“ แต่เดิมก่อนที่จะมีวิกฤตเกิดขึ้น พวกเราในสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทยคิดว่ามันเป็นการชี้ให้เห็นโอกาสของประเทศไทยที่จะเป็น Linkage for ASEAN production ที่จะให้กรุงเทพหรือประเทศไทยเป็น Linkage การทำการผลิตในอาเซียน….นั้นก็คือ idea….แต่พอมันมีวิกฤตเศรษฐกิจเกิดขึ้น หลายคนคิดว่ามันจบ คงเป็นไปไม่ได้ แต่ความจริงแล้วธุรกิจยังคงต้องดำเนินต่อไป ยังคงมีการจัดซื้อ จัดจ้าง ยังคงมีความต้องการเครื่องนุ่งห่มที่มีคุณภาพตามที่ลูกค้าต้องการ ซึ่งไทยมีศักยภาพและกรุงเทพก็มีทุกอย่างที่ลูกค้าต้องการ ส่วนสำคัญต่อมาคือการเตรียมความพร้อมของส่วนที่เกี่ยวข้อง ต้องกระตุ้นและตอกย้ำความมั่นใจทั้งอุตสาหกรรมตั้งแต่ต้นน้ำถึงโรงงานการ์เม้น ซึ่ง product development เป็น key สำหรับสร้างสินค้าคุณภาพและสินค้าคุณภาพคือโอกาส โดยความหมายของการเป็น Linkage for ASEAN production จะครอบคลุมทั้งในด้านการเป็นศูนย์รวมแหล่งวัตถุดิบ ศูนย์รวมแหล่งการผลิต การออกแบบและการจัดส่งไปยังประเทศผู้รับปลายทางทั่วโลก “นายกสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทยกล่าว
สำหรับแนวทางในการดำเนินงานเพื่อให้ไทยก้าวสู่การเป็น Linkage ด้านการผลิตของอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มในภูมิภาค ASEAN นายเดชกล่าวว่า แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกคือคนในอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม ต้องเพิ่มศักยภาพ ( upgrade) ความสามารถด้าน product development และการพัฒนาด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ส่วนที่สองคือภาครัฐ ต้องให้การสนับสนุนการจัดการสาธารณูปโภคพื้นฐานที่มีศักยภาพเช่นการจัดการขนส่งสาธารณะไม่ว่าจะเป็นรถไฟฟ้าใต้ดินและบนดิน การจัดการสื่อสาร(Communication) คุณภาพ ซึ่งปัจจุบันจัดว่าอยู่ในเกณฑ์ดีแต่ก็ต้องมีการพัฒนาต่อเนื่อง นอกจากนี้ก็จะเป็นการจัดการเรื่องกฎหมายการค้า ภาษีและการส่งออก รวมถึงการให้งบสนับสนุนเพื่อให้ภาคเอกชนกระตุ้นตัวเองโดยการทำ R&D การทำ product development เพื่อให้อุตสาหกรรมมีความเข้มแข็งมากขึ้น ซึ่งหากได้รับการสนับสนุนอย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่องเชื่อว่าไม่เกิน 5 ปี ไทยสามารถก้าวสู่การเป็น Linkage ด้านการผลิตของอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มในภูมิภาค ASEAN ได้
นายเดชกล่าวถึงอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทยในช่วงที่ผ่านมาว่า อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทยยังคงเป็นอุตสาหกรรมสำคัญที่นำเงินตราเข้าประเทศจำนวนมาก สำหรับมูลค่าการส่งออกประมาณ 8,000 ล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 28,000 ล้านบาท แต่ถ้าคิดมูลค่ารวมทั้งนำเข้าและส่งออกจะมีประมาณ 15,000 ล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 52,500 ล้านบาท และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยความสามารถด้านการผลิตของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทยยังคงมีศักยภาพที่เหนือกว่าคู่แข่ง ไม่ว่าจะเป็นทักษะของบุคคลากร คุณภาพตามมาตรฐานสากล ทั้งมาตรฐานบริหารคุณภาพ ( ISO 9000) มาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม ( ISO 14001) มาตรฐานคุณภาพชีวิตของพนักงาน ( SA 8000 ) มาตรฐานเกี่ยวกับการผลิตโดยปราศจากการใช้สารต้องห้าม ( REACH) การผลิตสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ( Eco Label ) ฯลฯ ต้นทุนแรงงานซึ่งไม่สูงมาก อุปกรณ์การผลิตอันทันสมัยรวมถึงการเป็นแหล่งวัตถุดิบคุณภาพ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นแนวทางที่ทำให้เกิดการแข่งขันได้และประเทศคู่แข่งไม่สามารถปฏิบัติได้ดีเช่นประเทศไทย นอกจากนี้การส่งมอบสินค้าตรงตามคำสั่งซื้อ....ก็เป็นอีกปัญหาหนึ่งที่ลูกค้าต้องเผชิญเมื่อสั่งผลิตสินค้าจากประเทศคู่แข่ง ในท้ายที่สุดการแข่งขันด้านราคาจึงเป็นข้อต่อรองสุดท้ายที่ลูกค้าจะนำมาพิจารณาเมื่อต้องการสินค้าคุณภาพ อย่างไรก็ตามเชื่อว่าอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทยยังคงมีอนาคตที่สดใสหากมีการวางยุทธศาสตร์ที่เหมาะสม รวมทั้งได้รับการสนับสนุนที่ดีและมีความต่อเนื่องจากภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
รายละเอียดข่าวเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ
จินตนา ตรีพิชิต ผจก.ฝ่ายประชาสัมพันธ์ บจก. อินคริสซ์ เน็ทเวิร์ค เอเจนซี แอนด์ คอนซัลแทนส์
โทร.02 922 2473, 02 922 2876