ฮิตาชิ จีเอสที (ประเทศไทย) คว้าสามรางวัล จากงานไทยแลนด์ ไคเซน วีค ประจำปี 2551

อังคาร ๐๒ ธันวาคม ๒๐๐๘ ๐๘:๕๖
เมื่อเร็วๆ นี้ นายคาซึยะ ทาเคดะ (กลาง) กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฮิตาชิ โกลบอล สตอเรจ เทคโนโลยีส์ (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมถ่ายรูปกับผู้ชนะเลิศในการประกวดจากงาน “ไทยแลนด์ ไคเซน วีค 2551” ซึ่งจัดขึ้น ณ อาคารเฉลิมพระบารมี 50 ปี ซ.ศูนย์วิจัย

บริษัท ฮิตาชิ โกลบอล สตอเรจ เทคโนโลยีส์ (ประเทศไทย) จำกัด (ฮิตาชิ จีเอสทีที) ผู้นำด้านการผลิตฮาร์ดไดรฟ์ เข้ารับรางวัลชนะเลิศและรองชนะเลิศ ประเภทบุคคล และรางวัลรองชนะเลิศ ประเภททีม จากการแข่งขันระดับชาติ “ไทยแลนด์ ไคเซน วีค 2551” สำหรับการประกวดในครั้งนี้ได้แบ่งออกเป็น 2 ประเภทด้วยกัน ได้แก่ Kaizen Suggestion System (KSS) สำหรับการแข่งขันประเภทบุคคล และ Kaizen Automation (KA) สำหรับการแข่งขันประเภททีม

สำหรับการแข่งขันประเภทบุคคลนั้นมีผู้ส่งเข้าประกวดทั้งหมด 80 ราย และคัดเลือกเหลือเพียง 16 ราย ซึ่งตัวแทนจากบริษัทฮิตาชิ จีเอสที (ประเทศไทย) นำโดยนางสาวทัศโนปกรณ์ ทองเขียว พนักงานฝ่ายการผลิตได้รับรางวัลชนะเลิศจากผลงานกล่องสะดุดรัก และนายพงศ์พิสุทธิ์ นนทสิงห์ หัวหน้างานฝ่ายการผลิต ได้รับรางวัลรองชนะเลิศจากผลงาน Super Transport

สำหรับการประกวดผลงานในประเภททีม มีผู้ส่งเข้าประกวดทั้งหมด 25 รายจากทั่วประเทศ และบริษัทฮิตาชิ จีเอสที (ประเทศไทย) เป็นหนึ่งในหกทีมที่เข้ารอบสุดท้าย และได้รับรางวัลรองชนะเลิศจากผลงาน Conveyor Transfer Tools ที่ถูกออกแบบมาช่วยเพิ่มผลผลิตในโรงงาน

งานไทยแลนด์ ไคเซน วีค ครั้งที่ 4 นี้จัดโดยสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) หรือ ส.ส.ท. ซึ่งครั้งแรกนั้นเริ่มจัดในปีพ.ศ. 2513 ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสมาคมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ญี่ปุ่น-ไทย โดยเกิดจากหนึ่งในหลายบริการของส.ส.ท. ขยายไปสู่การพัฒนาในระดับเศรษฐศาสตร์มหภาค การจัดการในภาคอุตสาหกรรมและธุรกิจ ความเป็นเลิศด้านการรักษาสิ่งแวดล้อม การฝึกอบรมด้านภาษา และการพัฒนาธุรกิจออนไลน์

นายคาซึยะ ทาเคดะ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฮิตาชิ โกลบอล สตอเรจ เทคโนโลยีส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “พวกเรารู้สึกเป็นเกียรติอย่างมากที่ได้รับรางวัลในครั้งนี้ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงศักยภาพ ประสิทธิภาพ รวมถึงความทุ่มเทของทีมงานของฮิตาชิ จีเอสที (ประเทศไทย) ของเรา”

ไคเซนตามแนวคิดของชาวญี่ปุ่นนั้นเป็นแนวทางในการพัฒนาด้านผลิตผลตามกระบวนการอย่างค่อยเป็นค่อยไปและเป็นแบบแผน ซึ่งหมายถึงการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น และรวบรวมความคิดสร้างสรรค์ไว้อย่างมากมาย โดยเกี่ยวโยงกับการทำให้สิ่งแวดล้อมในการทำงานนั้นมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น ด้วยการสร้างการทำงานเป็นทีม พัฒนากระบวนการทำงานประจำวัน สร้างความพึงพอใจให้ลูกจ้าง กระตุ้นให้งานเป็นสิ่งที่เติมเต็มมากกว่าให้รู้สึกเหนื่อยหน่าย และการรักษามาตรฐานความปลอดภัยในการทำงาน

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

รุ่งนภา ชาญวิเศษ / ชฎาจิตต์ พลทรัพย์พาณิชย์

เบอร์โทรศัพท์ 02 — 343 — 6000 ต่อ 061 หรือ 180

อีเมลล์ [email protected] , [email protected]

ผู้ส่ง : Webershandwick

เบอร์โทรศัพท์ : 02-343-6180

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ