นพ.บัญชา พงษ์พานิช สืบสานงานสึนามิครบรอบ 4 ปี ภัยพิบัติต้องเริ่มที่ชุมชน

ศุกร์ ๒๖ ธันวาคม ๒๐๐๘ ๑๑:๑๖
สืบสานงานสึนามิครบรอบ 4 ปี ภัยพิบัติต้องเริ่มที่ชุมชน

เหตุการณ์ “สึนามิ” เวียนมาบรรจบครบวาระอีกครั้งเป็นปีที่ 4 ในวันที่ 26 ธันวาคม 2551 นี้ หน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับภัยพิบัติต่างถือโอกาสทบทวนบทเรียนที่ได้รับจากการทำงานและการแก้ปัญหาที่ผ่านมา พร้อมนำเสนอมุมมองใหม่ว่าการจัดการภัยพิบัติที่แท้จริงต้องเริ่มต้นที่ชุมชน และต้องพลิกมุมให้พ้นจากกรอบการทำงานและความเคยชินแบบเดิมๆ โดยต้องจัดการความขัดแย้งไปพร้อมๆ กัน

โจนาธาน ชอตต์ ผู้ดำเนินโครงการการจัดการภัยพิบัติธรรมชาติโดยชุมชน ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส. เปิดเผยว่า ตลอด 4 ปีของการทำงานเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยสึนามิ นอกจากงานในส่วนการฟื้นฟูความเป็นอยู่และอาชีพของผู้ได้รับผลกระทบแล้ว ทางโครงการยังให้ความสำคัญในเรื่องการเตรียมความพร้อมด้านภัยพิบัติอีกด้วย

ที่ผ่านมา ภาครัฐได้จัดการป้องกันและระวังภัยที่เป็นรูปธรรมหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นป้ายบอกทาง ระบบสัญญาณเตือนภัย หอกระจายข่าว จนถึงทีมกู้ภัย แต่ โจนาธาน เห็นว่านั่นเป็นเพียงเครื่องมือที่สนับสนุนได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น แต่ไม่ควรวางใจว่าระบบดังกล่าวว่าจะลดผลกระทบจากภัยพิบัติได้จริง เพราะการจัดการภัยพิบัติธรรมชาติควรเริ่มต้นจากสำนึกของชุมชนในพื้นที่เสี่ยงภัยก่อน ทำอย่างไรสมาชิกในระดับชุมชน หรือระดับหมู่บ้านจะตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนี้ตลอดเวลา และมีความพร้อมอยู่เสมอ มิใช่รอคอยความช่วยเหลือจากภายนอกอย่างที่เคยเป็นมา

“ถึงสัญญาณเตือนภัยดัง แต่ถ้าคนไม่รู้ หรือไม่ตระหนักว่าคือเสียงอะไร และต้องทำอย่างไรต่อไป ก็ย่อมไม่ได้ผล ทำอย่างไรชุมชนจึงจะนำปัญหาพื้นที่เสี่ยงภัยของตนเองไปคิดต่อด้วยตัวเอง ไม่ใช่เพียงให้อยู่ในสมองชั่วคราว และเป็นเรื่องที่ลึกลงไปถึงหัวใจของชุมชน”

ด้าน เรวดี ประเสริฐเจริญสุข ผู้อำนวยการมูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน เสริมว่าองค์ประกอบที่จะส่งเสริมให้ชุมชนมีสำนึกในการจัดการภัยพิบัติด้วยตนเอง ต้องมาจากปัจจัยพื้นฐานในเรื่องของที่อยู่อาศัยและที่ทำกิน โดยก่อนเกิดเหตุการณ์สึนามิ ได้มีความขัดแย้งในเรื่องของการตีแนวเขตที่ดินระหว่างชาวบ้านกับนายทุนมาก่อนแล้ว หลังเหตุการณ์สึนามิ ปัญหาจึงเกิดขึ้นควบคู่พร้อมๆ ไปกับเรื่องการฟื้นฟู และการจัดการภัยพิบัติ

“เมื่อชาวบ้านไม่มีที่อยู่ ไม่มีที่ทำกิน หมายความว่า จะไม่มีความมั่นคงในเรื่องของอาชีพ รายได้ รวมไปจนถึงการสูญสลายของชุมชน การจัดการภัยพิบัติย่อมเกิดขึ้นไม่ได้ ดังนั้น ในเครือข่ายของคณะทำงานจากองค์กรต่างๆ จึงหันมาสนใจการสร้างระบบด้านการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมไปพร้อมๆ กัน เป็นงานที่ต้องทำแบบบูรณาการ และมีการจัดการความขัดแย้งเป็นส่วนหนึ่งของงาน ที่ผ่านมา คดีความ 300 คดีจากกว่า 400 คดีได้สิ้นสุดลง และ 70 เปอร์เซ็นต์ออกมาน่าพอใจ ทั้งสองฝ่ายต่างมีข้อตกลงในเชิงบวก”

ขณะที่ นพ.บัญชา พงษ์พานิช กรรมการบริหารแผนเปิดรับทั่วไปและนวัตกรรม สำนักงานกองทุน สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่สนับสนุนการจัดการและป้องกันภัยพิบัติ เพราะถือเป็นภัยคุกคามสุขภาพโดยตรง ได้ให้ข้อสรุปบทเรียนจากการทำงานสึนามิตลอด 4 ปีว่า ทำให้แต่ละภาคส่วนหันมาจัดการภัยพิบัติอย่างเป็นระบบมากขึ้น ซึ่งอย่างน้อยๆ ต้องประกอบด้วยปัจจัย 2 ประการ อย่างแรก คือความไม่ประมาท และการลุกขึ้นมาจัดการตัวเองในทุกระดับ และอย่างที่ 2 ต้องพัฒนาระบบเตือนภัยและป้องกันภัยให้มีประสิทธิภาพ เพราะนอกจากสึนามิ ที่ไม่น่าเชื่อว่าจะเกิดขึ้นแล้ว ยังมีภัยใหญ่ในอนาคตรออยู่

“อย่างที่รู้กันอยู่ ภัยจากภูมิอากาศ บรรยากาศโลก น้ำอาจจะท่วม อาจจะเกิดพายุใหญ่ หรืออาจจะเกิดแผ่นดินไหวใหญ่ แม้กระทั่งการเกิดโลกระบาดใหญ่ ที่ใครอาจจะเป็นเรื่องเล็กๆ อย่างที่ไก่ตายเป็นแสนเป็นล้านตัว อย่าลืมว่า เมื่อมันพัฒนาเป็นโลกระบาดในมนุษย์ได้ อาจจะได้เห็นคนล้มตายแบบอยู่กันไม่ได้”

นพ.บัญชา ทิ้งท้ายว่าประเด็นที่น่าสนใจก็คือ จากเหตุการณ์สึนามิ พบกรณีศึกษาดีๆ ไม่น้อยที่ชาวบ้านมีส่วนในการจัดการ มีการรวมตัวกันฟื้นฟูตัวเอง และแก้ไขรับมือภัยพิบัติด้วยตนเอง ดังกรณีของบ้านน้ำเค็ม ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่ยืนยันได้ดีว่า แนวคิดในเรื่องการจัดการภัยพิบัติควรเริ่มต้นจากชุมชนเป็นสำคัญ.

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ

ผู้ส่ง : karn

เบอร์โทรศัพท์ : 087-605-3559

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐ ธ.ค. ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๒๐ ธ.ค. กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๒๐ ธ.ค. Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๒๐ ธ.ค. โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๒๐ ธ.ค. ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๒๐ ธ.ค. กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๒๐ ธ.ค. WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๒๐ ธ.ค. ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ