ทั้งนี้ ในระหว่างที่หยุดผลิตเป็นการชั่วคราว เอเอทีก็ยังคงได้ทำการเจรจากับสหภาพแรงงานฟอร์ดและมาสด้า ประเทศไทยอย่างต่อเนื่องโดยมีความมุ่งหวังอย่างแท้จริงว่าจะสามารถหาข้อยุติที่ได้รับความเห็นชอบจากทั้งสองฝ่าย
อย่างไรก็ดี ในวันที่ 26 พฤศจิกายน ระหว่างที่มีการเจรจาครั้งที่ 4 คณะผู้บริหารของเอเอทีได้ยื่นข้อเสนอกลับไปยังผู้นำสหภาพแรงงาน หลังจากที่ก่อนหน้านี้สหภาพฯ ได้ยื่นข้อเสนอซึ่งมากเกินกว่าที่จะบริษัทจะยอมรับได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายใต้สภาพแวดล้อมที่เศรษฐกิจกำลังตกต่ำทั้งในประเทศไทย และทั่วโลก
เมื่อได้รับข้อเสนอจากทางเอเอทีแล้ว สมาชิกของสหภาพแรงงานภายใต้การนำของผู้นำสหภาพฯ ยังคงปฏิบัติการโดยมีเจตนาปิดกั้นทางเข้าออกจากลานจอดรถของเอเอที และห้ามมิให้รถโดยสารซึ่งมีพนักงานของบริษัทนั่งอยู่เดินทางออกจากโรงงานได้
ในวันที่ 27 พฤศจิกายน พนักงานประมาณ 400 คน ได้ผละงานซึ่งเป็นการกระทำอันไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้นำสหภาพแรงงานคงดำเนินการชี้นำและสั่งการให้ปิดกั้นทางเข้าออกเอเอที ที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อกระบวนการจัดส่งยานยนต์ของบริษัท รวมทั้งยังกีดขวางต่อการจัดส่งและลำเลียงชิ้นส่วนยานยนต์ทั้งเข้าและออกจากโรงงาน
ต่อมา ในวันพฤหัสที่ 4 ธันวาคม เอเอทีได้รับคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวจากศาลแรงงานจังหวัด ซึ่งระบุว่า สหภาพฯ ไม่มีสิทธิ์ตามกฎหมายที่จะปิดกั้นทางเข้าออกของเอเอที ทั้งนี้ เพื่อให้เอเอทีสามารถดำเนินกิจการได้ตามปกติ โดยเจ้าหน้าที่บังคับคดีจากศาลจังหวัดระยองพร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ตำรวจภูธรจังหวัดระยอง ได้นำหมายศาลดังกล่าวเข้ายื่นและแจ้งต่อผู้นำสหภาพเมื่อวันจันทร์ที่ 8 ธันวาคม แล้ว ดังนั้น ส่งผลให้การปิดกั้นทางเข้าออกของสหภาพฯ เป็นการกระทำอันไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างสิ้นเชิง
ต่อมาในวันที่ 9 ธันวาคม ผู้บริหารของเอเอทีได้ประกาศยุติการเจรจา และได้ยื่นเรื่องข้อพิพาทดังกล่าวต่อสำนักงานแรงงานจังหวัดระยอง โดยได้มีการแจ้งผู้นำสหภาพแรงงานให้ทราบภายใน 24 ชั่วโมงตามที่กฎหมายกำหนด จากการดำเนินการดังกล่าวศาลได้แต่งตั้งเจ้าหน้าที่เข้ามาไกล่เกลี่ย โดยทำหน้าที่เป็นคนกลางในการเจรจาระหว่างทั้งสองฝ่าย
ในวันที่ 10 ธันวาคม สมาชิกสหภาพแรงงานได้ยุติการปิดกั้นทางเข้าออกโรงงาน ทำให้เอเอทีสามารถเริ่มขนส่งรถยนต์จากโรงงานผลิตได้ในวันที่ 12 ธันวาคม จากนั้นก็ได้มีการตรวจสอบความเสียหายของโรงงานและสินค้าคงเหลือภายในโรงงาน
ต่อมาได้มีการเจรจาครั้งที่ 5 เมื่อวันจันทร์ที่ 15 ธันวาคม ซึ่งเป็นการเจรจาครั้งแรกที่มีเจ้าหน้าที่จากภาครัฐที่เป็นคนกลางเข้ามาร่วมฟังการเจรจาด้วย แต่การเจรจาครั้งนี้ก็ไม่ประสบผลสำเร็จ และได้มีการกำหนดจะจัดการเจรจาครั้งต่อไปในวันพฤหัสบดีที่ 18 ธันวาคมนี้ที่โรงงานเอเอที จังหวัดระยอง
เอเอทีคาดว่าความขัดแย้งดังกล่าว ได้ส่งผลกระทบต่อเอเอที พนักงานและซัพพลายเออร์ของเรา รวมทั้งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยโดยรวม คิดเป็นมูลค่าหลายล้านบาทต่อวัน
ตารางลำดับเหตุการณ์ ณ บริษัท ออโต้อัลลายแอนซ์ (ประเทศไทย)
4 พฤศจิกายน สหภาพแรงงานสหภาพแรงงานฟอร์ด และมาสด้า ประเทศไทย (เอฟเอ็มที) ยื่นข้อเรียกร้องต่อคณะผู้บริหารบริษัทเอเอที
5 พฤศจิกายน การเจรจาครั้งแรกระหว่างสหภาพฯ / คณะผู้บริหาร
26 พฤศจิกายน การเจรจาครั้งที่ 4— คณะผู้บริหารของเอเอทีมอบข้อเสนอต่อสหภาพฯ
26 พฤศจิกายน เวลา 17.00-19.00 น. สหภาพฯ ปิดกั้นรถโดยสารที่จะนำพนักงานที่ทำงานในช่วงกลางวันเพื่อกลับบ้าน— ส่งผลให้รถออกช้ากว่ากำหนดราว 1 ชั่วโมง
การทำงานกะกลางคืนวันที่ 26 พฤศจิกายน กระบวนการผลิตได้รับผลกระทบ
27 พฤศจิกายน เวลา 10.00 น. การทำงานช้าลง— พนักงานราว 400 คน ผละงาน
27 พฤศจิกายน ช่วงเย็น คณะผู้บริหารเอเอทีประกาศหยุดการผลิตชั่วคราว โดยมีผลในวันที่ 27, 28 พฤศจิกายน และวันที่ 1 ธันวาคม โดยเริ่มใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2551มาตรา75ในวันที่ 2-4 ธันวาคม
สหภาพฯ ปิดกั้นโรงงานเอเอที— ไม่อนุญาตให้พนักงานช่วงกลางวัน (ราว 2,000 คน) ออกจากสถานที่ — ฝ่ายบริหาร 'ถูกกักใช้เป็นตัวประกัน' ระหว่างเวลา 22.00-24.00น.
28 พฤศจิกายน ปิดกั้นจุดเข้า-ออกหลักของโรงงาน— ทางเข้าของพนักงาน ประตูขนส่งสินค้า ประตูรับสินค้า
4 ธันวาคม ศาลจังหวัดชลบุรีออกคำสั่งคุ้มครองเพื่อบังคับให้แกนนำสหภาพแรงงานเอฟเอ็มที ยุติการกีดขวาง
5-7 ธันวาคม ผู้ประท้วงยังคงปักหลักอยู่ในบริเวณเดิม
8 ธันวาคม เจ้าหน้าที่บังคับคดีร่วมด้วยเจ้าหน้าที่ตำรวจจากสถานีปลวกแดง เดินทางไปยังโรงงานเอเอทีในจังหวัดระยอง เพื่อบังคับใช้คำสั่งศาล ประธานสหภาพแรงงานฟอร์ด และมาสด้า ประเทศไทย รับทราบหมาย และสั่งให้ยกเลิกการปิดกั้นตั้งแต่ช่วงเย็นของวันดังกล่าว
9 ธันวาคม การเจรจาครั้งที่ 7 ระหว่างสหภาพฯ และฝ่ายบริหาร— คณะผู้บริหารเอเอที ประกาศยุติการเจรจา (เพื่อยื่นพิพาท)
10 ธันวาคม สหภาพฯเอฟเอ็มที ยื่นพิพาทต่อสำนักงานแรงงานจังหวัดระยอง(ตามกฎหมายระบุให้ดำเนินการภายใน 24 ชั่วโมง)
11 ธันวาคม สหภาพฯ เอฟเอ็มที เคลื่อนย้ายยานพาหนะออกจากประตูด้านหน้า
11 ธันวาคม คณะผู้บริหารเอเอที พยายามเริ่มต้นการจัดส่งสินค้าอีกครั้ง— สหภาพฯ เอฟเอ็มที
ใช้ผู้ร่วมชุมนุมเป็นกำแพงปิดกั้นไม่ให้ยานหนะผ่าน
วันนี้ 12 ธันวาคม นัดเจรจาไกล่เกลี่ยครั้งแรกระหว่างเอเอที สหภาพฯ และตัวแทนจากสำนักงานแรงงานจังหวัดระยอง
ติดต่อ: จินตนา ดวงแก้ว
โทร. 0 2205 6653
อีเมล์ [email protected]