สภาพัฒน์ เผย รัฐอาจต้องชดเชยคนตกงานกว่า 6 แสนคน ถึง 3 พันล้านบาท ชี้เด็กจบใหม่ 3 แสนคนเสี่ยงเตะฝุ่นยาว ชี้เร่งฟื้นวิกฤติเป็นโอกาส ปรับทิศทางการศึกษา ขณะที่ค่าใช้จ่ายครัวเรือนปี 51 สูงกว่าปี 50 แล้ว

จันทร์ ๐๘ ธันวาคม ๒๐๐๘ ๑๕:๕๒
นางสุวรรณี คำมั่น รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) แถลงรายงานความเคลื่อนไหวทางสังคมในช่วงไตรมาส 3 (ก.ค.-ก.ย.) ปี 2551 ว่า จากอัตราการว่างงานของคนไทยมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น ทำให้สำนักงานประกันสังคม จะต้องจ่ายเงินทดแทนกรณีว่างงาน ซึ่งหากมีการถูกเลิกจ้างจริง 6 แสนคน จะต้องมีภาระจ่ายเงินทดแทน ประมาณ 3,000 ล้านบาท สูงกว่ากระแสรายรับจากเงินสมทบ แต่สามารถที่จะชดเชยได้เนื่องจากมีระดับกองทุนสะสมประมาณ 40,000 ล้านบาท

ทั้งนี้คาดว่า ผู้ที่จบการศึกษาใหม่ที่จะเข้าสู่ตลาดแรงงานในช่วงครึ่งแรกของทุกปี จะหางานลำบากมากขึ้น อาจจะมีแรงงานใหม่ที่ว่างงานประมาณ 3 แสนคน ดังนั้นจะต้องมีการใช้วิกฤติให้เป็นโอกาสจากการถูกเลิกจ้างงานหรือชะลอการผลิต โดยเร่งเพิ่มผลิตภาพพลังคนในด้านการศึกษา และเร่งลงทุนปรับทิศทางการพัฒนาการศึกษาทั้งอย่างเป็นองค์รวมและมีการบูรณาการปัจจัยสนับสนุนให้เหมาะสม สอดคล้องกับสภาพปัญหาของสถานศึกษา ควบคู่กับการสร้างสังคมการเรียนรู้ในชุมชน

“ขณะเดียวกัน แม้ค่าใช้จ่ายของครัวเรือน ในการบริโภคเครื่องดื่มแฮลกอฮอล์ และยาสูบจะลดลง แต่กับเด็กอายุ 15-24 ปี กลับเพิ่มขึ้น ทำค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพในปี 2551 สูงขึ้นทั้งค่ายาและค่ารักษา และทำให้ค่าใช้จ่ายครัวเรือน ปี 2551 อยู่ที่ 556,226 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปี 2550 ที่ 541,929 ล้านบาท”

นางสุวรรณี กล่าวว่า อัตราการโจรกรรมรถจักรยานยนต์ มีการแจ้งหายสูงถึง 5,036 คดี เป็น 1 ใน 3 ของคดีลักทรัพย์ เนื่องจากมีเครือข่ายที่ทำเป็นขบวนการ มีแหล่งรับซื้อ ทำให้สามารถจับกุมได้เพียง ร้อยละ 18.5 ของคดีที่แจ้ง ส่วนการจับกุมคดีอื่น ๆทั้งยาเสพติดกลับมีเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะเยาวชนที่มีความผิดเกี่ยวกับคดีทางด้านทรัพย์ จำนวน 3,572 คดี อายุระหว่าง 15-18 ปี ถึงร้อยละ 84

ขณะเดียวกันปัญหาทางสังคม อื่นๆ เช่น ความเจ็บป่วยที่เกิดกับโรคไข้เลือดออกที่ คล่าชีวิตกับคนทุกวัย หลังจากที่ผ่านมาระมัดระวังแต่กับเด็ก รวมทั้งโรคชิคุกุนยา หรือโรคติดเชื้อจากอุบัติเหตุซ้ำ ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ก็เป็นโรคที่คล่าชีวิตคนไทยไปมากเช่นกัน

ทั้งนี้ สภาพัฒน์ ยังให้ความสำคัญกับอิทธิพลของสื่อที่มีต่อเด็กและเยาวชนไทย โดยเฉพาะโทรทัศน์และอินเตอร์เน็ท กำลังเป็นภัยต่อตัวเด็กเองแม้จะมีทั้งสื่อและสร้างสรรค์และทำลาย ดังนั้นสังคมจึงต้องร่วมกันขจัดสื่อร้าย ขยายสื่อดี เพื่อเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันในอนาคต ซึ่งทุกภาคส่วนต้องรับผิดชอบร่วมกัน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๕๐ รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๑๖:๑๔ ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๑๖:๑๓ Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๑๖:๑๐ ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๑๖:๕๒ โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๑๕:๒๖ กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๑๕:๐๑ สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๑๕:๒๙ 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๑๕:๐๘ โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๑๕:๕๒ electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version