สมาคมนักวิเคราะห์ฯ แนะรัฐบาลใหม่ลดภาษีและดูแลผู้ตกงาน

พุธ ๒๔ ธันวาคม ๒๐๐๘ ๑๗:๒๔
นายสมบัติ นราวุฒิชัย เลขาธิการสมาคมนักวิเคราะห์ฯ เปิดเผยผลสำรวจความเห็นนักวิเคราะห์ครั้งล่าสุดว่า จากวิกฤตเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลกที่บานปลายขึ้นเรื่อยๆ ตลอดจนข้อติดขัดทางเมืองไทย รวมถึงเหตุการณ์ผลกระทบต่อภาคท่องที่ยวและส่งออก ทำให้นักวิเคราะห์สมาชิกของสมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ ยังคงปรับลดประมาณการตัวเลขทางเศรษฐกิจสำคัญใหม่ โดยปรับลดอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจปี 52 เหลือ 0.7% ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ ณ ปลายปี 52 เหลือ 547 จุด โดยคาดว่าจุดสูงสุดของดัชนีปี 52 จะอยู่ที่ 590 จุด และจุดต่ำสุดจะอยู่ที่ 364 จุด ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนปีหน้าจะมีกำไรสุทธิต่อหุ้นลดลงเฉลี่ยอยู่ที่ (-4.9)% พร้อมเสนอแนะภาครัฐจับตาสามปัญหาหลัก ได้แก่ ปัญหาการว่างงาน ปัญหาเศรษฐกิจ และปัญหาทางการเมือง นอกจากนี้ แนะนำรัฐบาลใหม่ดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ เพื่อสร้างความเชื่อมั่น โดยลดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือภาษีมูลค่าเพิ่ม เร่งการใช้จ่ายและโครงการลงทุนภาครัฐ กระตุ้นการท่องเที่ยว รวมถึงเร่งสร้างเสถียรภาพทางการเมือง และเสริมสร้างความสามัคคี

มีสำนักวิจัยจากบริษัทหลักทรัพย์แสดงความเห็นรวม 18 แห่ง

สมมติฐานหลักที่นักวิเคราะห์ใช้ประกอบการทำบทวิเคราะห์ในปี 52

- ปัจจัยบวก

1) อัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำ มีผู้ตอบร้อยละ 78

2) ราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับต่ำ มีผู้ตอบร้อยละ 61

3) มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ประกอบด้วยการเร่งการใช้จ่ายภาครัฐ และการลงทุน มีผู้ตอบร้อยละ 56

4) อัตราเงินเฟ้อที่ลดลง มีผู้ตอบร้อยละ 33

5) ปัจจัยทางการเมืองซึ่งมีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ และมีแนวโน้มดีขึ้น มีผู้ตอบร้อยละ 28

- ปัจจัยลบ

1) สถานการณ์เศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจในประเทศคู่ค้าสำคัญของไทย ที่ประสบภาวะวิกฤต และอาจถดถอยมากกว่าที่คาด มีผู้ตอบร้อยละ 83

2) สถานการณ์ทางการเมืองและเสถียรภาพรัฐบาล มีผู้ตอบร้อยละ 61

3) มีผู้ตอบร้อยละ 50 เท่ากันสองปัจจัย คือ รายได้จากการส่งออกและการท่องเที่ยวของไทยที่ลดลง และภาวะเศรษฐกิจไทยที่อัตราการเจริญเติบโตมีแนวโน้มลดลง หรืออาจติดลบ ส่งผลให้ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนเติบโตในอัตราที่ลดลงหรือติดลบ

4) อัตราการว่างงานที่เพิ่มสูงขึ้น และส่งผลให้กำลังซื้อและการใช้จ่ายภาคครัวเรือนในประเทศลดลง มีผู้ตอบร้อยละ 33

ระดับความเชื่อมั่นในเสถียรภาพรัฐบาล

- ก่อนเปลี่ยนขั้วการเมือง: ได้คะแนน 1.33 จากคะแนนเต็ม 5

- หลังเปลี่ยนขั้วการเมือง: ได้คะแนน 3.06 จากคะแนนเต็ม 5

ปัญหาที่ภาครัฐต้องจับตาและเตรียมการรองรับมากที่สุด

1) มีผู้ตอบร้อยละ 56 เท่ากันสองปัจจัย คือ ปัญหาการว่างงาน และรายได้ที่ลดลงจากการชะลอตัวของการส่งออกและการท่องเที่ยวที่ซบเซา

2) ปัญหาเศรษฐกิจที่ชะลอตัวทั้งในไทยและเศรษฐกิจโลก ซึ่งส่งผลต่อเนื่องให้สภาพคล่องทางการเงินมีการตึงตัว มีผู้ตอบร้อยละ 28

3) ปัญหาทางการเมือง รวมถึงการชุมนุมเรียกร้องของกลุ่มต่าง ๆ มีผู้ตอบร้อยละ 22

ข้อแนะนำสำหรับรัฐบาลใหม่ที่เป็นประโยชน์ต่อภาวะเศรษฐกิจ สังคม และตลาดทุนไทย

- สร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุน นักธุรกิจ และผู้บริโภค โดยใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ผ่านนโนบายการเงินการคลัง เช่น ลดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา, ลดภาษีมูลค่าเพิ่ม, เร่งโครงการลงทุนและการใช้จ่ายภาครัฐ, ดูแลให้มีสภาพคล่องทางการเงินและการปล่อยสินเชื่อให้ธุรกิจรายย่อย, สร้างงาน, ช่วยหาตลาดส่งออกใหม่ ๆ ที่มีศักยภาพ เป็นต้น รวมถึงสร้างเสถียรภาพทางการเมืองและแก้ปัญหาความขัดแย้งในประเทศ มีผู้ตอบร้อยละ 83

- กระตุ้นและฟื้นฟูการท่องเที่ยว รวมถึงสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักท่องเที่ยวต่างชาติ มีผู้ตอบร้อยละ 17

- มาตรการด้านสังคม เช่น ดูแลด้านสวัสดิการให้กับผู้ว่างงาน, สร้างความสมานฉันท์ในสังคม, เสริมสร้างความสามัคคีของคนไทย มีผู้ตอบร้อยละ 17

ตัวเลขคาดการณ์ที่สำคัญ สำหรับปี 2552

นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 83 ได้ปรับตัวเลขคาดการณ์ที่สำคัญ ให้ใกล้เคียงกับสถานการณ์ปัจจุบันแล้วตามรายละเอียดดังข้างล่างนี้

ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ หรือ SET Index

- ณ สิ้นปี 2552 ปรับลดลงจากการสำรวจเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา โดยตัวเลข สิ้นปี 2552 คาดการณ์ล่าสุดอยู่ที่เฉลี่ย 547 จุด จากเดิมคาดไว้ 671 จุด โดยตัวเลขสิ้นปีสูงสุดที่มีผู้ตอบคือ 620 จุด และมีผู้ตอบตัวเลขสิ้นปีไว้ต่ำสุดที่ 471 จุด

- จุดสูงสุด ของ SET Index ในปี 2552 นักวิเคราะห์ประเมินไว้ที่เฉลี่ย 590 จุด

- จุดต่ำสุด ของ SET Index ในปี 2552 นักวิเคราะห์ประเมินไว้ที่เฉลี่ย 364 จุด

- ไตรมาสที่แตะจุดต่ำสุด ของปี 2552 นักวิเคราะห์ร้อยละ 42 คาดว่าจะเป็นไตรมาสแรก นักวิเคราะห์ร้อยละ 38 คาดว่าจะอยู่ในไตรมาสสอง มีนักวิเคราะห์ร้อยละ 12 ที่คาดว่าจุดต่ำสุดจะอยู่ในไตรมาสที่สาม และมีร้อยละ 8 ที่คิดว่าจุดต่ำสุดอยู่ไตรมาสที่ 4

อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจ หรือ GDP Growth ทั้งปี 2552

- ตัวเลขคาดการณ์เฉลี่ยที่ 0.7% จากประเมินครั้งที่แล้วที่ 4.0% โดยมีนักวิเคราะห์ที่คาดการณ์ไว้สูงสุดสำหรับ GDP ปี 52 ที่ 2.5% ส่วนผู้ที่คาดการณ์ GDP ปี 52 ไว้ต่ำสุด อยู่ที่ ลบ 4%

ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียน หรือ EPS Growth ทั้งปี 2552

- คาดการณ์มีการเติบโตติดลบ เฉลี่ยที่ (-4.9)% ลดลงจากครั้งที่แล้วที่คาดว่าเป็นบวก 2.3%

อัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินบาทและดอลลาร์สรอ. ณ สิ้นปี 2552

- ตัวเลขคาดการณ์เฉลี่ยที่ 35.3 บาทต่อดอลลาร์สรอ.

อัตราดอกเบี้ย RP 1 วัน ณ สิ้นปี 2552

- นักวิเคราะห์ประเมินอัตราดอกเบี้ย RP 1 วันเฉลี่ยอยู่ที่ 1.58%

ดัชนีราคาผู้บริโภค หรือ Consumer Price Index (CPI) เฉลี่ยทั้งปี 2552

- โดยเฉลี่ยคาดว่าจะอยู่ที่ 1.5% มีผู้คาดการณ์สูงสุดที่ 2.6% และมีผู้คาดการณ์ต่ำสุดที่ 0.5%

อัตราการเติบโตของกำไรต่อหุ้น (EPS Growth) ของกลุ่มธุรกิจสำคัญ

- ปี 2551 จากผลการสำรวจ พบว่า นักวิเคราะห์ยังคงคาดการณ์ว่า กลุ่มธนาคารมีอัตราการเติบโตสูงสุด โดยมีค่าเฉลี่ย EPS Growth ของปี 2551 ที่ร้อยละ 306.7 กลุ่มอาหารยังเป็นอันดับสอง โดยเติบโตเฉลี่ยที่ร้อยละ 41.4 กลุ่มเดินเรือ เป็นอันดับสาม เติบโตเฉลี่ยที่ร้อยละ 21.9 ตามด้วยกลุ่มสื่อสาร เติบโตเฉลี่ยที่ร้อยละ 21.5 และกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ เติบโตเฉลี่ยที่ร้อยละ 16.7

- ปี 2552 นักวิเคราะห์คาดว่าในปี 2552 กลุ่มธุรกิจส่วนใหญ่ จะมีอัตราการเติบโตของกำไรต่อหุ้นติดลบ โดยมีเพียงกลุ่มโรงแรมที่มีอัตราการเติบโตสูงขึ้นและยังเป็นบวก ที่เฉลี่ยร้อยละ 10 (ทั้งนี้เป็นการฟื้นตัวจากปี 51 ที่คาดว่ากำไรเติบโต ติดลบ 7.8%) กลุ่มสื่อสาร มีอัตราการเติบโตของกำไรต่อหุ้นติดลบน้อยที่สุดที่เฉลี่ยร้อยละ (-0.3) กลุ่มที่กำไรต่อหุ้นหดตัวมากที่สุด คือ กลุ่มเดินเรือ โดยมีอัตราเฉลี่ยที่ร้อยละ (-41.8)

คำแนะนำแก่นักลงทุน

- สำหรับการลงทุนระยะยาว ให้ทยอยซื้อสะสมหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานดี มีฐานะการเงินแข็งแกร่ง มีกระแสเงินสดมั่นคง ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวน้อย สามารถจ่ายเงินปันผลได้ มีแนวโน้มเติบโตในอนาคตโดยควรศึกษาปัจจัยพื้นฐานของหุ้นให้รอบคอบก่อนลงทุน

หุ้นแนะนำ

หุ้นเด่นที่นักวิเคราะห์แนะนำให้ลงทุนตรงกันหลายสำนักวิจัย ได้แก่ ADVANC, BANPU, KBANK, PTT, SCB เป็นต้น (เรียงตามลำดับตัวอักษร)

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ

สมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ โทร. 02-229-2329, 02-229-2355-6 อีเมล์ [email protected]

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๔๑ องค์การอนามัยโลกจับมือประเทศไทย และ 194 ประเทศ เร่งสร้างฉันทมติดันความเสมอภาคสุขภาพช่องปากเป็นวาระโลก
๑๖:๔๔ กรมอนามัยลงพื้นที่จังหวัดสงขลา มอบรางวัลเชิดชูเกียรติเมืองสุขภาพดีระดับประเทศ และรางวัลเครือข่ายเมืองสุขภาพดีระดับภูมิภาคเอเชียใต้และตะวันออก
๑๖:๐๑ EPG มั่นใจยอดขายและอัตรากำไรขั้นต้นในครึ่งหลังของปีบัญชี 67/68 (ต.ค.67 - มี.ค.68) เติบโตดีตามเป้าหมาย เตรียมจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล 6 สตางค์ 9
๑๖:๒๔ 51Talk ส่งเด็กไทยเข้าร่วม COP29 การประชุมแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ บทพิสูจน์การสนับสนุนเยาวชนก้าวสู่เวทีระดับโลก
๑๖:๔๘ ORN เผยโค้งสุดท้ายปี 67 ฟอร์มดี โตต่อเนื่อง ลุยเปิด 3 โครงการใหม่บ้าน-คอนโดฯ มูลค่ารวม 3,070 ล้านบาท
๑๖:๓๓ Dog's Dream คอมมูนิตี้สนามสัตว์เลี้ยงสีเขียว ที่ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพฯ และปริมณฑล
๑๖:๑๔ ฟูจิฟิล์ม บิสซิเนส อินโนเวชั่น ชูกลยุทธ์ Make a Leap to the New Stage ตอกย้ำพันธกิจขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม
๑๕:๔๓ กรุงศรี ขับเคลื่อนกลยุทธ์ GO ASEAN with krungsri ผสานความแข็งแกร่งและร่วมมือในเครือกรุงศรี MUFG และพันธมิตร
๑๕:๓๔ เผยสีสันแห่งการเฉลิมฉลองช่วงสิ้นปี ผ่านกระเช้าของขวัญจากโรงแรมเจดับบลิว แมริออท กรุงเทพฯ
๑๕:๔๗ Netflix ส่งหนังไทยคว้าชัยระดับโลก! ออกแบบ-ชุติมณฑน์ คว้ารางวัลนักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม บนเวที International Emmy Awards ครั้งที่ 52 จากผลงานเรื่อง HUNGER คนหิว