เพิ่มทางเลือกให้ผู้ป่วยโรคมะเร็ง คลังขยายสิทธิประโยชน์การฉายรังสีรักษาโรคมะเร็งในโรงพยาบาลเอกชน

ศุกร์ ๑๙ ธันวาคม ๒๐๐๘ ๑๓:๕๐
คลังขยายสิทธิประโยชน์ให้แก่ผู้ป่วยโรคมะเร็งที่เป็นผู้มีสิทธิในระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ ให้สามารถเข้ารับบริการฉายรังสีในโรงพยาบาลเอกชน เพื่อลดปัญหาในการรอรับบริการในโรงพยาบาลของรัฐและช่วยให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้น

นายมนัส แจ่มเวหา รักษาการ ที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบการเงินการคลัง ในฐานะโฆษกกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า ร้อยตรีหญิงระนองรักษ์ สุวรรณฉวี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง มีดำริให้กรมบัญชีกลาง หาแนวทางช่วยเหลือผู้ป่วยโรคมะเร็งที่โรงพยาบาลของรัฐรับไม่ไหว ให้สามารถไปใช้การฉายรังสีที่โรงพยาบาลเอกชนได้โดยให้ควบคุมค่าใช้จ่ายให้เหมาะสม

เดิมผู้มีสิทธิในระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งและจำเป็นต้องเข้ารับการฉายรังสีในโรงพยาบาลของรัฐต้องรอคิวนาน เนื่องจากโรงพยาบาลของรัฐมีอุปกรณ์ไม่เพียงพอ ต่อความต้องการใช้บริการของผู้ป่วย เช่น สถาบันมะเร็งแห่งชาติสามารถให้บริการผู้ป่วยได้ประมาณวันละ 128 คน แต่ยังมีผู้ป่วยที่รอรับบริการรังสีรักษาในเดือนมกราคม 2552 อีกจำนวน 30 ราย นอกจากนั้นผู้ป่วยไม่สามารถไปใช้บริการฉายรังสีในโรงพยาบาลเอกชนและนำค่าใช้จ่ายดังกล่าวมาเบิกจากทางราชการได้ เนื่องจากเป็นการรักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยภายนอกและมิใช่กรณีฉุกเฉิน ประกอบกับค่าบริการฉายรังสีของโรงพยาบาลเอกชนมีอัตราที่สูงกว่าโรงพยาบาลของรัฐ

ปัจจุบันมีโรงพยาบาลเอกชนทั่วประเทศกว่า 100 แห่ง ที่ให้บริการฉายรังสีได้ ซึ่งกรมบัญชีกลางได้เชิญโรงพยาบาลดังกล่าวเข้าร่วมโครงการ และมีโรงพยาบาล 5 แห่งตอบรับเข้าร่วมโครงการกับกรมบัญชีกลาง ได้แก่

1. โรงพยาบาลวัฒโนสถ ซอยศูนย์วิจัย 7 ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ กรุงเทพมหานคร

2. โรงพยาบาลศรีสยาม ถนนนวมินทร์ กรุงเทพมหานคร

3. โรงพยาบาลธนบุรี ซอยแสงศึกษา ถนนอิสรภาพ กรุงเทพมหานคร

4. โรงพยาบาลศูนย์มะเร็งกรุงเทพ ซอยอารีย์สัมพันธ์ 1 ถนนพหลโยธิน กรุงเทพมหานคร

5. โรงพยาบาลรังสีรักษาและเวชศาสตร์นิวเคลียร์ ถนนพระองค์ดำ จังหวัดพิษณุโลก

โดยกรมบัญชีกลางได้เชิญผู้แทนของโรงพยาบาลทั้ง 5 แห่ง เข้าร่วมประชุมหารือเกี่ยวกับการดำเนินการตามโครงการ คือ ระบบการเบิกจ่าย รายละเอียดของรายการและอัตราค่ารักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลเอกชน เรียกเก็บ ตลอดจนค่าใช้จ่ายที่นอกเหนือจากรายการที่กรมบัญชีกลางกำหนด รวมทั้งได้เจรจาให้ลดราคาค่าบริการลงให้อยู่ในกรอบ ซึ่งได้รับความร่วมมือจากโรงพยาบาลทั้ง 5 แห่ง เป็นอย่างดี โดยเฉพาะการปรับลด ราคาค่าบริการเป็นพิเศษสำหรับผู้ป่วยที่มีสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ ปัจจุบันกรมบัญชีกลาง และโรงพยาบาลเอกชนทั้ง 5 แห่ง อยู่ระหว่างดำเนินการจัดทำบันทึกข้อตกลงและคาดว่าจะสามารถเริ่มให้บริการได้ตั้งแต่วันที่ 5 มกราคม 2552

เป็นต้นไป

สำหรับขั้นตอนการปฏิบัติสำหรับผู้ป่วยที่จะเข้าร่วมโครงการนั้น ผู้ป่วยต้องเข้ารับการรักษาพยาบาล ในโรงพยาบาลของรัฐก่อน หากโรงพยาบาลของรัฐส่งต่อผู้ป่วยไปรับบริการฉายรังสีที่โรงพยาบาลเอกชนที่เข้าร่วมโครงการ กรมบัญชีกลางจะจ่ายเงินค่าฉายรังสีให้แก่โรงพยาบาลเอกชน โดยผู้ป่วยไม่ต้องทดรองจ่ายเงินค่ารักษาในส่วนที่เบิกได้ สำหรับค่ารักษาอื่นที่ไม่อยู่ในรายการที่กำหนด หรือส่วนเกินสิทธิที่ไม่สามารถเบิกได้ โรงพยาบาลเอกชนจะเรียกเก็บจากผู้ป่วยโดยตรง ทั้งนี้ โรงพยาบาลเอกชนจะต้องแจ้งค่าใช้จ่ายส่วนเกินดังกล่าว

ให้ผู้ป่วยทราบก่อนเข้ารับบริการ เพื่อให้ผู้ป่วยพิจารณาว่าจะเข้ารับบริการฉายรังสี ณ โรงพยาบาลเอกชนแห่งนั้นหรือไม่

ทั้งนี้ จากข้อมูลที่สถาบันมะเร็งแห่งชาติรวบรวม ปัจจุบันมีผู้ป่วยโรคมะเร็ง จำนวน 102,765 ราย โดยแยกเป็น ชาย จำนวน 43,594 ราย และหญิง จำนวน 59,171 ราย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ