นายชุมพร พลรักษ์ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กล่าวต่อไปว่า ด้วยกรมการพัฒนาชุมชน ได้พิจารณาเห็นว่าพื้นที่ของประเทศไทย ทั้ง 75 จังหวัด และอยู่ในพื้นที่ภาคต่าง ๆ มีผู้นำชุมชนรุ่นใหม่ซึ่งอยู่ในหลายพื้นที่ที่แตกต่าง และบางพื้นที่แตกต่างทั้งประเพณี สภาพความเป็นอยู่บางพื้นที่ผู้นำชุมชนรุ่นใหม่เหล่านั้นขาดทั้งโอกาสและการรับรู้ และไม่เคยได้รับโอกาสในการรับรู้ต่อความเปลี่ยนแปลงหรือสภาพความเป็นไปในวิถีชีวิตที่ต่างกัน ทั้งที่เขาเหล่านั้นเป็น “คนไทย” การขาดโอกาส และขาดการเหลียวแลจากภาคส่วนของรัฐจะก่อให้เกิดปัญหาต่อผู้นำชุมชนรุ่นใหม่ในอนาคต ซึ่งจะเป็นปัญหาต่อพื้นที่และสังคมต่อไป ดังนั้นการสร้างโอกาสให้กับผู้นำชุมชนรุ่นใหม่ในการรับรู้นอกเหนือจาการพบเห็นในชีวิตประจำวันแล้วจะทำให้ผู้นำชุมชนรุ่นใหม่ได้มีแนวคิด มีวิสัยทัศน์ มีจินตนาการที่เพิ่มขึ้น การที่ได้พบจะทำให้ผู้นำชุมชนรุ่นใหม่ได้คิด เมื่อมีความคิดที่จะมีความฝันก็มีความปรารถนาที่จะต่อสู้ ดังนั้นการให้โอกาสแก่เขาเหล่านั้นจึงเป็นสิ่งจำเป็น โดยเฉพาะผู้นำชุมชนรุ่นใหม่ไทยในพื้นที่สูงและทุรกันดาร ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมากในเขตพื้นที่ภาคเหนือ ตัวอย่างเช่น นักเรียนของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน จาก 9 จังหวัดดังกล่าว มีจำนวนถึง 68 โรงเรียน มีนักเรียน รวมทั้งสิ้น 8,784 คน เมื่อแยกเฉพาะผู้นำชุมชนรุ่นใหม่ ระดับประถมปลายและมัธยมแล้ว มีจำนวนถึง 2,214 คน และผู้นำชุมชนรุ่นใหม่เหล่านี้ คือ ผู้รำชุมชนรุ่นใหม่เป้าหมายที่ควรจะได้รับโอกาสได้เรียนรู้ การแลกเปลี่ยนความรู้กับผู้นำชุมชนรุ่นใหม่ในพื้นที่ต่าง ๆ กัน เป็นการสร้างความผูกพันในความเป็น “คนไทย” และความรู้สึกที่ดีต่อประเทศไทย เพื่อเป็นการสร้างตัวอย่างให้แก่ผู้นำชุมชนรุ่นใหม่ในพื้นที่เดียวกัน
สำหรับโครงการผู้นำชุมชนรุ่นใหม่เรียนรู้วัฒนธรรม รุ่นที่ 1 เป็นนักเรียนจากโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนจากจังหวัดตาก จำนวน 300 คน จะเริ่มดำเนินการในระหว่างวันที่ 23 — 26 พฤศจิกายน 2551 นี้
ผู้ส่ง : ชลิดา UNIQUE MEDIA
เบอร์โทรศัพท์ : 02-9461636 ต่อ 124