"เปอโยต์ไม่หยุดนิ่ง พัฒนารถแข่งจากคอนเซปต์คาร์ 3 ล้อ "20Cup" ผสมผสานเข้ากับจุดเด่นทางด้านเทคโนโลยีของรถยนต์เปอโยต์หลากรุ่นพร้อมเติมการดีไซน์สไตล์รถแข่ง มาเป็นแมงมุมคันล้ำ สไปเดอร์ 207 (Spider 207) พร้อมแล้ววันนี้สำหรับชาวไทย ผู้พิศมัยในความเร็ว การดีไซน์ และการเป็น "ทอล์ต ออฟ เดอะ ทาวน์"
สไปเดอร์ 207 ถูกใช้วิ่งเพื่อเปิดสนามการแข่งขัน "เลอ มองก์ซีรี่ย์" (LMS) และงานการแข่งขันอื่นๆ ของเปอโยต์ในฝรั่งเศส โดยสไปเดอร์ 207 เป็นรถแข่งที่ถูกสร้างขึ้นตามสเปคของรถยนต์ที่ใช้แข่งทั้งในรุ่น LMP1 และ LMP2 ซึ่งเป็นไปตามกฎของ ACO (Automobile Club de I'Quest) ผู้จัดการแข่งขัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงสร้างระบบความปลอดภัยของตัวรถ การออกแบบในส่วนหลังของสไปเดอร์ 207 ทำให้ชวนระลึกถึงรูปแบบของรถยนต์สปอร์ตในยุค 70s ที่มีสไตล์เฉพาะตัวที่สุด คือฝาครอบเครื่องยนต์ขนาดสั้น และไม่มีสปอยเลอร์ท้าย
โครงสร้างคัสซีของสไปเดอร์ 207 มีลักษณะแบบท่อ (Tubular Chassis) และประกอบด้วยส่วนประกอบหลัก 3 ส่วนแยกกัน เพื่อประโยชน์ในการซ่อมแซม และ ระบบเกียร์ (Gearbox) ถูกวางไว้ในแนวขวางบริเวณตรงกลางด้านหลัง โดยโครงสร้างรถยนต์ถูกออกแบบมาเพื่อความปลอดภัยอย่างสูงสุด ไม่ว่าจะเป็น ตัวถัง คานเหล็กนิรภัย ทั้งด้านหน้าและหลัง ห้องโดยสาร และระบบการควบคุมทิศทาง ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานของ IAF
ตลอดจนระบบกันสะเทือนอิสระแบบ Double Wishbone และ Spring-Damper Units ทั้งด้านหน้าและหลังก็เป็นไปตามมาตรฐานรถแข่ง โดยส่วนประกอบต่างๆ ของรถได้มาจากการนำเอาจุดเด่นของรถยนต์เปอโยต์ในรุ่นต่างๆ มาประกอบกับ ได้แก่ Hub Carriers ทั้งด้านหน้าและหลัง ซึ่งพัฒนา มาจาก รุ่น 407 ดิสก์เบรค และ Brake Calipers จากรุ่น 407 หม้อน้ำ และ Intercooler จากรุ่น 207 Steering Column จากรุ่น 206 และ Steering จากรุ่น 407 โดยส่วนประกอบทั้งหมด ถูกนำมาผสมผสานกันอย่างลงตัว เพื่อระบบกันสะเทือนที่สมบูรณ์แบบที่สุด
สไปเดอร์ 207 มาพร้อมเครื่องยนต์ขนาด 1.6 ลิตร THP16 วาล์ว รหัส EP6 DTS ซึ่งเป็นเครื่องยนต์มาตรฐานรุ่นเดียวกับเปอโยต์รุ่น 207RC ซึ่งได้รับการพัฒนาโดยความร่วมมือกับ BMW ยกเว้นเพียงแต่ ระบบการไหลเข้าของอากาศและระบบไอเสียเท่านั้น ที่ได้รับการปรับปรุงเพื่อสไปเดอร์ 207 โดยเฉพาะ และยังมาพร้อมกับ Twin Scroll Turbocharger ที่ให้กำลังสูงสุดที่ 128 กิโลวัตต์ หรือ 175 แรงม้า แรงบิด ที่ 5800 รอบต่อนาที และแรงบิดสูงสุด 240 นิวตันเมตร ที่ 1600-4500 รอบต่อนาที ที่ส่งกำลังด้วยระบบเกียร์ 6 จังหวะ "Sadev" (6-Speed Dog Ring Sequential Gearbox) ซึ่งควบคุมจากชุดควบคุมบนพวงมาลัย
อีกทั้งตัวรถก็ถูกพัฒนาตามหลักการอากาศพลศาสตร์ที่ให้รถสามารถทรงตัวได้ดีขณะการขับเคลื่อนด้วยความเร็วสูงได้ โดยสไปเดอร์ 207 ติดตั้งตัวดักอากาศ (Diffuser) อยู่ 2 แห่งด้วยกัน คือ ใต้กระโปรงรถบริเวณด้านหน้าของล้อหน้า และอีกจุดอยู่ด้านหลังสุดของตัวรถแยกจากกัน ราบไปกับใต้ท้องรถ ซึ่งตัวดักอากาศจะช่วยให้การเกาะถนนดียิ่งขึ้น อีกทั้งการออกแบบฝาครอบเครื่องยนต์ด้านท้าย แบบเฉพาะก็สามารถควบคุมแรงใต้ท้องรถด้านหลัง (Rear Down Force) ได้ดีเช่นกัน ทำให้ "Spider 207" คันสวยมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและไม่จำเป็นต้องมีสปอยเลอร์ให้เกะกะ และเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุอีกต่อไป ซึ่งตัวรถประกอบด้วยชิ้นส่วน 9 ชิ้นแยกจากกันซึ่งจะช่วยลดต้นทุนในการซ่อมบำรุง
สำหรับระบบอิเล็คทรอนิคส์ของรถนั้น ใช้ชุดอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ควบคุม (Electronic Control Unit: ECU) มาตรฐานของ Bosch มีระบบกล่องดำ (Black Box) เพื่อเก็บข้อมูลการทำงานของเครื่องยนต์ ซึ่งข้อมูลจะถูกใช้เพื่อการประเมินผลทางด้านเทคนิคในระหว่างการแข่งขันและเป็นความลับ
รูปลักษณ์ภายนอกของสไปเดอร์ 207 ยังคงเอกลักษณ์ของเปอโยต์ยุคใหม่ ได้แก่ ไฟหน้ารูปทรงเรียวยาว แผงสปอยเลอร์ด้านหน้า ขนาดใหญ่ พร้อมช่องดักอากาศ ฝากระโปรงด้านหน้าเรียวยาว ด้านท้ายเรียบตรงแต่งไฟท้าย 4 ดวง สีสันภายนอกแบบทูโทน สีขาว-แดง โครงสร้างตัวถังผลิตจากวัสดุคาร์บอนไฟเบอร์ ทำให้มีน้ำหนักเบาเพียง 720 กิโลกรัมเท่านั้น มาพร้อมล้อขนาด 8"x18" อลูมิเนียม โมโนบล็อก (Aluminium Monobloc) ยางจาก Michelin 21/65-18
ถือได้ว่า สไปเดอร์ 207 เป็นรถแข่งที่ไม่เพียงแต่จะมีเครื่องยนต์ที่ทรงประสิทธิภาพชั้นเลิศเท่านั้น แต่ยังสร้างความพึงพอใจสำหรับผู้ขับขี่อย่างสูงสุดอีกด้วย ทั้งนี้ สาวกค่ายสิงห์และคอรถแข่งชาวไทย สามารถพบกับตัวจริงของรถแข่งระดับเวิลด์คลาสอย่าง "Spider 207" ได้ที่งาน "มหกรรมยานยนต์ ครั้งที่ 25" หรือ MOTOR EXPO 2008 ณ อิมแพ็ค เมืองทองธานี ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 02-203-9796 หรือ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ
เจซีแอนด์ โค พับลิครีเลชั่นส์ (JC&CO PUBLIC RELATIONS)
ณภัทร/อาทิตย์
โทรศัพท์มือถือ (087) 477-0707, (087) 672-4297
http://www.jcpr.co.th
อีเมล์: ,