๊า โครงการเฟสห้า และ หก จะถูกระงับโครงการชั่วคราวจนกว่าจะได้รับเงินทุนเพิ่มเติม แต่เราจะดำเนินการสำหรับการก่อสร้างเฟสแรก ซึ่งรวมถึง แชงกรีล่า เทรดเดอร์ส โฮเต็ล ทาวเวอร์ เชอร์ราตัน โฮเต็ล ทาวเวอร์ที่มีห้องพัก 1,800 ห้อง และคาสิโน 3 แห่ง โดยจะมีโต๊ะพนันรวม 790 โต๊ะ เครื่องเล่นสล็อต 3,500 เครื่อง โดยมียอดค่าใช้จ่าย 1.16 พันล้านเหรียญสหรัฐสำหรับการก่อสร้างเฟสนี้ตั้งแต่เริ่มโครงการจนถึงวันที่ 30 กันยายนที่ผ่านมา และคาดว่าจะต้องใช้เงินทุนเพิ่มในการก่อสร้างให้แล้วเสร็จอีกราว 430 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยจะแล้วเสร็จในวันที่ 30 มิถุนายน 2552 ตามแผนดำเนินการที่วางไว้ แต่ยังมีความเป็นไปได้ที่จะต้องหยุดการก่อสร้างชั่วคราวหากยังไม่ได้รับเงินทุนเพิ่มเติม ซึ่งหากมีการหยุดดำเนินการ เรามีนโยบายที่จะปรับปรุงรูปแบบโครงการให้ทันสมัยยิ่งขึ้นในระหว่างที่รอเงินทุนเพิ่มเติมสำหรับโครงการนี้

และในมาเก๊า เราจะยังดำเนินการโครงการ โฟร์ ซีซั่นส์ ไพรเวท อพาร์ตเมนท์ มาเก๊า เพื่อให้แล้วเสร็จให้ทันไตรมาส 3 ปี 2552 คาดว่าจะต้องใช้เงินทุนเพิ่มอีก 463 ล้านเหรียญสหรัฐในการก่อสร้างโฟร์ ซีซั่นส์ ไพรเวท อพาร์ตเมนท์ รวมถึงค่าใช้จ่ายก่อนการเปิดดำเนินการ ค่าเฟอร์นิเจอร์ ค่าของตกแต่ง และอุปกรณ์จนแล้วเสร็จ

ทั้งนี้เราได้มีเงินทุนสำรองสำหรับการดำเนินการโครงการมารีน่า เบย์ แซนด์ส จำนวน 5.44 พันล้านเหรียญสิงคโปร์ (หรือเทียบเท่า 3.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ) และการจัดหาทุนเพิ่มเติมไม่มีผลกระทบกับโครงการนี้ ดังนั้นโครงการจะแล้วเสร็จตามแผนงานที่ได้วางไว้ โดยได้กำหนดการเปิดตัวในปี 2552 อย่างแน่นอน จนถึงปัจจุบันเราได้ลงทุนไปราว 1.81 พันล้านเหรียญสหรัฐสำหรับค่าใช้จ่ายการก่อสร้าง รวมถึงที่ดินโดยเราได้จ่ายค่า Equity ไปราว 616 ล้านเหรียญสหรัฐ เราคาดว่าจะมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานสำหรับการก่อสร้างให้แล้วเสร็จอีก 2.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ และเราคาดว่าจะได้รับสินเชื่อจากแหล่งการเงินของเราในสิงคโปร์สำหรับเงินทุน 75% ถึง 80% เพื่อใช้ในการก่อสร้างอนาคต ประมาณ 2.0 พันล้านเหรียญสหรัฐ ตามค่าอัตราแลกเปลี่ยน และคาดว่าจะต้องลงทุนอีก 500 ล้านเหรียญสหรัฐสำหรับการเพิ่มจำนวน Equityเพื่อจะเปิดทำการในปี 2552

Forward-Looking Statements

ข้อความในข่าวประชาสัมพันธ์นี้ มิใช่ข้อเท็จจริงตามประวัติศาสตร์ แต่เป็นข้อความที่มองถึงอนาคตข้างหน้า ซึ่งอยู่ภายใต้ Safe Harbor Provisions of the Private Securities Litigation Reform Act of 1995 ข้อความที่มองถึงอนาคตข้างหน้านี้เกี่ยวข้องถึง ปัจจัยความเสี่ยง ความไม่แน่นอน หรือปัจจัยอื่นๆที่ไม่ทางบริษัทไม่สามารถควบคุมได้ ซึ่งอาจส่งผลต่อส่วนประกอบเนื้อหาที่แตกต่างออกไปจากผลลัพธ์จริง การกระทำ หรือสิ่งที่คาดการณ์ไว้ ปัจจัยต่างๆนี้รวมถึง แต่ไม่ได้จำกัดแค่เพียง สภาพเศรษฐกิจโดยรวม, สภาวะการแข่งขันทางธุรกิจ, การเข้ามาของผู้ประกอบการใหม่, กฎระเบียบของทางรัฐบาล, การออกกฎหมายเกี่ยวกับการเสี่ยงโชค, อัตราดอกเบี้ย, การก่อการร้ายในอนาคต, การประกันภัย หรือ ปัจจัยอื่นๆโดยลงรายละเอียดไว้ในรายงาน ของบริษัท ลาส เวกัส แซนด์ส คอร์ป ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์

บริษัท ลาส เวกัส แซนด์ส คอร์ป

บริษัท ลาส เวกัส แซนด์ส คอร์ป (NYSE: LVS) คือหนึ่งในบริษัทผู้นำการพัฒนารีสอร์ทครบวงจรระดับนานาชาติ

บริษัทฯมีรากฐานอยู่ที่เมืองลาส เวกัส มลรัฐเนวาด้า เป็นเจ้าของเดอะ เวเนเชี่ยน รีสอร์ท โฮเต็ล คาสิโน และ แซนด์ส เอ็กซ์โปร์ แอนด์ คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ เดอะ พาลาซโซ่ รีสอร์ท โฮเต็ล คาสิโน ในลาสเวกัส และ เดอะ เวเนเชี่ยน มาเก๊า รีสอร์ท โฮเตล และ แซนด์ส มาเก๊า ในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนเขตปกครองพิเศษมาเก๊าทางบริษัทกำลังก่อสร้างรีสอร์ท แบบผสานอีกสองโครงการ ซึ่งได้แก่ แซนดส์ เบธเวิรคส์ ใน เบธเลม เพนซิลวาเนีย และ เดอะ มารีน่า เบย์ แซนดส์ ในสิงคโปร์

นอกจากนั้น LVS ยังกำลังพัฒนาโกไต สตริป? แผนพัฒนาอสังหาริมทรัพย์แบบรีสอร์ท คาสิโนขนาดยักษ์ในมาเก๊า และทางบริษัทฯกำลังทำงานร่วมกับเทศบาลรัฐจูไห่ ในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนเพื่อทำแผนพัฒนารีสอร์ทเพื่อการพักผ่อนและคอนเวนชั่น คอมเพล็กซ์ขนาดยักษ์ บนเกาะเฮงคิน ในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน

ลาส เวกัส แซนด์ส

รายงานผลประกอบการไตรมาส 3 ปี 2551

Non-GAAP Reconciliations

ข้อมูลของข่าวประชาสัมพันธ์เรื่องผลประกอบการสำหรับไตรมาส 3 ปี 2551 ทางบริษัทได้ใช้ข้อมูลบางสิ่งอ้างอิงจาก non-GAAP รวมถึง “Adjusted net income,” “Adjusted earnings per diluted share,” “Adjusted EBITDA,” and “Adjusted property EBITDAR.” เมื่อไรก็ตามที่มีข้อมูลอ้างอิงดังกล่าว ทางบริษัทได้รวบรวมข้อมูลภายใต้ Regulation G และ Item 2.02 of Form 8-K เหตุผลที่ได้ใช้ข้อมูลดังกล่าวเนื่องจากการแถลงข้องมูลโดยอ้างอิงจาก non-GAAP เป็นข้อมูลที่ได้แจ้งแก่ผู้ลงทุนใน ลาส เวกัส แซนด์ส คอร์ป ผลประกอบการและจำนวนเงินหมุนเวียนได้แจ้งไว้ใน Form 8-K และตรงกับข้อมูลในข่าวประชาสัมพันธ์นี้

Adjusted EBITDA ประกอบด้วย รายได้การดำเนินการก่อนหักค่าเสื่อม การตัดค่าเสื่อม กำไร/ขาดทุน จากทรัพย์สิน ค่าใช้จ่ายก่อนการเปิด ค่าใช้จ่ายในการพัฒนาโครงการ และ ค่าชดเชยการลงทุน Adjusted property EBITDAR ประกอบด้วย รายได้การดำเนินการก่อนหักค่าเสื่อม การตัดค่าเสื่อม กำไร/ขาดทุน จากทรัพย์สิน ค่าใช้จ่ายก่อนการเปิด ค่าใช้จ่ายในการพัฒนาโครงการ ค่าชดเชยการลงทุน ค่าใช้จ่ายบริหาร และค่าเช่า Reconciliations of GAAP operating income (loss) และ GAAP net income (loss) to adjusted EBITDA and adjusted property EBITDAR เป็นมูลค่าที่รวบรวมมาจากรายงานการลงทุนที่อยู่ในข้อมูลประชาสัมพันธ์นี้

เผยแพร่โดย

โทเทิล ควอลิตี้ พีอาร์ (ประเทศไทย) จำกัด

บิว ชาติวิวัฒน์พรชัย

โทรศัพท์ 0 2260 5820 ต่อ 119, 0 87800 4242

โทรสาร 0 2260 5847-8 อีเมล: [email protected]

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๔:๒๙ โครงการ มูลนิธิยาเพื่อนยาก ครั้งที่ 17 สัญจรสู่พื้นที่ห่างไกล จ.น่าน มอบสิ่งของและเงินสนับสนุนสำหรับโรงเรียนบ่อเกลือ
๑๓:๒๐ ทำความเข้าใจ DNSSEC เสริมความปลอดภัยให้กับอินเทอร์เน็ต
๑๓:๕๘ ดูโฮม ผนึกกำลัง กฟผ. ส่งความสุขส่งท้ายปีเพื่อคนไทย มอบส่วนลดเครื่องใช้ไฟฟ้าเบอร์ 5 ผ่านแคมเปญ ฉลากเบอร์ 5 ด้วยรัก(ษ์)
๑๓:๕๔ จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ คาร์บอนเครดิตในประเทศไทย
๑๓:๓๕ สุดป่วน! เต๋อ-เต้ย-ชาย-เอิร์ธ สวมบทแก๊งแป๊ะยิ้ม เชิดเงินแจก ในละคร มือปราบกระทะรั่ว
๑๓:๕๑ กทม. เข้มจัดระเบียบขอทาน-คนไร้บ้านในกรุงเทพฯ ย้ำ หยุดให้ = หยุดขอทาน
๑๓:๐๒ กสิกรไทยครองตำแหน่งในดัชนี DJSI ต่อเนื่อง 9 ปีซ้อน แบงก์แรกของไทย
๑๑:๑๒ พราว กรุ๊ป จัดกิจกรรมยิ่งใหญ่ส่งท้ายปี 'Amazing Thailand Hua Hin Countdown 2025' พร้อมบิ๊กเซอร์ไพรส์คอนเสิร์ต คิม
๑๑:๐๑ ส่งท้ายปี 31 ธันวาคม 2567 ด้วยมื้ออาหารค่ำบุฟเฟ่ต์ New Year Eve นานาชาติ ณ โรงแรมเฮอริเทจ เชียงราย แอนด์
๑๑:๒๓ SMC เผยความสำเร็จในการผลักดันอุตสาหกรรมไทยก้าวสู่ 4.0 พร้อมเผยผลการสำรวจระดับความพร้อมอุตสาหกรรม 4.0 ของประเทศไทยปี