ผลการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสกระทรวงการคลังและธนาคารกลางอาเซียน+3

จันทร์ ๐๘ ธันวาคม ๒๐๐๘ ๐๙:๔๗
นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ได้เปิดเผยถึงผลการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสกระทรวงการคลัง และธนาคารกลางอาเซียน+3 (ASEAN+3 Finance and Central Bank Deputies’ Meeting) ระหว่างวันที่ 27-28 พฤศจิกายน 2551 ณ เมือง Hakone ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีปลัดกระทรวงการคลังประเทศญี่ปุ่น และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ทำหน้าที่ประธานการประชุม โดยสรุปสาระสำคัญของการประชุมได้ ดังนี้

1) การประเมินภาวะเศรษฐกิจ ที่ประชุมได้รับทราบรายงานภาวะเศรษฐกิจโลกและภาวะเศรษฐกิจภูมิภาคจากผู้แทนธนาคารพัฒนาเอเชียและผู้แทนกองทุนการเงินระหว่างประเทศโดยทั้งสองสถาบันได้ประเมินว่า เศรษฐกิจโลกจะยังอยู่ในภาวะถดถอยจากผลกระทบจากวิกฤติ Sub-prime ต่อเนื่องต่อไปจนถึงไตรมาสที่ 4 ของปี 2552 และเศรษฐกิจจะค่อยเริ่มฟื้นตัวขึ้นในปลายปี 2552 ซึ่งจะทำให้ประเทศต่างๆ ต้องเผชิญกับปัญหาการว่างงานและปัญหาการล้มละลายของธุรกิจจำนวนมาก จึงจำเป็นที่ภาครัฐจะต้องออกมาตรการเพื่อบรรเทาผลกระทบทางสังคมอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ระบบเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียจะยังคงขยายตัวได้ในระดับต่ำ

นอกจากนี้ประเทศสมาชิกต่างๆ ได้นำเสนอรายงานภาวะเศรษฐกิจแต่ละประเทศ ซึ่งผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลังได้นำเสนอรายงานภาวะเศรษฐกิจของไทย โดยคาดว่าจะสามารถขยายตัวได้แต่จะอยู่ในอัตราที่ต่ำกว่าในปีปัจจุบัน นอกจากนี้ ยังได้ชี้แจงแนวทางการแก้ปัญหาเศรษฐกิจผ่านการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ ซึ่งได้รับความสนใจจากประเทศสมาชิกหลายประเทศ

2) การจัดทำความร่วมมือทางการเงินระหว่างประเทศเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจของภูมิภาค ที่ประชุมได้เห็นชอบให้มีการเร่งรัดการทำกลไกสร้างภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจของภูมิภาคภายใต้มาตรการริเริ่มเชียงใหม่ไปสู่การเป็นพหุภาคี (Chiangmai Initiative Multilateralisation: CMI) โดยกำหนดให้คณะทำงานตกลงกันในประเด็นต่างๆ ให้แล้วเสร็จภายในเดือนพฤษภาคม 2552 และนำเสนอต่อที่ประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน+3 ในช่วงเวลาดังกล่าว ทั้งนี้ ที่ประชุมยังได้เห็นชอบให้มีการขยายวงเงินภายใต้กรอบดังกล่าวจากแปดหมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ เป็นหนึ่งแสนสองหมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อรองรับความต้องการในการใช้เงินจากกลไกดังกล่าวในการแก้ปัญหาการขาดแคลนเงินสำรองระหว่างประเทศในระยะสั้นที่อาจเพิ่มมากขึ้นในอนาคต

นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้พิจารณาข้อเสนอของประเทศไทยและประเทศฟิลิปปินส์ในการจัดตั้งกลไกความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกใหม่ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเศรษฐกิจของภูมิภาคในระยะยาว โดยที่ประชุมเห็นว่า แนวทางต่างๆ ที่นำเสนอเป็นแนวทางที่ดีและเป็นแนวความคิดใหม่ จึงเห็นควรให้มีการศึกษาในรายละเอียดต่อไป

3.) มาตรการริเริ่มการพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย (Asian Bond Market Initiative-ABMI) ที่ประชุมรับทราบรายงานความคืบหน้าในการดำเนินงานของคณะทำงานต่างๆ ภายใต้กรอบ ABMI และเห็นว่าควรมีการเร่งรัดการดำเนินงานและจัดลำดับความสำคัญของงานในแต่ละด้านให้ชัดเจน โดยในระยะต่อไปควรหารือในเรื่องการจัดตั้งกลไกการค้ำประกันเครดิตของภูมิภาคให้แล้วเสร็จโดยเร็ว

ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลังแจ้งให้ที่ประชุมทราบว่า สำหรับการประชุมครั้งต่อไป จะกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 7-8 เมษายน 2552 ณ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย โดยมีประเทศไทยและประเทศสาธารณรัฐเกาหลีจะเป็นประธานร่วมในการประชุม

สำนักนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง

โทร. (02) 273-9020 ต่อ 3669

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ