“เหตุใดตลาดการเงินจึงมีความผันผวนสูง?” ศาสตราจารย์ โรเบิร์ต เอฟ เองเกิ้ล

จันทร์ ๐๘ ธันวาคม ๒๐๐๘ ๑๗:๑๙
หัวใจของวิชาการเงิน (finance) คือการ Trade-off ของผลตอบแทนและความเสี่ยง ในทางปฏิบัติ ความผันผวน (Volatility) เป็นตัวชี้วัดระดับความเสี่ยง และเมื่อความผันผวนนั้นแปรเปลี่ยนตามกาลเวลา ย่อมทำให้การศึกษาวิชาการเงิน รวมทั้งการลงทุนในตลาดเงินมีความท้าทายมากยิ่งขึ้น ในการปาฐกถาพิเศษนี้ ศาสตราจารย์ เองเกิ้ล จะนำเสนอวิธีต่างๆ ที่สามารถใช้วัดความเสี่ยง โดยอาศัยข้อมูลจากตลาดหุ้นสหรัฐฯ ตลาดพันธบัตร ตลาดสินเชื่อ และอัตราแลกเปลี่ยน ศาสตราจารย์เองเกิ้ลยังจะแสดงให้ดูถึงวิธีการประยุกต์ใช้วิธีการดังกล่าวกับตลาด นอกประเทศสหรัฐฯ พร้อมกับวิพากษ์ถึงสาเหตุทางเศรษฐกิจที่ทำให้เกิดความผันผวนในตลาดหุ้นโลกที่เกิดขึ้นในขณะนี้

นอกจากความผันผวนในระยะสั้นข้างต้นแล้ว ศาสตราจารย์เองเกิ้ลจะกล่าวถึงความเสี่ยงในระยะยาว ไม่ว่าจะเป็นความเสี่ยงจากภูมิอากาศที่แปรเปลี่ยน ความเสี่ยงจากกองทุนบำเหน็จบำนาญในประเทศสหรัฐฯ และความเสี่ยงจากสงคราม โดยจะให้ข้อเสนอเชิงนโยบาย ที่ทั้งสามารถช่วยลดความเสี่ยงเหล่านี้ในอนาคต และเป็นประโยชน์กันสังคมในวันนี้ด้วย

ศาสตราจารย์ เองเกิ้ล จบการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านฟิสิกส์ จาก วิลเลียม คอลเลจ และได้รับปริญญามหาบัณฑิต ด้านฟิสิกส์ และปริญญาดุษฎีบัณฑิตด้านเศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัย คอร์เนล ในปี 2509 และ 2512 ตามลำดับ หลังจากจบการศึกษาในระดับปริญญาเอก โรเบิร์ต เองเกิ้ลได้ทำงานในตำแหน่งศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัย MIT ระหว่างปี 2512 ถึง 2518 เขาได้เข้าเป็นคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ที่ ซาน ดิเอโก (UCSD) ในปี 2518 และได้รับการแต่งตั้งเป็นคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ UCSD ในเวลาต่อมา ปัจจุบัน ศาสตราจารย์เองเกิ้ล ยังดำรงตำแหน่งเป็น ศาตราภิชาน และ ศาสตราจารย์วิจัย ที่ UCSD อยู่ด้วย พร้อมๆ กับทำหน้าที่เป็นบรรณาธิการให้กับวารสารวิชาการหลายฉบับ รวมทั้ง “Journal of Applied Econometrics”

ในปี 2546 ศาสตราจารย์เองเกิ้ลได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ร่วมกับศาสตราจารย์ ไคล์ฟ แกรงเจอร์ แห่ง UCSD จากผลงานที่ร่วมกันพัฒนา วิธีการทางเศรษฐมิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลเศรษฐกิจประเภทอนุกรมเวลา ที่มีความผันผวนไม่คงที่ แปรเปลี่ยนตามกาลเวลา งานวิจัยที่ทำให้เขาได้รับรางวัลโนเบลนี้ เป็นผลงานที่ทำไว้ในยุคทศวรรษที่ 70 และ 80 ซึ่งเป็นความพยายามที่จะพัฒนาเทคนิคทางคณิตศาสตร์ใหม่ๆ สำหรับประเมินและพยากรณ์ความเสี่ยง ผลงานวิจัยของเขานั้นช่วยให้นักวิจัยสามารถทดสอบว่าความผันผวนในช่วงเวลาหนึ่งๆ มีความสัมพันธ์กับความผันผวนในช่วงเวลาอื่นหรือไม่และอย่างไร งานวิจัยในแนวนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อตลาดการเงิน ที่ผลตอบแทนการลงทุนในตราสารนั้นต้องถูกประเมินไปพร้อมๆ กับความเสี่ยงที่ต้องแบกรับ หากเลือกลงทุนในตราสารนั้น นอกจากนี้ผลงานวิจัยของศาสตราจารย์เองเกิ้ลนี้ยังช่วยให้ประเมินถึงความผันผวนที่เกินปกติของผลตอบแทนและราคาหุ้นได้อีกด้วย

นักลงทุนในตลาดหุ้นมักประสบกับภาวะที่ราคาหุ้นเคลื่อนไหวรุนแรงสลับกับภาวะที่ราคาหุ้นเซื่องซึม สงบเงียบ ในแบบจำลอง autoregressive conditional heteroskedasticity (หรือที่รู้จักในนามแบบจำลอง ARCH) ของศาสตราจารย์ เองเกิ้ลนั้น อธิบายปรากฎการณ์ในตลาดการเงินนี้ด้วยลักษณะของความผันผวนที่ไม่ได้มีค่าคงที่ แต่กลับแปรเปลี่ยนไปตามกาลเวลา โดยความแปรปรวน (variance) ของ random error (ซึ่งเป็นปัจจัยที่นักลงทุนไม่อาจคาดคะเนล่วงหน้าได้ อีกทั้งมิใช่ปัจจัยพื้นฐานของหุ้นด้วย) ขึ้นกับค่าในอดีตของตัว error นั้น

คุณูปการของศาสตราจารย์เองเกิ้ลต่อวงวิชาการนั้น มิใช่เป็นเพียงแค่การพัฒนาแนวคิดหรือแบบจำลองทางสถิติแนวใหม่เพื่อการวิเคราะห์ความผันผวนในตลาดหุ้น และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ในตลาดการเงินเพื่อประโยชน์ในด้านทฤษฎีเท่านั้น แต่แนวคิดของศาสตราจารย์เองเกิ้ลและแบบจำลอง ARCH ทำให้เกิดการพัฒนาเครื่องมือสำหรับวิเคราะห์หุ้นในเชิงปฏิบัติ และช่วยให้นักเศรษฐศาสตร์สามารถสร้างค่าพยากรณ์ที่แม่นยำมากยิ่งขึ้น อีกด้วย

เครื่องมือที่ ศาสตราจารย์ได้พัฒนาขึ้นสำหรับการวิเคราะห์ความผันผวนในตลาดการเงินได้แก่ ARCH, GARCH co-integration, common features, autoregressive conditional duration (ACD), CAViaR และ dynamic conditional correlation (DCC) models

งานวิจัยของ ศาสตราจารย์เองเกิ้ลรวมศูนย์อยู่ในสาขาของเศรษฐมิติการเงิน ซึ่งประยุกต์ใช้ได้กับทั้ง หุ้น อัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยน และอนุพันธ์ออปชั่น ทุกวันนี้ศาสตราจารย์เองเกิ้ลกำลังพัฒนาวิธีการสำหรับวิเคราะห์สินทรัพย์ทั้งระบบ ความผันผวนแบบ real-time การศึกษาในแนว market microstructure และ extreme market movements ศาสตราจารย์เองเกิ้ลได้ตีพิมพ์บทความวิชาการมามากกว่า 100 บทความแล้ว รวมทั้งหนังสือวิชาการอีก 4 เล่มด้วย

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ

บริษัท พีอาร์พีเดีย จำกัด

ชัยวัฒน์ สิมะวัฒนา / จตุพล นาคนิ่ม / พชรวดี จุโลทัย

มือถือ: 089 811 7937 / 081 689 8245 / 085 055 1473

โทรศัพท์: 02 662 0550

อีเมล์:

www.prpedia.co.th

กองประชาสัมพันธ์

มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

โทรศัพท์ : 02 697 6780-3

โทรสาร : 02 697 6786

อีเมล์ : [email protected]

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๕ พ.ย. ดิ เอราวัณ กรุ๊ป เปิดตัว HOP NextGen ชวนนักศึกษาเยี่ยมชม ฮ็อป อินน์ เรียนรู้เทคนิคบริการแบบ Consistency is Yours พร้อมพัฒนาบุคลากรรุ่นใหม่
๑๕ พ.ย. คิง เพาเวอร์ ต้อนรับเทศกาลแห่งความสุขส่งท้ายปี เปิดแคมเปญ THE POWER OF FUNTASTIC CELEBRATION 2025 ฉลองทุกความสุข สนุกไม่รู้จบ
๑๕ พ.ย. พันธุ์ไทย ชวนแฟนด้อม คัลแลนและพี่จอง จุ่ม การ์ดพันธุ์ไทยใจฟู ลิมิเต็ด อิดิชั่น
๑๕ พ.ย. BAM ทรานส์ฟอร์มองค์กรสู่ DIGITAL ENTERPRISE ตอกย้ำผู้นำ AMC ยุค 4.0 วางเป้าหมายยกระดับองค์กรสร้างโอกาสเติบโตอย่างยั่งยืน เตรียมส่ง อิสระ เดอะซีรีส์ ชวนลูกหนี้ BAM
๑๕ พ.ย. บางจากฯ ได้รับการประเมินด้านความยั่งยืนอันดับสูงสุดของโลก จาก SP Global 2024 ในกลุ่มอุตสาหกรรม Oil Gas Refinery and
๑๔ พ.ย. ซีเอเค อินเตอร์เนชั่นแนล ออกบูธให้ความรู้เรื่องการใช้งานระบบดับเพลิงนร. พระหฤทัยนนทบุรี
๑๒ พ.ย. พนักงานซีเอเค อินเตอร์เนชั่นแนล รับรางวัลเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานดีเด่น
๑๕ พ.ย. PROSPECT REIT ชูไตรมาส 3/67 โตเกินเป้า อัตราการเช่าพุ่งนิวไฮ หนุนจ่ายปันผลเด่น 0.2160 บาท
๑๕ พ.ย. CHAO ประกาศงบ Q3/67 กำไรพุ่งกว่า 62% รับตลาดส่งออกพีค จีนโตเด่น แย้ม Q4 เดินหน้าบุกตลาดในประเทศ สินค้าใหม่หนุนยอดขายปลายปี
๑๕ พ.ย. ฉลองเทศกาลลอยกระทงประจำปี 2567 ณ โรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล กรุงเทพฯ